“พาณิชย์”สั่งตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่เกิน 3.20 บาท

16 มี.ค. 2565 | 12:40 น.

“พาณิชย์”สั่งตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่เกิน 3.20 บาท หลังต้นทุนอาหารสัตว์พุ่งสูงผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เนื่องจากผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั้งรายกลางและรายย่อยได้แจ้งให้กรมการค้าภายในทราบว่าขณะนี้ราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก เป็นเหตุให้ต้นทุนการผลิตไข่ไก่สูงขึ้นจนอาจไม่สามารถรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จึงขอปรับราคาจำหน่ายหน้าฟาร์มให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้น   โดยในวันนี้ (16 มีนาคม 2565) กรมการค้าภายในได้ประชุมติดตามสถานการณ์ราคาไข่ไก่

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน

โดยหารือร่วมกับกรมปศุสัตว์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ สมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่แปดริ้ว สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน และผู้ผลิตรายใหญ่ ซึ่งจากการหารือร่วมกัน พบว่า ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ปรับสูงขึ้นจริงตามที่ผู้เลี้ยงได้แจ้ง

 

“พาณิชย์”สั่งตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่เกิน 3.20 บาท

โดยกรมปศุสัตว์แจ้งยืนยันต้นทุนที่ 2.94 บาท/ฟอง ซึ่งมีสาเหตุจากสภาวะอากาศร้อนทำให้อัตราการให้ไข่ลดลงและมีขนาดที่เล็กลง และราคาวัตถุดิบหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ดังนั้นเพื่อลดภาระของผู้เลี้ยงให้สามารถยังคงเลี้ยงต่อไปได้และไม่เป็นภาระกับผู้บริโภคมากเกินไป จึงมีข้อตกลงร่วมกันกำหนดราคาไข่คละหน้าฟาร์มที่ไม่เกิน 3.20 บาท/ฟอง ในส่วนของราคาจำหน่ายปลีกไข่ไก่เบอร์ 3 เฉลี่ยทั่วประเทศขณะนี้ยังอยู่ที่ 3.47 บาท/ฟอง เป็นราคาที่สอดคล้องกับราคาหน้าฟาร์ม

“พาณิชย์”สั่งตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่เกิน 3.20 บาท

สำหรับสถานการณ์ข้าวโพด ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไก่เนื้อและไก่ไข่ ขณะนี้จะมีข้าวโพดหลังนาออกมาในช่วง 2-3 เดือนนี้ ประมาณ 7-8 แสนตัน ก็จะช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ด้านวัตถุดิบลง และผลจากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565

“พาณิชย์”สั่งตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่เกิน 3.20 บาท

ที่มีความเห็นร่วมกันในการผ่อนคลายมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาสถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์ในขณะนี้ และหากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนผ่อนคลายลงก็จะช่วยให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในตลาดโลกผ่อนคลายลงเร็วขึ้น