หายป่วยโควิด เช็ควิธีปฏิบัติตัวหลังกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน อ่านที่นี่

21 ก.พ. 2565 | 19:34 น.

หายป่วยโควิด เช็ควิธีปฏิบัติตัวหลังกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน ต้องทำอย่างไรอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่

จากกรณีที่ยอดติดเชื้อโควิด เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยในวันนี้ 21 กุมภาพันธ์ 2565   ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 18,883 ราย  ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 507,763 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 32 ราย หายป่วยเพิ่ม 14,914 ราย กำลังรักษา 166,397 ราย หายป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 373,651 ราย

 

สำหรับผู้หายป่วยโควิด สำนักงานหลักประกันสุขภาพ ได้โพสต์ข้อความว่า ผู้ป่วยโควิดรักษาตัวหาย หลังออกจากโรงพยาบาลก็ยังต้องเฝ้าระวังตัวดังนั้นจึงควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

เมื่อผู้ป่วยโควิดทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในระดับ สีเขียว สีเหลือง หรือ สีแดง ที่ต้องออกไปรักษาตัวยังโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม ศูนย์พักคอย หรือ Hospitel หายจากโรคและได้รับอนุญาตจากแพทย์ให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านอีก 14 วันก่อนกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติ แต่หลายคนอาจสงสัย ในการกักตัวของผู้ที่หายป่วยจะแตกต่างจากการกักตัวสำหรับผู้ที่เฝ้าดูอาการหรือไม่วันนี้ เรามีรายละเอียดมาบอกกัน

 

จากข้อมูลของกรมการแพทย์ ระบุว่า ผู้ที่หายป่วยจากโควิด 19 แล้วกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านนั้นจะมีวิธีปฏิบัติตัวดังนี้

1. เว้นระยะจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร

2. สวมแมสก์เมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น

3. ล้างมือเป็นประจำด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70 %

4. ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

5. ทานอาหารสุข มีประโยชน์และดืมน้ำให้เพียงพอ

6. งดออกจากบ้านทุกกรณี ยกเว้นการเดินทางไปโรงพยาบาลโดยการจัดการของ

โรงพยาบาล

7. ให้แยกห้องนอน ถ้าไม่มีห้องนอนแยก ให้นอนห่างจาผู้อื่น 3-5 เมตร

8. แยกห้องน้ำจากผู้อื่น หรือเข้าเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดหลังใช้ทุกครั้ง

 

 

 

หายป่วยโควิด

ทั้งนี้หากมีอาการป่วยเกิดขึ้น เช่นไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที สามารถเข้ารับบริการเพื่อตรวจรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิของตนเองได้ และแนะนำให้สวมหน้ากาอนามัยตลอดการเดินทาง หลังจากครบกำหนดแล้วสามารถออกมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ เช่น การสวมหน้ากาก ทำความสะอาดมือและรักษาระยะห่าง.

 

ที่มา: สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ