ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดขนาดและการเติบโตของเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยเองนั้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเป็นผู้เปิดเผยตัวเลข GDP ในแต่ละไตรมาส ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 นี้ สศช.ได้กำหนดแถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2568 และแนวโน้มปี 2568 ในวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568
สำหรับตัวเลข GDP ล่าสุดของไทย เป็นตัวเลข ณ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 โดย GDP ของไทย ขยายตัว 3.2% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 3% ในไตรมาสก่อน โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจทั้งภาคการผลิตและการใช้จ่ายปรับตัวดีขึ้นทุกตัว โดยเฉพาะการลงทุนรวมขยายตัวได้ดีขึ้น ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 ที่ผ่านมา สศช. ประเมินว่าจะขยายตัว อยู่ที่ 2.3 – 3.3% (ค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ 2.8%)
ขณะที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.1% (ช่วงคาดการณ์ที่ 1.6-2.6%) เป็นผลมาจากแรงกดดันด้านการค้าโลก โดยเฉพาะผลกระทบจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา และการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทั้งนี้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 ยังได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวดี โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 3.2% ต่อปี
ด้าน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2568 คาดว่า จะขยายตัวที่ 2.0-2.2% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 2.4-2.9% โดยประเมินภายใต้สถานการณ์ที่ไทยถูกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ที่อัตรา 10% ในช่วงไตรมาส 2/2568
แต่ถ้าไทยถูกเรียกเก็บภาษีที่อัตรา 36% ในครึ่งปีหลัง GDP ในปี 2568 จะขยายเพียง 0.7-1.4% เหตุจากการส่งออกทั้งปีอาจหดตัวได้มากถึง -2% ด้วย
อย่างไรก็ดีในส่วนของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ซึ่งได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วหลายประเทศ จะมีอัตราการเติบโตหรือปรับลดลงอย่างไรนั้น ฐานเศรษฐกิจได้รวบรวมรายละเอียดมาให้เป็นรายประเทศ ดังนี้
สหรัฐอเมริกา
ยุโรป
เอเชีย
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ สศช.