“พาณิชย์”เล็งขึ้นทะเบียนคุ้มครอง “ศิลปหัตถกรรมไทย” ป้องกันเลียนแบบ

26 พฤษภาคม 2565

“สินิตย์”สั่งสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ผนึกกำลังกรมทรัพย์สินฯ ดูแลงานศิลปหัตถกรรมไทย ให้ได้รับการคุ้มครองและป้องกันการลอกเลียนแบบ ชี้เป็นงานอัตลักษณ์ บางชิ้นงานมีหนึ่งเดียวในโลก  เตรียมลงพื้นที่ 4 ภาคความรู้ก่อนดันขึ้นทะเบียน GI

  นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ประสานความร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผนึกกำลังในการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในงานศิลปหัตถกรรมไทย ซึ่งเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากอัตลักษณ์ท้องถิ่นหรือชุมชน ให้ได้รับการคุ้มครอง และป้องกันการลอกเลียนแบบงานศิลปหัตถกรรมของไทย เพื่อดูแลผู้ประกอบการท้องถิ่น และสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ให้ได้เพิ่มขึ้น

 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

 “งานศิลปหัตถกรรมของไทย เป็นงานที่มีการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ หรือนำนวัตกรรมมาผสมผสานให้ชิ้นงานมีเอกลักษณ์ ตลอดจนกระบวนการผลิตล้วนสร้างสรรค์มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือเป็นการสืบทอดต่อกันมาในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้ในบางชิ้นงานมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก จึงถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินทางปัญญาที่จะต้องได้รับปกป้องคุ้มครอง และยังเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น พร้อมกับการปกป้องคุ้มครอง”นายสินิตย์กล่าว

“พาณิชย์”เล็งขึ้นทะเบียนคุ้มครอง  “ศิลปหัตถกรรมไทย” ป้องกันเลียนแบบ

 

ด้านนายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า SACIT จะร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการลงพื้นที่ 4 ภูมิภาค เพื่อไปเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการชุมชน หรือชาวบ้าน ที่พัฒนางานหรือผลิตงานด้านศิลปหัตถกรรมในจังหวัดต่าง ๆ

“พาณิชย์”เล็งขึ้นทะเบียนคุ้มครอง  “ศิลปหัตถกรรมไทย” ป้องกันเลียนแบบ

ในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปหัตถกรรม และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญากรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น เพื่อรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง

  “พาณิชย์”เล็งขึ้นทะเบียนคุ้มครอง  “ศิลปหัตถกรรมไทย” ป้องกันเลียนแบบ     

ทั้งนี้ ยังมีแผนที่จะประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดและผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อผลักดันงานศิลปหัตถกรรมไทยที่มาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมและสะท้อนภูมิศาสตร์นั้น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ต่อไป