"ควีนโฟรเซ่นฟรุต" จ่อผลิต"เฟรนช์ฟรายทุเรียน" ส่งออกทั่วโลก

19 พ.ค. 2565 | 08:44 น.

"ควีนโฟรเซ่นฟรุต" จ่อผลิตเฟรนช์ฟรายทุเรียนส่งออกทั่วโลก วอนรัฐหนุนงานวิจัยนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ ไร้กลิ่น เก็บได้นาน ชี้ตลาดจีนความต้องการสูง แนะเกษตรกรสร้างแบรนด์ทุเรียนระดับสูง เน้นคุณภาพส่งขายต่างประเทศ

นางสาววรัญญภัคก์  ศรีมหัทธนเวคิน ประธานกรรมการ บริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุต จำกัด  กล่าวในการเสวนา “ปฏิบัติการรวมพลัง ทุเรียนแสนล้าน ฝ่าด่าน ZERO COVID “จัดโดยฐานเศรษฐกิจ ว่า บริษัทเป็นผู้ส่งออกทุเรียนลูกสด และทุเรียนแช่แข็ง เป็นโรงงานเดียวของประเทศไทย ที่ใช้อุณหภูมิ ลบ 60 องศา

 

ทั้งนี้ต้องการให้ไทยเป็นทั้งราชินีผลไม้และราชาผลไม้ของโลก โดยเฉพาะทุเรียนที่เป็นผลหลักของไทยที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก มีการส่งออกไปตลาดจีน อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย  ซึ่งด้วยวิธีการแช่แข็งลบ 65 องศา จะช่วยคงความสด ลดกลิ่นทุเรียน ชาวต่างชาติสามารถทานได้   

 

นางสาววรัญญภัคก์  ศรีมหัทธนเวคิน

สำหรับบริษัทฯมีแผนจะผลิตเฟรนช์ฟรายทุเรียน แทนเฟรนช์ฟรายมันฝรั่ง สามารถส่งออกได้ทั่วโลก  โดยเฟรนช์ฟรายจากทุเรียนมีกลิ่นหอมหวานอร่อย จะสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกมหาศาล บริษัทฯมีนโยบายทำให้เกษตรกรมีอาชีพ และรายได้ที่มั่นคง เป็นเกษตกรที่รวย  ทุเรียนในปีนี้ต่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 30% ก็ยังไม่เพียงพอพอต่อความต้องการของตลาด

 

 แต่ทุเรียนไปจีนไปติดปัญหาใหญ่คือเรื่องการขนส่ง ชุดที่แล้วทุเรียนส่งออกไป 60 ตู้  ใช้เวลา 25  วันถึงปลายทาง  ทำให้ทุเรียนเสียหายมาก แต่ยังหาทางออกไม่ได้ จึงฝากผู้เกี่ยวข้องดูแลเรื่องตู้คอนแทนเนอร์ที่ไม่พอต่อความต้องการเกษตรกร และผู้ส่งออก


“นอกจากนั้นมีปัญหาล้งที่จะส่งออก และระยะเวลาที่จีนมีนโยบายซีโรโควิด ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด  บางมณฑลขึ้น 5-7 วัน กว่าจะออกสู่ตลาดได้  เราไปออกที่เซินเจิ้นกว่าจะออกได้ใช้เวลาเดินทางตลาดอีก 3 วัน จึงเกิดปัญหาทุเรียนเสียหาย”

 

อยากส่งเสริมให้เกษตกรปลูกทุเรียนหลายสายพันธุ์ เพื่อให้ชนะทุเรียน มูซังคิงของมาเลเซีย ซึ่งจริงแล้วไทยมีทุเรียนเป็นร้อยสายพันธุ์ โดยทุเรียนหนามดำของไทย มีรสชาติหอมหวานอร่อย เนื้อละเอียด ความต้องการแม้แต่บริโภคภายประเทศก็ไม่พอ  คนจีนบอกมีเท่าไร ซื้อไม่อั้น

 

แต่เกษตรกรไทยยังไม่ทราบว่ามีพันธุ์นี้  ผลผลิตใกล้เคียงกับหมอนทอง และได้ราคามากกว่าหมอนทอง และแซงหน้ามูซังคิง อีกด้วย

 

พร้อมกันนี้ขอฝากทุกภาคส่วนให้ช่วยส่งเสริมเพราะตลาดต้องการมาก แต่วัตถุดิบน้อย  ทำให้สามารถผลิตสินค้าโดยไม่ต้องรอตลาด เพราะความต้องการตลาดสูง  บริษัทที่เป็นคนจีนปลูกทุเรียนโอ้วฉี่ 700 ไร่ อยากฝากภาคเกษตรขยายกิ่งพันธุ์ให้มาก ตนอยากทำแบรนด์ให้เกษตรกร ถ้าแบรนด์ติดตลาด เราเล่นตัวได้เลย เพราะแบรนด์นี้ประเทศจีนต้องถามหา และเราได้ราคา สมมุติคนอื่นขายได้ 700 หยวน เราจะต้องได้ 750-800 หยวน 

 

นางสาววรัญญภัคก์  ศรีมหัทธนเวคิน
พร้อมฝากถึงภาครัฐว่า พันธุ์หนามดำ จีนต้องการ ไม่ว่าในเครือเดอะมอลล์ เซ็นทรัลฯ  ไอคอนสยาม เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนไปจัดงานทุเรียนเป็น100 สายพันธุ์ที่ไอคอนสยาม เป็นที่ฮือฮามาก มีสายพันธุ์หนึ่งในหนึ่งลูกมี 5 พู และใน 5 พู มีรสชาติไม่เหมือนกัน อยากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ มาส่งเสริมพันธุ์ทุเรียนมหัศจรรย์นี้ แต่ทำยากมาก แต่ไม่มีอะไรยากเกินเกษตรกรและนักวิชาการจะทำได้ 

 

 นางสาววรัญญภัคก์ กล่าวว่า ในแปลงทดลองของตนมี100 สายพันธุ์ ปีหน้าจะทำ 500 สายพันธุ์ เราจะเลือกสายพันธุ์ที่ดี เอามาขยายเพื่อสนองความต้องการของตลาด ไม่ใช่เฉพาะประเทศจีน แต่จะขายทั่วโลก โดยเฉพาะทุเรียนแช่แข็งขายได้ทั้งยุโรป และอเมริกา

 

 มีหลายรายที่ส่งออกทุเรียนไทยไปขายเองที่จีน บริษัทคือหนึ่งในนั้นที่ขายเองในจีน โดยขายได้กล่องละ 750 -800 หยวน อยากให้ภาครัฐช่วยสนุนสนุน คือจะมีล้งให้เกษตรกรส่งสินค้าของตนเองมาแพ็ค และส่งออกไปขายเอง บริษัทจะมีทีมงานจากจีนใน 13 มณฑล และห้างสรรพสินค้า อยากให้เกษตรกรมี  2-3 แบรนด์ เป็นแบรนด์บนเน้นคุณภาพทุเรียน ความต้องการของจีนมหาศาล

 

“ขณะนี้เรากำลังจะทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำแพ็คเกจจิ้งที่ใส่แล้วทำให้สีทุเรียนเพิ่มเป็นสีเหลืองสวย  อยากให้ภาครัฐช่วยเรื่องทำวิจัยเพื่อให้ทุเรียนอยู่ได้นานประมาณ  45 วัน ไม่ต้องไปเสียภาษี 8 แสนบาท เพื่อเอาเปลือกไปทิ้งอย่างในขณะนี้”  นางสาววรัญญภัคก์ กล่าว