BIG เทงบ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี

19 ก.ย. 2565 | 12:58 น.

BIG ประกาศ บริษัทแม่ Air Products and Chemicals, Inc. จากประเทศสหรัฐอเมริกา ดัน 3 อภิโปรเจ็กต์ เทงบ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งเป้าลดคคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี ขณะที่ BIG ประเทศไทย ใช้กลยุทธ์ความต่าง เอามาทำให้เกิดความเหมือน หวังแจ้งเกิดในเมืองไทยให้ได้

f BIG เทงบ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี

 

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บจก.บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส (BIG) กล่าวผ่านงานสัมมนา NEW ENERGY : แผนพลังงานชาติ สู่ความยั่งยืน ช่วง  Session II “การขับเคลื่อนพลังงานสะอาดด้วยนวัตกรรม ว่า หากเอ่ยถึงก๊าซอุตสาหกรรมที่นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น ออกซิเจน แต่ก็มีบางอย่างที่ไม่ได้มาจากอากาศ ทั้งที่มีอยู่ในอากาศเช่น ไฮโดรเจน

 

“วันนี้จากที่เป็นก๊าชอุตสาหกรรมในอดีตก็คือในอุตสาหกรรม แต่เปลี่ยนบทบาท เป็น “Net Zero”  กลายมาเป็น Climate Technology  และที่เปลี่ยนบทบาทไปค่อนข้างเยอะเลย ก็คือ “ไฮโดรเจน”  ซึ่งวันนี้หลายคนพูดถึงกันเพราะประเทศไทยเริ่มมีโรดแม็บแล้ว หลายคนอยากจะเข้ามาทำ แต่จริง ๆ แล้วบริษัทแม่ของ BIG คือ Air Products and Chemicals, Inc. จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำเรื่องนี้มา 80 ปี ตั้งแต่ส่งไฮโดรเจนเหลวไปให้นาซ่าในอวกาศ เช่นเดียวกับในเมืองไทยก็ทำไฮโดรเจนมา 30 กว่าปีแล้ว ในโรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี โรงงานกระจก และใช้ในกลุ่มอาหาร 

 

นายปิยบุตร กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทแม่ และ BIG มุ่งไปที่ไฮโดรเจน จาก “Net Zero”   ได้แก่ 1. ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนของโรงงานทั่วโลกลง 1 ใน 3  ที่เรียกในองค์กรว่า  Third by ’30 2.ต้องการมุ่ง commit Net Zero ภายในปี 2050

 

BIG เทงบ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี

 

และวันนี้จึงได้มีการประกาศก่อสร้างศูนย์ผลิตพลังงานไฮโดรเจนปลอดคาร์บอน ใช้งบลงทุน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปี ค.ศ. 2025  และวันนี้กำหนดเป้าหมาย “Net Zero”  ในอุตสาหกรรมเคมีจะต้องเป็นอย่างไร และสุดท้ายประโยชน์ที่ทำไฮโดรเจนทั้งหมด และวันนี้ได้ลงไป 3 โครงการแล้ว ถ้าทำออกมาได้ เท่ากับลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี

 

 

 

ส่วนเมืองไทย หากจะผลักดันองค์กรไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์หรือเป้าหมาย ทำอย่างไรสินค้าของเราไปช่วยให้อุตสาหกรรมลดการปล่อยคาร์บอน ทำอย่างไรให้การผลิตของเราลดการปล่อยคาร์บอน หนึ่งในที่ร่วมกับ ปตท.ก็คือพลังงานความเย็น มาทดแทนพลังงานไฟฟ้า จะลดการใช้ไฟฟ้าได้ 30%

 

BIG เทงบ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี

 

ในเรื่องที่ 2 กล่าวถึง “Net Zero” คืออุตสาหกรรมในบ้านเราใช้ไฟฟ้า ใช้ก๊าซธรรมชาติในการเผาไหม้มาก เราใช้ แอพพลิเคชั่นที่ได้มาจากบริษัทแม่เอามาช่วยในเรื่องเกี่ยวกับออกซิเจนผ่านดิจิตัลแพลตฟอร์ม เป็นเรื่องที่เราทำแล้ว และเกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย

 

นายปิยบุตร  กล่าวว่า แล้วในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นไฮโดรเจน คนไม่ได้พูดแค่ไฮโดรเจนเปล่าแล้ว คนพูดถึง ไฮโดรเจน economy) หรือ เศรษฐศาสตร์ไฮโดรเจน ทำไมคนพูดถึงไฮโดรเจนเยอะมาก เพราะมี 75% ในจักรวาล แต่ไม่ได้อยู่คนเดียว ซึ่งไม่ได้อยู่ในคาร์บอน ก็ไปอยู่กับออกซิเจน ดังนั้นการจะไปค้นหาได้ใน 2 ที่ เพราะฉะนั้นในอดีตการนำไฮโดรเจนมาใช้ ไม่ค่อยง่าย ทั้งที่รู้ว่ามีอยู่ แต่เราแยกไม่ได้

 

แต่ในปัจจุบันและอนาคตเทคโนโลยีตรงนี้มาได้เรื่อย ๆ แล้ว การแยกน้ำออกด้วยไฟฟ้า การเอาไฮโดรเจนในคาร์บอนมาเผา ในอดีตมีผลเสียปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ แต่วันนี้มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า "บลู ไฮโดรเจน" เอาคาร์บอนมาแล้วแยกไฮโดรเจนเก็บคาร์บอนไว้หรือเอาคาร์บอนไปใช้อย่างอื่น อีกอันหนึ่งก็คือ การเอาน้ำมาแยกด้วยไฟฟ้า วันนี้ทำได้แล้ว

 

 

ไฮโดรเจนยังมีความมหัศจรรย์ เป็นเคมีในบรรดาไม่กี่ตัวที่มี 2 สถานะเป็นตัวที่ทำปฎิกริยาเคมีก็ได้ หรือ แตกพลังงานก็ได้ แต่จากนี้ไปจะไปใช้ในอุตสาหกรรมโรงกลั่น และอีกมากมาย และหลายคนสงสัยว่าจะมาแย่งตลาดรถอีวีหรือไม่ แต่ไม่ได้หมายความรถตลาดอีวีสู้ไม่ได้ แต่ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีไปคู่กัน และสุดท้ายการใช้ไฮโดรเจนไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า นี่คือตัวอย่างเซ็กเมนต์ใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังเป็นความจริงขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจะกระทบกับเราขึ้นเรื่อย ๆ

 

BIG เทงบ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี

 

นายปิยบุตร กล่าวตอนท้ายว่า เราจะหลีกหนีไฮโดรเจนไม่พ้น เพราะเทคโนโลยีมาแล้ว องค์ประกอบทุกภาคส่วนมาแล้ว สิ่งที่วันนี้เราทำเพิ่มเติมในเมืองไทยคือ ความต่าง เอามาทำให้เกิดความเหมือน จะทำอย่างไร ปัจจุบันทำร่วมกันหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดในเมืองไทยให้ได้