เอกชนตรังผนึกกำลัง  ยกระดับโรงงานสีเขียวสู่ BCG

18 ส.ค. 2565 | 09:20 น.

ประธานสภาอุตสาห กรรมตรังประกาศ ยุทธศาสตร์ 7 ด้านพลิกโฉมตรังสู่โรงงานสีเขียวระดับ 2 ลดต้นทุนโลจิสติกส์แข่งโลก สร้างความยั่งยืนตามแนว ทางเศรษฐกิจ BCG นัดหารือสถาบันภาคเอกชนทุกสาขา เพื่อร่วมกำหนดแนวทางภาคเอกชนร่วมพัฒนาจังหวัด

ตรังเป็นจังหวัดที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจหลากหลายที่เชื่อมโยงกัน เป็นแหล่งปลูก ไม้ยางพารามาแต่อดีต ปัจจุบันมีปาล์มนํ้ามันเพิ่มขึ้นมา และมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากไม้ยางและปาล์มนํ้ามัน อาทิ โรงงานผลิตถุงมือยาง ยางแผ่นรมควัน โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา  โรงงานเฟอร์นิเจอร์-ของเล่น เด็ก ไม้อัด จนถึงเชื้อเพลิงจากเศษไม้และขี้เลื่อย โรงสกัดนํ้ามันปาล์ม โรงงานผลิตนํ้ามันไบโอดีเซล ปี 2564 ไทยส่งออกไม้ยางพาราแปรรูป 33.36 หมื่นล้านบาทเศษ โดยส่งไปจีนถึง 32.45 หมื่นล้านบาท ตลอดจนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องประมง

 

นายธนพจน์ ศุภศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท วู้ดเวอร์ค จำกัด และได้รับเลือกจากสมาชิกให้เป็นประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรังคนใหม่ กล่าวถึงวิสัยทัศน์การบริหารหลังเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งเป็นการสร้างมิติใหม่ผู้บริหารสถาบันภาคเอกชนในพื้นที่ ว่า ได้วางไว้ทั้งยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และกลยุทธ์การทำงาน

นายธนพจน์ ศุภศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท วู้ดเวอร์ค จำกัด และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรังคนใหม่

เอกชนตรังผนึกกำลัง  ยกระดับโรงงานสีเขียวสู่ BCG

“ยุทธศาสตร์ 7 ด้าน เพื่อขับเคลื่อนองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากร ในภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดตรัง ให้มีประสิทธิภาพ และมีความสุขในการทำงาน เพิ่มความสามารถการแข่งขันในภาคธุรกิจในอนาคต เสริมสร้างความเข้มแข็ง SMEs ให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้

 

ยกระดับ โลจิสติกส์ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีระบบคมนาคมขนส่งที่เพียงพอ และมีต้นทุนตํ่า เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยไม่สร้างปัญหาให้กับตนเองและชุมชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในภาคอุตสาหกรรมของจังหวัด ส่งเสริมสถาน ประกอบการ ให้มีระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และการอนุรักษ์พลังงาน”

เอกชนตรังผนึกกำลัง  ยกระดับโรงงานสีเขียวสู่ BCG

เอกชนตรังผนึกกำลัง  ยกระดับโรงงานสีเขียวสู่ BCG

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จะจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจด้านทักษะและทัศนคติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โรงงานสร้างสุข (Happy Workplace) อบรมให้ความรู้จากภาครัฐ และการศึกษาดูงานบริษัทชั้นนำ ส่งเสริมอบรมการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการผลิตให้ได้มาตรฐาน ร่วมมือกับภาครัฐในการออก แบบนำเสนอความคิดเห็น เพื่อการจัดการระบบที่เหมาะสมร่วมจัดทำผังเมืองรวมจังหวัด หารือแนวทางพัฒนาสู่เศรษฐกิจ BCG การเข้าร่วมโครงการโรงงานสีเขียวระดับ 2

 

นายธนพจน์ กล่าวอีกว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง ยังได้ดึงภาควิชาการและภาครัฐมาร่วมขับเคลื่อนผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยเตรียมทำความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอุทยานวิทยาศาสตร์ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรของภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ได้มาตรฐาน และช่วยลดต้นทุน เพื่อส่งเสริม SMEs ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต โดยมีสำนักงานดิจิทัลภาคใต้ เป็นผู้สร้างระบบและกรอบไว้ให้

 

นอกจากนี้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2565 นี้จะมีการระดมสมองภาคเอกชนทั้งหมดในพื้นที่ อาทิเช่น หอการค้าตรัง สมาคมธนาคาร สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สภาเกษตรกรตรัง สมาคมชาวสวนปาล์ม และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตรัง จำกัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) เพื่อร่วมกำหนดทิศทางขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดตรังของภาคเอกชนให้มีเป้าหมายชัดเจน รวมทั้งแลกเปลี่ยนปฎิทิน กิจกรรมของแต่ละองค์กรในรอบปี เพื่อให้รับรู้ร่วมกันว่าองค์กรไหนจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง ในช่วงเวลาใด

 

 ในส่วนของสภาอุตสาห กรรมจังหวัดตรังนั้น จากที่รับฟังจากสมาชิก เรื่องสำคัญลำดับ แรกๆ คือ การปรับแก้ผังเมือง เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถเดินได้ ต้องการเห็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่ชัดเจน เรื่องการกำหนดโรงงานสีเขียว คือสร้างให้โรงงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้นๆ ไม่สร้างปัญหาควัน ฝุ่น กลิ่น เสียง และนํ้าเสีย เป็นต้น รวมถึงการปลูกต้นไม้ในพื้นที่โรงงานหรือชุมชนโดยรอบ เพื่อร่วมสร้างโลกสีเขียว

 

ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง กล่าวว่า ช่วงการระบาดเชื้อโควิด-19 ธุรกิจไม้ยางแปรรูปส่งออกไม่ได้ เพราะจีนปิดโรงงาน และยังมีปัญหา ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ค่าระวางก็ปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ตู้ 40 ฟุตส่งจากไทยไปท่าเรือกวางเจาของจีน ขึ้นไปถึง 80,000 บาท เวลานี้ลดลงบ้างมาอยู่ที่ 50,000 บาท จากระดับราคาช่วงปกติจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 กว่าบาท ปัญหานี้จะคลี่คลายลง หากจีนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มีคนเดินทางเข้าออกเพิ่ม เปิด การค้ามากขึ้น

 

โดยปัจจุบันนี้การขนส่งสินค้าภาคอุตสาหกรรมในตรัง ส่วนใหญ่อาศัยการขนส่งทาง เรือ จากท่าเรือกันตังโดยเรือ บาส เพื่อไปขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือใหญ่ที่่ท่าเรือปีนัง ซึ่งมีค่าขนส่งถูกที่สุด เทียบกับการขนส่งทางรถไฟหรือรถยนต์ จากตรังไปด่านปาดังเบซา จ.สงขลา เพื่อขึ้น รถไฟไปลงสถานีรถไฟบัตเตอร์ เวิร์ท เพื่อไปขึ้นเรือที่ปีนัง ก่อนส่งไปประเทศปลายทาง ซึ่งจะ มีค่าขนส่งสูงกว่าทางเรือ จึงไม่เป็นที่นิยม หากพัฒนาการขนส่งทางนํ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง ลงได้อีก 

 

ธีมดี ภาคย์ธนชิต/รายงาน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับ 3,810 วันที่ 18-20 สิงหาคม พ.ศ.2565