มาแล้วสเปรย์พ่นคอสูตร"แอนโดรกราโฟไลด์"ผลงานไทยสู้ไวรัสครองโลก

30 มี.ค. 2565 | 09:19 น.

 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมทุนมิสลิลลี่ฯ เปิดโฮลดิ้งปั้นสตาร์ทอัพไทยโกอินเตอร์ เริ่มรายแรกด้วย"ลิลลี่ ฟาร์มา" ดันนวัตกรรม "แอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น" สู่ตลาดทั้งในไทยและทั่วโลก 

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมทุน"มิสลิลลี่" เปิดบริษัทโฮลดิ้ง ปั้นสตาร์ทอัพไทยโกอินเตอร์ ประเดิม "มิสลิลลี่ ฟาร์มา" ดันนวัตกรรม "แอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น" สู่ตลาดโลก ส่วนตลาดภายในประเทศพร้อมวางจำหน่ายตามโรงพยาบาล ร้านขายยา และโมเดิร์นเทรดชั้นนำทั่วไป ภายในเดือนเมษายนนี้

 

วันที่ 29 มีนาคม 2565  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผนึกกำลัง มิส ลิลลี่ (Miss Lily) ร่วมทุนจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ภายใต้ชื่อ บริษัท เคเคยู มิส ลิลลี่ โฮลดิ้ง จำกัด (KKU Miss Lily Holding) มุ่งปั้นโครงการวิจัยสู่ตลาดจริง พร้อมผลักดันสตาร์ทอัพไทยสู่เวทีโลก เปิดสตาร์ทอัพไฮบริดรายแรก “ลิลลี่ ฟาร์มา” (Lily Pharma) ที่จะนำผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ “แอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น” ออกสู่ตลาดโลก

มาแล้วสเปรย์พ่นคอสูตร"แอนโดรกราโฟไลด์"ผลงานไทยสู้ไวรัสครองโลก

มาแล้วสเปรย์พ่นคอสูตร"แอนโดรกราโฟไลด์"ผลงานไทยสู้ไวรัสครองโลก

ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น(ม.ข.)  เปิดเผยว่า นี่คือครั้งแรกที่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกับภาคเอกชน ในการเปิดบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งมีบริษัท มิส ลิลลี่ จำกัด เป็นผู้ร่วมทุนในการจัดตั้งบริษัท เคเคยู มิส ลิลลี่ โฮลดิ้ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท โดยที่มิส ลิลลี่ ถือหุ้น 51% และมหาวิทยาลัยฯ ถือ 49%

 

ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อ.ว.) รวมถึงสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ต้องการผลักดันงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ร่วมกับภาคเอกชน ด้วยทางมหาวิทยาลัยฯ มีทรัพยากรและบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำงานวิจัย แต่ติดข้อจำกัดในเรื่องกฎระเบียบราชการ และเวลาการทำงานของอาจารย์นักวิจัย ที่มีภาระด้านงานสอน จึงไม่สามารถทำให้งานวิจัยออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว 

มาแล้วสเปรย์พ่นคอสูตร"แอนโดรกราโฟไลด์"ผลงานไทยสู้ไวรัสครองโลก

มาแล้วสเปรย์พ่นคอสูตร"แอนโดรกราโฟไลด์"ผลงานไทยสู้ไวรัสครองโลก

นอกจากนี้ งานวิจัยในมหาวิทยาลัยฯส่วนใหญ่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด จึงไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของท่านอธิการบดี ที่ผลักดันให้เกิดการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งขึ้น ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีศักยภาพ และมีมุมมองในการสร้างธุรกิจ อย่าง"มิส ลิลลี่" เพื่อก่อตั้งคณะทำงานในรูปแบบผสมผสาน ที่รวมเอาจุดแข็งในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย เครื่องมือ และองค์ความรู้   เข้าด้วยกัน เพื่อผลักดันงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

ทั้งยังใช้เงินลงทุนน้อยกว่างานวิจัยที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน หรือภาครัฐเพียงลำพัง โดยบริษัทโฮลดิ้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมด้านสุขภาพและเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ ที่สามารถส่งออกไปสู่ตลาดโลก  

 

นายเรวัต จินดาพล ผู้ก่อตั้ง บริษัท มิส ลิลลี่ จำกัด ผู้บุกเบิกธุรกิจสั่งดอกไม้ออนไลน์เจ้าแรกของประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฯ ในการสร้างสตาร์ทอัพ โดยใช้แนวคิดในการสร้างงานวิจัยออกสู่ตลาด มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่ออกมา Disrupt ตลาดในปัจจุบัน และต้องมีจุดเด่นที่ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดโลก เพื่อประโยชน์ที่จะมอบแก่ผู้คน ชุมชน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

 

บริษัทฯ จึงใช้การวิเคราะห์และสร้างรูปแบบธุรกิจ (Business Model) เพื่อให้เกิดความชัดเจนทางด้านการตลาด และใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ในตลาด บริษัทฯ ยังได้ส่งทีมนักวิทยาศาสตร์ เข้าทำงานวิจัยในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 รวมถึงทีมงานสาขาแพทย์ศาสตร์ เภสัชกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาร่วมทำงานกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ 

 

"จึงเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในรูปแบบไฮบริด เพื่อตัดข้อจำกัดในรูปแบบระบบราชการ ทำให้โครงการมีความคืบหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นตัวอย่างได้อย่างชัดเจน จากการที่บริษัทฯ สามารถนำผลงานวิจัย แอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น จากห้องวิจัยออกมาสู่โรงงานผลิตได้ภายในระยะเวลาเพียง 7 เดือน” 

 

บริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จำกัด ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพไฮบริดบริษัทแรกของบริษัทโฮลดิ้ง ได้นำผลงานวิจัยด้านแอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น มาพัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบสเปรย์พ่นคอ โดยจดแจ้งทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นเครื่องสำอาง เพื่อความรวดเร็วในการนำสินค้าสู่ตลาด 

 

ทั้งนี้ หากจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยาอาจใช้เวลานาน 3-5 ปี ซึ่งจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทันท่วงที จากผลการศึกษาผลงานวิจัยพบว่า แอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น มีอนุภาคเล็กกว่า 50 นาโนเมตร จะถูกดูดซึมได้ไวกว่าทานยาเม็ดถึง 8 เท่า 

 

ซึ่งคุณสมบัติของแอนโดรกราโฟไลด์ ได้รับการยืนยันจากผลงานวิจัยในหลายประเทศว่า 1.สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส 2.ตรวจจับการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ และ 3.ระงับการปล่อยสารอักเสบ ด้วยคุณสมบัติ 3 ข้อนี้ สามารถต่อยอดพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ได้อีกมากมาย

 

โดยในขั้นต้น ลิลลี่  ฟาร์มา ได้ทำการทดสอบในผู้ใช้หลากหลายกลุ่ม และได้เก็บข้อมูลเชิงสถิติ พบว่าให้ผลดีจริง จึงเร่งทำการผลิตเพื่อให้สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้ทันความต้องการของตลาด การจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเครื่องสำอางทำให้บริษัทฯ สามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้รวดเร็ว 

 

โดยเริ่มที่ร้านขายยาและโรงพยาบาลทั่วประเทศ เช่น ร้านค้าสวัสดิการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำลังเจรจากับร้านขายยาในกลุ่มโมเดิร์นเทรด เช่น ร้านยา eXta ในเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านยา Pure ในบิ๊กซี ร้านยาในโลตัส รวมถึงร้านขายยาเครือใหญ่ เพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายยิ่งขึ้น    

 

ด้วยแนวคิดการเปิดเมืองเพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ นายกเทศมนตรี เภสัชกร พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ ได้เปิดเผยว่า จากการได้ร่วมเป็นชุมชนต้นแบบ ทดลองใช้ แอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น ในรูปแบบของสเปรย์พ่นคอ ที่ได้จากห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ธันวาคม 2564 จนถึงมีนาคม 2565 

 

จากนั้นได้เริ่มต้นแจกจ่ายให้ประชาชน ในงานเคาท์ดาวน์ปีใหม่ในเมืองยะลา 500 กว่าคน และนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลทั้ง 5 โรงเรียน ในพื้นที่เทศบาลนครยะลาจำนวนกว่า 3,000 คน  รวมถึงผู้ร่วมกิจกรรมงานประกวดนกเขา 2,000 กว่าคน พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนได้มีการใช้สเปรย์พ่นคอให้กับนักเรียนทุกคน จนทำให้โรงเรียนกลับมาเปิดเรียนปกติ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้นับเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้จังหวัดยะลาเปิดเมืองได้อีกครั้ง เพื่อให้ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตปกติได้”

 

พบกับ “N DRO CARE” สเปรย์พ่นคอสูตรแอนโดรกราโฟไลด์ นาโน อิมัลชั่น จากลิลลี่ ฟาร์มา ได้ตามร้านค้าในโรงพยาบาล ร้านขายยา และโมเดิร์นเทรดชั้นนำทั่วไป ในเดือนเมษายนนี้