"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ

27 มี.ค. 2565 | 11:29 น.

"โคกอีโด่ยวัลเลย์" วัดป่าศรีแสงธรรม ศูนย์ทดสอบเทคโนโลยีพลังงานเพื่อการเกษตรยั่งยืน พัฒนาโมเดล"โซลาร์เซลล์"ปันแสง ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้ชุมชนห่างไกลเข้าถึงไฟฟ้าและโอกาสพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี หรือ "โคกอีโด่ยวัลเล่ย์" ได้จัดโครงการฝึกอบรมโซลาร์เซลล์ ให้แก่คณะครูกศน.บนพื้นที่สูง จากทั้ง 9 อำเภอในจังหวัดตาก รวมทั้งสิ้น 80 ราย นำโดยนายชนะ เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก 

 

กิจกรรมนี้ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมแปลงโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" และกิจกรรมปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร 

"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ

"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ

นอกจากนี้ ระหว่างการอบรม ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการอบรมครั้งนี้ด้วย 

 

พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระนักพัฒนา ที่สนับสนุนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมาโดยตลอด ตามหลัก "บวร" หรือบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาระบบโซลาร์เซลล์ที่มีอยู่ในพื้นที่ดอยสูง โดยเฉพาะเมื่อแบตเตอรี่เสื่อมแล้ว จะไม่ได้ใช้งาน

"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ

"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ
 
หลักสูตรอบรมนี้ จึงเน้นการใช้งานโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร และพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง และหลักสูตรสำหรับบ้านพักอาศัย เชื่อมต่อกับไฟของการไฟฟ้า เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายที่นับวันจะสูงขึ้น 

 

นอกจากนั้น พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ได้กล่าวสัมโมทนียกถา ต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เข้ารับการฝึกอบรม ความว่า วัดป่าศรีแสงธรรม และโรงเรียนศรีแสงธรรมแห่งนี้ เป็นต้นแบบในการดูแลรักษาระบบโซลาร์เซลล์ในศูนย์การศึกษา และช่วยเหลือชาวบ้าน 

 

โดยเฉพาะในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคเหนือและบนดอยหลายแห่ง ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องให้ทีมงานเดินทางข้ามเขาหลายชั่วโมงกว่าจะถึง แต่ก็คงจะไปให้ทุกที่ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องจัดสื่อการสอนเป็นคลิปวีดิโอ และสื่อการสอน ให้ผู้เข้าอบรมได้สัมผัสจริง ซึ่งจะได้ผลกว่าการเรียนในตำราอย่างเดียว 

"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ

สำหรับหลักสูตรพลังงานเพื่อการเกษตร สอนการติดตั้งระบบสูบน้ำโซลาร์เซลล์ นั้น ทุกระบบที่มีการสูบน้ำในโลกนี้ ไม่ว่าน้ำลึก น้ำตื้นจะกี่ร้อยเมตรก็สอนได้ โดยหลักสูตรโซลาร์เซลล์ สามารถใช้กับไฟบ้านแบบ Stand Alone หรือบ้านกินแดด ที่ครูกศน.ในพื้นที่สูงและพื้นที่ห่างไกล ยังต้องนำความรู้ไปใช้และถ่ายทอดต่อ รวมถึงหลักสูตรการต่อกับระบบบ้านพักอาศัยแบบ On grid ที่มีการออกแบบระบบและการต่อแบบมีแบตเตอรี่และไม่มีแบตเตอรี่ด้วย

 

เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ระบบโซลาร์เซลล์ที่มีในโลกนี้ ที่นี่ได้นำมาจำลองให้คนได้ศึกษาเรียนรู้ ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานความรู้แก้จนของโรงเรียนศรีแสงธรรมแห่งนี้ กำลังขับเคลื่อนติดอาวุธทางปัญญา ให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และการประกอบอาชีพ ตาม"โครงการปันแสง" หรือ Solar Sharing พร้อมระบบ BESS ศรีแสงธรรมโมเดล 

"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ

ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงาน และการเกษตรโคกอีโด่ยวัลเล่ย์ กำลังออกแบบระบบโซลาร์ปันแสง โดยใช้พื้นที่ทำการเกษตรใต้แผ่นโซลาร์เซลล์ สามารถผลิตพลังงานไปพร้อมกับการทำงานเกษตร ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ   พืชผักกับโซลาร์เซลล์แบ่งปันพลังงานกัน และการแบ่งปันพลังงานไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่เอามาใช้ภายในวัด และติดตั้งเครื่องแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ให้กับชุมชนหรือชาวบ้าน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ ทั้ง 5 มิติ     

 

รวมทั้งยังมีแนวโน้มถึงการจำหน่ายไฟเมื่อเหลือใช้ ซึ่งเป็นแนวทางในอนาคต ที่ระบบไฟฟ้าที่เป็น Prosumer จะมีมากขึ้น เช่น การปลูกผักใต้โซลาร์เซลล์ อาศัยให้แผงโซลาร์ช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ บังแดด และลดการเสียน้ำในพืช ส่งผลให้ผลผลิตเติบโตได้ดีขึ้น แถมยังอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 

 

ถือเป็นการยกระดับ"โคก หนอง นา โมเดล" หรือ "โคกอีโด่ยวัลเล่ย์" วัดป่าศรีแสงธรรม แห่งนี้  หลังจากนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม "โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง วัดป่าศรีแสงธรรม" ในเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ให้เป็นต้นแบบ ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) หรือ BCG ศรีแสงธรรม 

"โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"ต้นแบบโซลาร์เซลล์"ปันแสง"จากอุบลฯสู่ภาคเหนือ

โดยมีนวัตกรรม "ปลูกผักใต้แผงโซลาร์เซลล์" ที่จะทำการทดลองปลูกพืชแบบ agrivoltaics ในพื้นที่ "โคก หนอง นา โมเดล" โดยโครงการนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง สวทช. กฟผ. กฟภ. และวัดป่าศรีแสงธรรม ภายใต้ชื่อ Agrivoltaics หรือ agrophotovoltaics ซึ่งมี ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ เป็นผู้ออกแบบอาคาร ที่นี่จึงเป็นแหล่งทดสอบ ทดลองงานทางด้านเทคโนโลยีพลังงาน กับการเกษตรอย่างยั่งยืน หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม "โคกอีโด่ยวัลเล่ย์"   


ชลธิษ จันทร์สิงห์ อุบลราชธานี /รายงาน