ลึก (ไม่) ลับ “เกษตรอินทรีย์” ที่คนไทยควรรู้

28 มิ.ย. 2565 | 10:26 น.

นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย เปิดตำราลึก (ไม่) ลับ “เกษตรอินทรีย์” ที่คนไทยควรรู้ ประเทศใด อยู่อันดับ 1 ของโลก แต่สถิติการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอยู่อันดับที่ 45 มีค่าเฉลี่ย 0.61 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่วิกฤติรขาดแคลนอาหารของโลก กำลังใกล้มาไม่กี่เดือน ไทยจะเอายังไง

ดร.จรรยา มณีโชติ

 

ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กสมาคม “เกษตรอินทรีย์” ที่คนไทยควรรู้ เริ่มครั้งแรกที่ไหน หากพลิกย้อนไป  เกษตรอินทรีย์เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ 1930 (พ.ศ. 2483) โดย Masanobu Fukuoka ในรูปแบบของเกษตรธรรมชาติ ( Natural Farming) ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2  จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลายาวนาน 90 ปี  ท่านคิดว่าประเทศญี่ปุ่นน่าจะมีสัดส่วนพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์สักเท่าไร

 

ข้อมูลล่าสุด ญี่ปุ่นมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์คิดเป็นสัดส่วน เพียง 0.2% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดของประเทศ  ทั่วโลก ปัจจุบัน การทำเกษตรอินทรีย์ได้แพร่หลายไปทั่วโลก 187 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ 72.3 ล้านเฮกตาร์ ( 452 ล้านไร่) คิดเป็นสัดส่วน 1.5% ของ พื้นที่เพาะปลูกทั้งโลกจะมีพื้นที่ทั้งหมด 4,820 ล้านเฮกตาร์ (30,125 ล้านไร่) ประเทศ เกษตรอินทรีย์ เป็นอันดับ 1 ของโลก คือประเทศออสเตรีย มีสัดส่วน พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 26.1% ซึ่งส่วนใหญ่ของพื้นที่ทำการเกษตรของประเทศออสเตรียเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

 

ลึก (ไม่) ลับ “เกษตรอินทรีย์” ที่คนไทยควรรู้

 

 หากท่านนึกภาพไม่ออกก็ลองนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง The Sound of Music ที่ใช้สถานที่ถ่ายทำในประเทศออสเตรีย ส่วนอันดับ 2 ของโลกคือสวิตเซอร์แลนด์  มีสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์อยู่ 16% หากจะดูจากลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการทำเกษตรอินทรีย์จะเห็นว่าประเทศในยุโรปหรือประเทศในเขตหนาวมีความเหมาะสมมากกว่าประเทศในเขตร้อนเพราะเนื่องจากมีช่วงหิมะตกเป็นการตัดตอนวงจรระบาดของศัตรูพืชต่างกับเขตร้อนที่มีการเพาะปลูกพืชตลอดทั้งปีศัตรูพืชจึงมีจำนวนมากมายมหาศาล

 

 

 แต่ถึงกระนั้นในภาพรวมของยุโรปทำเกษตรอินทรีย์ได้สัดส่วนเพียง 8% เท่านั้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2563 สหภาพยุโรปได้จัดทำนโยบาย EU Green Deal จุดประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในยุโรปให้ได้ 25% ภายในปี พ.ศ. 2575 ทวีปยุโรป มีสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม และเอื้ออำนวยต่อการผลิต เกษตรอินทรีย์มาก

 

แต่สหภาพยุโรปยังไม่ตั้งเป้าหมายที่จะทำเกษตรอินทรีย์ 100% เหมือนบางประเทศในทวีปเอเซีย เช่น #ศรีลังกา ซึ่งได้ลองทำเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศได้ไม่ถึงปี  เศรษฐกิจของศรีลังการก็ล่มสลายไปในพริบตา จากประเทศที่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ กลายเป็นประเทศที่มีข้าวไม่พอกิน..ต้องซื้อจากต่างประเทศปีละ 650,000 ตัน

 

ลึก (ไม่) ลับ “เกษตรอินทรีย์” ที่คนไทยควรรู้

 

ดร.จรรยา กล่าวว่า  พื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นทั้งโลกข้อมูลที่น่าสนใจ รายงานว่ามี 45 ประเทศที่ลดพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ลงลง ได้แก่ บัลแกเรีย (-8.6%) กัมพูชา (-6.5% ) แคมเมอรูน (-81.3% ) จีน (-29.3%) โคโมรอส (-45.6%) คิวบา (-61.6%) ไอซ์แลนด์ (-76.9% )ไอร์แลนด์ (-37.7%) นอร์เวย์ (-2.3%) ตุรกี (-19.8%) ซามัว (-57.9%) ติมอร์-เลสเตย์ (-49.2%) senegal (-18.8% ) ตุรกี (-19.8%) อิสราเอล (-5.4%) ไฮติ (-24.3%) ฟิจิ (-45.1%) และมองโกเลีย (-90.4%)

 

ประเทศออสเตรียหรือประเทศญี่ปุ่นใช้สารเคมีน้อยกว่าประเทศไทยหรือใช้มากกว่า ถึงแม้ประเทศออสเตรียจะทำเกษตรอินทรีย์เป็นอันดับ 1 ของโลกแต่สถิติการใช้สารกำจัดศัตรูพืชต่อหน่วยพื้นที่ของประเทศออสเตรียอยู่อันดับที่ 45 มีค่าเฉลี่ย 0.61 กิโลกรัมต่อไร่

 

ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ อยู่อันดับที่ 41 ของโลกมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นอันดับที่ 13 ของโลก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.89 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมากกว่าประเทศไทยถึง 6 เท่า ( ไทยมีการใช้สารเคมีเป็นอันดับที่ 75 ของโลกมีค่าเฉลี่ย 0.28 กิโลกรัมต่อไร่)

 

 

ทำไมญี่ปุ่น ใช้สารเคมีมากกว่าเราถึง 6 เท่า แต่คนไทยยังเชื่อว่าสินค้าเกษตรของญี่ปุ่นมีความปลอดภัยสามารถจะรับประทานได้โดยไม่ต้องล้างน้ำ เพราะญี่ปุ่นใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ด้วยระบบ GAP (Good Agricultural  Practice) โดยควบคุมมาตรฐานสารเคมีตกค้างให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยต่อการบริโภค สารเคมีตกค้าง ในพืชผักผลไม้เกินค่ามาตรฐาน MRL เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ไม่เป็นอันตรายเพราะค่ามาตรฐาน MRL เป็นเพียงมาตรฐานทางการค้า (Trading Standard)  ไม่ใช่มาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standard )

 

ค่าMRL มาจากไหน MRL มาจากค่าปริมาณความเข้มข้นสารเคมีที่ให้สัตว์ทดลองกินตลอดอายุขัยโดยไม่เกิดอันตราย และนำมาหารด้วย 100  MRL มีค่าเท่ากันทั่วโลกหรือไม่ไม่เท่ากัน.. แต่ละประเทศจะกำหนดค่า mrl ของตัวเอง เพื่อใช้เครื่องมือกีดกันทางการค้า แทนกำแพงภาษีสินค้าเกษตรที่ถูกยกเลิกไป ภายใต้เงื่อนไข FTA 

 

ลึก (ไม่) ลับ “เกษตรอินทรีย์” ที่คนไทยควรรู้

 

 #MRL ยิ่งมีค่าต่ำเท่าไหร่การผลิตก็ยิ่งยุ่งยากมากขึ้นเท่านั้นดังนั้นหากประเทศที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้ดีอยู่แล้วก็ต้องพยายามกีดกันไม่ให้ประเทศอื่นสามารถส่งมาขายได้ง่ายๆเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศของตัวเอง และเอาไว้เป็นเงื่อนไขเจรจาต่อรองทางการค้ากับประเทศคู่ค้าเพื่อให้ลดหย่อนเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าเกษตรของตนเอง

 

เกษตรอินทรีย์กับปัญหา Food Crisis ยังไม่มีประเทศใดในโลกนี้ที่สามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้ 100%  ในภาวะวิกฤตการขาดแคลนอาหารของโลก (Global Food Crisis) ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้  เกษตรอินทรีย์คงไม่ใช่คำตอบ ในการแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ เพราะ ประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำกว่าเกษตรใช้สารเคมีทำให้ผลผลิตมีราคาสูงขึ้นคนจนในโลกนี้คงเข้าไม่สามารถเข้าถึง สินค้า high-end แบบนี้