มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก

12 มิ.ย. 2565 | 18:30 น.

มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก หลังแบกรับต้นทุนที่พุ่งสูงต่อเนื่องไม่ไหว ไม่ปรับราคาผู้ผลิตก็อยู่ไม่ได้ ปรับราคาผู้บริโภคก็เดือนร้อน

ใครที่ชอบกินเส้น อย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อต่างๆ อาจจะต้องทำใจหลังจากที่มีข่าวออกมาว่าทางผู้ผลิตอาจจะขอปรับราคาเนื่องจากว่าแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นแทบไม่ไหวซึ่งเป็นผลพวงสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ส่งผลกระทบราคาวัตถุดิบ-น้ำมันพุ่ง ไม่ว่าจะเป็นแป้งสาลี น้ำมันปาล์ม และราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ต้นทุนการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูงสุดในรอบ 26 ปี ทำให้ผู้ผลิตเองต้องตัดสินใจขอปรับราคาสินค้าหลายรายการ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และสินค้าตัวอื่นๆ อย่างผงซักฟอก หรือเครื่องดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง

มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก

สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นสินค้าควบคุมที่ต้องขออนุญาตขึ้นราคาจากกรมการค้าภายใน ก่อนหน้านี้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใช้วิธีขึ้นราคาขายส่ง แต่ไม่ขึ้นราคาขายปลีก โดยเจ้าสุดท้ายที่ขอขึ้นราคาขายส่งไป คือ ยำยำ ก่อนหน้านั้นเป็นไวไวที่ปรับราคาขายปลีกขึ้น 50 สตางค์ เป็นซองละ 6 บาท แต่เป็นการเพิ่มปริมาณเป็น 57 กรัมและเพิ่มเครื่องปรุงโซเดียมจาก 710 มิลลิกรัม เพิ่มเป็น 1,020 มิลลิกรัม

 

 

มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก

ล่าสุดเป็นมาม่าที่ครั้งนี้จะเป็นการขอขึ้นราคาขายปลีกจากซองละ 6 บาท อาจขึ้นเป็น 7 บาท หรือจะเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงพาณิชย์ แต่หากไม่ขึ้น ผู้ผลิตอาจต้องลดกำลังการผลิต และอาจส่งผลให้สินค้าขาดแคลนได้

มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก

ทั้งนี้หากย้อนไปตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. พบว่าประชาชนต้องควักกระเป๋าเพิ่มไปหลายรายการ ตั้งแต่ราคาน้ำมันดีเซลที่ขยับจากลิตรละ 32 บาท เป็นลิตรละ 33 บาท ต้นทุนขนส่งขึ้นทันที 10-15% เป็นต้นทุนแฝงที่ผู้บริโภคต้องจ่ายผ่านค่าสินค้า

 

นอกจากนี้ยังมีแก๊สหุงต้มที่ขึ้นราคาตามขั้นบันได นับตั้งแต่เดือน เม.ย. ขณะนี้แก๊สถัง 15 กิโลกรัม ปรับขึ้นมา 45 บาท ขายที่ 363 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง  ค่าไฟ รอบเดือน พ.ค.-ส.ค. เพิ่มเป็นหน่วยละ 24.77 สตางต์ จ่ายที่หน่วยละ 4 บาท และยังส่งสัญญาณขึ้นค่า Ft งวดกันเดือน ก.ย.-ธ.ค.ต่ออีกด้วย

มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก

สินค้าอุปโภคบริโภคอย่าง เป็ปซี่ ที่ออกมาบอกว่าจะปรับขึ้นราคา 1-2 บาท ทุกขนาดบรรจุภัณฑ์ เพราะต้นทุนบรรจุภัณฑ์อย่างเม็ดพลาสติก โลหะ ค่าขนส่งขึ้น แต่กรมการค้าภายในระบุว่ายังไม่ได้ขึ้นราคาขาย นอกจากนี้มี ปลากระป๋อง สบู่ ผงซักฟอง ไปจนถึงอาหารสัตว์เลี้ยง ที่เริ่มปรับขึ้นราคาเช่นกัน  น้ำมันปาล์มขวดที่ใช้ทำอาหาร ขยับขึ้น จาก 50 กว่าบาท เป็นเกือบๆ 70 บาท   

มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก

ขณะที่ปุ๋ยซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร ขึ้นราคาต่อเนื่องและยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง โดยในปี 2564 จากราคา 500-700 บาท ขยับขึ้นเท่าตัวตั้งแต่ 1,300-1,900 บาท ซึ่งอาจส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เกิดปัญหาราคาแพง และอาจขาดแคลนได้

มาม่า-ไวไว-ยำยำ จะขึ้นราคาไหม โจทย์ใหญ่ที่พาณิชย์ต้องรีบหาทางออก

คงต้องรอดูว่ากรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นหน่วยงานปลายทางในการกำกับดูแลค่าครองชีพของประชาชนจะออกมาตรการอะไรมาช่วยเหลือทั้งในแง่ของผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกค้าส่ง และสุดท้ายคือผู้บริโภค

เพราะล่าสุดนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ออกมาสั่งเบรกมาม่าที่ได้มีการร้องขอปรับราคามาหลายเดือนแล้วว่ากระทรวงพาณิชย์ยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้นราคา และการที่กระทรวงพาณิชย์ออกมาเบรกผู้ผลิตห้ามปรับราคาและยังไม่ให้ขึ้นราคาสินค้าตามที่ขอมานั้น จะทำได้นานแค่ไหน  เพราะอย่างลืมว่าสินค้าอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันก็ปรับราคาขึ้นไปรอแล้วเห็นได้ชัดจากราคาอาหารตามสั่งที่หลังจากที่ก๊าชหุงต้มประกาศจะปรับขึ้นราคา ร้านอาหารตามสั่งก็ติดป้ายขอขึ้นราคาไปล่วงหน้าแล้ว   จากนี้ไปผู้ผลิตคงต้องลุ้นต่อไปว่าท้ายที่สุดแล้วทั้งกรมการค้าภายในและกระทรวงพาณิชย์จะตรึงราคาได้นานที่สุดกี่เดือน ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องเร่งหาทางออกให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค