“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

07 พ.ค. 2565 | 08:48 น.

นักออกแบบปิ๊งไอเดีย นำ“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่า รุกเทรน์แฟชั่นตามกระแสBCG เน้นชูรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

กระแส BCG หนึ่งในโมเดลที่กำลังมาแรงในการแก้ป้ญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน โดยเป็นโมเดลที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)ดังนั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

ที่รัฐบาลพยายามผลักดันจะสร้างโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ตามมาอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น Functional Food การผลิตเนื้อสัตว์จากพืช ธุรกิจ Platform สินค้ามือสองออนไลน์ การผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล  ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือแม้แต่ในวงการแฟชั่นที่หันมาใช้วัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นสินค้าแฟชั่น เป็นต้น

 

ปี2564ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอย24.98 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 1 โดยขยะมูลฝอยมีการคัดแยก ณ ต้นทาง และนำกลับไปใช้ประโยชน์ จำนวน 8.61 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 3 กำจัดอย่างถูกต้อง 9.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 6

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

และกำจัดไม่ถูกต้องประมาณ 6.69 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 15 สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้มีการควบคุมการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาประเทศไทย

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

ในวงการแฟชั่นเองพยายามที่จะหาวัสดุทางธรรมชาติมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นมิตรกับผู้สวมใส่  “ เปลือกข้าวโพด”ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นสิ่งไร้ค่า จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการนำมาพัฒนาต่อยอดในธุรกิจ โดยเริ่มมีนักออกแบบได้มีการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อต่อยอดรายได้ให้กับชุมชน และเป็นการสร้างสรรค์ศักยภาพเพื่อให้เกิด “วัสดุแห่งทางเลือกใหม่” ซึ่งจะเป็นการสร้างความคุ้มค่าที่ก่อเกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

ณิรชญา จังติยานนท์  นักพัฒนาวัสดุและออกแบบผลิตภัณฑ์นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  เปิดเผยว่า งานวิจัยการพัฒนาศักยภาพเศษเปลือกข้าวโพดเหลือทิ้งสู่การสร้างสรรค์ศิลปกรรมบนเครื่องแต่งกายนั้นเป็น 

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

การนำเศษเปลือกข้าวโพดมาเข้าสู่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้แห่งการสร้างสรรค์ศักยภาพเพื่อให้เกิด วัสดุแห่งทางเลือกใหม่ ที่ผ่านการทดลองจากความรู้เชิงวิทยาศาสตร์และนำหลักการสุนทรียศาสตร์มาประยุกต์เข้าร่วมกัน จนก่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ์

ด้านความงาม มีประโยชน์ และคุณค่าในตัว ซึ่งจะช่วยพลิกโฉมทางเลือกใหม่ในวงการอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยได้ในอนาคต ที่จะนำไปสู่งานออกแบบที่สร้างสรรค์ทางศิลปกรรมบนเครื่องแต่งกาย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนและส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 1 ใน 15 สาขาด้แก่ 1.งานฝีมือและหัตถกรรม 2.ดนตรี 3.ศิลปะการแสดง 4.ทัศนศิลป์ 5.ภาพยนต์ 6.การแพร่ภาพและกระจายเสียง 7. การพิมพ์ 8.ซอฟต์แวร์ 9.โฆษณา 10. การออกแบบ11. การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม12.แฟชั่น 13.อาหารไทย 14.การแพทย์แผนไทย 15.การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

ในรูปแบบการผลิตระยะเริ่มต้นที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในเชิงหัตถอุตสาหกรรมที่ควบคุมได้ขณะเดียวกันยังสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้คนด้านการให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์และลดภาระแก่ทรัพยากร ธรรมชาติ และเพื่อเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เกิดการกระตุ้นการใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติในแง่การใช้งานอย่างคุ้มค่า สร้างมิติของประโยชน์ให้มีความหลากหลายและเป็นแนวทางการจัดการเศษขยะเหลือทิ้งทางการเกษตรกรรมอย่างสร้างสรรค์

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

“จากผลการทดลองควบคุมเศษเปลือกข้าวโพดในลักษณะการขึ้นรูปแบบ 2 มิติ และ3 มิติ พบว่า สามารถขึ้นรูปด้วยการควบคุมการผลิตรูปแบบหัตถอุตสาหกรรมที่จัดการรูปแบบได้ด้วยตนเอง อีกทั้งสามารถควบคุมและสร้างคุณลักษณะเชิงอัตลักษณ์ในตัววัสดุได้ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปออกแบบ เพื่อใช้งานในรูปแบบการใช้สอยหรือรูปแบบอื่น ๆ ได้

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

ลักษณะงานทดลองและการพัฒนาเศษเปลือกข้าวโพดนี้ เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะนำไปพัฒนาในเศษวัตถุดิบทางธรรมชาติประเภทอื่น ๆ ได้ เพื่อสร้างแนวทางการจัดการขยะทางการเกษตรให้เกิดคุณค่า ความงาม และวัตถุดิบเหลือทิ้งที่ไร้ค่า สู่มูลค่าในเชิงพาณิชย์ได้” 

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

“เปลือกข้าวโพด”ขยะไร้ค่าสู่เทรน์BCG

อย่างไรก็ตามการแปรรูปเปลือกข้าวโพดสามารถนำมาออกแบบเพื่อการใช้งานในรูปแบบการใช้สอยหรือรูปแบบอื่น ๆ ที่หลากหลายตามผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์โคมไฟ, วัสดุงานตกแต่งผนัง, พื้นผิวโต๊ะ, หรือกระทั่งการนำเศษเปลือกข้าวโพดและเศษวัสดุจากการขึ้นรูปหลักที่เหลือจากการใช้งาน โดยสามารถนำกลับมาอัดแผ่นด้วยความร้อนและสามารถกำหนดความหนาได้ตามความต้องการของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ