กรมอุตุฯ ออกประกาศ ไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว วันพรุ่งนี้ ยาวถึงกลางเดือน พ.ค.

01 มี.ค. 2565 | 05:38 น.

กรมอุตุฯ “คอนเฟิร์ม” วันพรุ่งนี้ ประกาศ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน คาดการณ์ ปีนี้จะร้อนกว่าปี 2564 จังหวัดไหนร้อนที่สุด เช็กได้เลย "มี.ค.- เม.ย." ระวังพายุฤดูร้อน อาจจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลอันดามัน อาจทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่น พายุไซโคลน ได้

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย  รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  ว่า วันนี้ (วันที่ 1 มีนาคม 2565)  ในช่วงประมาณ 15.00 น. โดยประมาณ จะมีการออกประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา อย่างเป็นทางการ ว่าประเทศไทย สิ้นสุดฤดูหนาวแล้ว จะเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งตรงกับ วันที่ 2 มีนาคม 2565   เนื่องจากเงื่อนไขครบ คาดฤดูร้อนปีนี้จะยาวถึงเดือนพฤษภาคม

 

โดยสรุปก็คือ  บริเวณประเทศไทยมีอุณหภูมิ สูงสุดตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียส ขึ้นไปและมีอากาศร้อนในตอนกลางวันอย่างต่อเนื่อง และในขณะที่ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ได้เปลี่ยนจากลมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทนที่ ลักษณะเช่นนี้เป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ดังนั้นขอแจ้งให้ทราบถ้วนกัน

 

 

ประกาศเข้าสู่ฤดูร้อน

 

ทั้งนี้ การคาดหมายลักษณะอากาศของประเทศไทยราย 3 เดือน เดือนมีนาคม - พฤษภาคม พ.ศ. 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา การคาดหมายลักษณะอากาศ  ในระยะ 3 เดือนนี้ คาดว่า ปริมาณฝนรวมทั่วทุกภาคจะ สูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10 โดยค่าปกติของแต่ละภาคมี ดังนี้

 

ภาคเหนือค่าปกติ 275.3 มิลลิเมตร , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่าปกติ 321.4 มิลลิเมตร,ภาคกลางค่าปกติ 255.5 มิลลิเมตร ,ภาคตะวันออกค่าปกติ 369.9 มิลลิมตร ,ภาคใต้ฝั่งตะวันออกค่าปกติ 305.7 มิลลิเมตร ,ภาคใต้ฝั่งตะวันตกค่าปกติ  593.3 มิลลิเมตร และกรุงเทพมหานครและปริมณฑลค่าปกติ  350.4 มิลลิเมตร

 

 

เปิดสถิติจังหวัดที่ร้อนที่สุด

 

การคาดหมายอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย มี.ค.-พ.ค. 2565

 

สำหรับอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่จะต่ำกว่าคำาปกติประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะใกล้เคียงค่าปกติ โดยค่าปกติของแต่ละภาคมีดังนี้ ภาคเหนือ ค่าปกติ 36.0 องศาเซลเชียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่าปกติ 35.2,องศาซลเชียส ภาคกลางค่ปกติ 36.4 องศาเซลเชียส ภาคตะวันออก,ค่าปกติ 34.1 องศาเซลเชียส ภาคใต้ฝั่งตะวันออกค่าปกติ 33.4 องศาเซลเชียส, ภาคใต้ฝั่งตะวันตกค่าปกติ 33.8 องศาเซลเซียส และกรุงเทพมหานครและปริมณฑลค่าปกติ  34.7 องศาเซลเชียส

 

อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าปกติ โดยค่าปกติของแต่ละภาคมีดั่งนี้ ภาคเหนือค่าปกติ 22.9 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่าปกติ 24.1 องศาเซลเซียส ภาคกลางค่าปกติ 24.9 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกค่าปกติ 25.7 องศาเซลเชียส ภาคใต้ฝั่งตะวันออกค่าปกติ 24.4 องศาเซลเชียส ภาคใต้ฝั่งตะวันตกค่าปกติ 24.5 องศาเซลเชียสกรุงเทพมหานครและปริมณฑลค่าปกติ 26.5 องศาเชลเซียส

ปีนี้จะร้อนกว่าปี 2564

 

ส่วน “เดือนมีนาคม” ปริมาณผ่นรวมบริเวณประเทศไทยจะสูงกว่าค่าปกติ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง จะสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 30 ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออกภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมทั้งกรุงเทพมหนครและปริมณฑล จะสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 20 โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคเหนือ จะมีปริมาณฝนประมาณ 30-50 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีปริมาณฝนประมาณ 40-70 มม. ภาคตะวันออก จะมีปริมาณฝนประมาณ 60-90 ภาคใต้ฝั่งตะวันออกประมาณ 90-120 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 110-150 มม.อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยจะมีค่าต่ำกว่าค่าปกติบริเวณภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก

คาดหมายช่วงกลางเดือนมีนาคม

 

สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติ โดยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34-37 องศาซลเชียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23-26 องศาเซลเชียส ภาคตะวันออก มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32-34 องศาเซลเชียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25-27 องศาเซลเซียส ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคใต้ฝังตะวันตก มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32-35 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23-25 องศาเซลเชียส ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุจะณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34-36 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25-27 องศาเซลเซียส

 

“เดือนเมษายน”  ปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 20 ยกว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 30 ภาคใต้ฝั่งตะวันออกสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 20 ภาคใต้ฝั่งตะวันออกสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10 โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาคต่างๆ ดังนี้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนื้อ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณฝนประมาณ 70-110 มม. ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 100-140 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 170-210 มม.

 

อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่จะมีค่ต่ำกว่าค่าปกติ ภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีคำใกล้เคียงค่าปกติ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35-38 องศาเซลเชียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23-26 องศาเซลเชียส ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี้ย 33-37 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25-28 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33-35 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลีย 24-26 องศาเซลเชียส

 

คาดการณ์ปริมาณฝน เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม 2565

 

สุดท้าย “เดือนพฤษภาคม"  ปริมาณฝนรวมประเทศไทยทั้งประเทศจะสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10 โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคเหนือ จะมีปริมาณฝนรวมประมาณ 170-210 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ ประมาณ 190-250 มม. ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกประมาณ 130-180 มม.

 

ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 300-400 มม.อณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าปกติ โดยประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33-37 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23-28 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย
32-35 องศาเซลเชียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 24-26 องศาเซลเชียส

 


ทั้นี้ ข้อควรระวัง เดือนมีนาคมและเมษายน มักจะเกิดพายุฤดูร้อนบ่อยครั้ง โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน และเรือกสวนไร่นาได้ช่วงปลายเดือนเมษายนและพฤษภาคม อาจจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลอันดามัน ซึ่งอาจทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นและพายุไซโคลนได้

 

โดยมีการเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนไปทางตะวันออกและอาจเข้าใกล้ด้านตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้บริเวณด้านตะวันตกของทั้งภาคเหนือและภาคกลาง รวมทั้งภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ประชาชนจึงควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด