ดราม่าเดือด ทำไม “ชาวสวนปาล์ม” แตกหัก “กนป.” ?

08 ก.พ. 2565 | 14:13 น.

แถลงค้าน มติ กนป. จัดตั้งองค์กร “สมาคมชาวสวนปาล์มแห่งประเทศไทย” เตรียมเคลื่อนไหวใหญ่ พร้อมระบุ สาเหตุ ชัดทำไม แตกหัก “กนป.” 2 เดือนข้างหน้า เตือน วงจรของการกดราคาปาล์มทะลาย รุนแรง ชี้ควรพิจารณาให้รอบคอบ มีพลังในการต่อรองกับนักการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

นายพันธ์ศักดิ์ จิตรรัตน์   ประธานคณะกรรมการด้านปาล์มน้ำมันและพืชพลังงาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ และกรรมการใน คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ  (กนป.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  วันนี้ (8 ก.พ. 65) มีการอ่านแถลงข่าวในนามสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทยและเครือข่ายคัดค้านมติ (กนป.) ซึ่งเบื้องต้นได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลที่ได้ดูแลจัดการปาล์มน้ำมันด้วยนโยบายต่างๆเพื่อให้สถานการณ์ปาล์มน้ำมันดีขึ้น มีการปรับสมดุลโดยการใช้น้ำมันปาล์มไปผลิต ไฟฟ้า มีโครงการประกันรายได้ มีการเพิ่มการใช้ไบโอดีเซล บี บี10 บี 20 ทำให้ปริมาณการใช้ใบโอดีเซลเพิ่มขึ้น

 

แถลงการณ์ ค้านมติ กนป. สุดเดือด !!

มีโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน มีมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่านน้ำมันปาล์มเพื่อป้องกันการลักลอบน้ำมันปาล์มเถื่อน โดยการขนส่งทางบก ทำให้การเก็บสต็อกน้ำมันปาล์มลดลง ทำให้ราคาปาล์มน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ได้รับราคาปาล์มทะลายที่ดีขึ้นในปี 2564

 

หลังจากประสบปัญหาราคาตกต่ำต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี มีการศึกษาจัดทำโครงสร้างราคาปาล์มทะลายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการรับซื้อปาล์มทะลายจากเกษตรกร และอีกทั้งยังมีมาตรการและแนวทางขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแปรรูปน้ำมันปาล์มเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเป็นอนาคตที่สำคัญของน้ำมันปาล์มและชาวสวนปาล์มและโจมตีการบริหารของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กนป.)ดังนี้

 

1. มาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่านน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะลักของน้ำมันปาลัมฯ เข้ามาในประเทศจากการลักลอบนำเข้าและนำผ่านน้ำมันปาลัมฯ โดยเร่งด่วน และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและอุดสาหกรรมน้ำมันปาล์มภายในประเทศ มีการทบทวนให้มีการเปิดด่านสะเดาซึ่งเป็นการขนส่งทางบกโคยรถบรรทุกให้กับ สปป.ลาว โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อการประชุม กนป. เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2565 ที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงคัดค้านของตัวแทนเกษตรกร ผู้ทรงคุณวุฒิโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และโรงรีไฟน์น้ำมันบริโภค

 

2.มีการปรับลดการใช้ใบโอดีเซลจาก  7 10  20 เหลือ บี 7 และลดจาก บี 7เพียง บี5 โดยคณะกรรมการบริหารนโบายพลังงาน หรือ กบง. มีผลถึง 31 มีนาคม 2565 ซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้บโอดีเซลลดลงอย่างมาก มีผลกระทบต่อการใช้น้ำปาล์ม การผลิตไบโอดีเซล และกระทบต่อสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในทันที ดังที่เกิดขึ้นแล้ว คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันได้แต่เพียงรับทราบเท่านั้น

 

 

3. โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 - 2565 โดยกำหนดราคาเป้าหมายผลปาล์มทะลาย (อัตราน้ำมัน 18% ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มกิโลกรัมละ 4.00 บาท ใช้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 2,774 กิโลกรัม วงเงิน 7,660.00 ล้านบาท ยังเป็นการใช้ตัวเลขเดิม แนวความคิดเดิม ไม่มีการปรับตัวเลขต้นทุนปัจจุบันซึ่งปัจจัยการผลิต ต้นทุนของเกษตรกรมีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าตัวโครงการปรับสมดุลน้ำมันปาล์ม

โดยการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยกรมการค้าภายในเป็นประธาน มีการปรับสเปคให้นำน้ำมันกรดสูง 7-9 % ไปใช้ได้ ทำให้เกิดการนำน้ำมันกรดสูงจากบ่อน้ำเสียไปผสมขาย และช่วงที่มีการรับซื้อ พบว่าไม่ได้ทำให้ราคาปาล์มทะลายดีขึ้นตามเป้าหมาย และมีการปรับเงื่อนไขการส่งน้ำมัน การเถื่อนเวลาส่งมอบ เอื้อต่อผู้ค้า

 

5. โครงการติดตั้งมิเตอร์เรียลไทม์เพื่อวัดปริมาณน้ำมันปาล์มดิบ ดำเนินการโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ล่าช้า ไม่แล้วเสร็จ วัดได้เพียงปริมาณน้ำมันที่เก็บอยู่ในถัง ไม่ทราบปริมาณไหลเข้า - ออก ของน้ำมันปาล์ม ยังเป็นช่องว่างให้เกิดข้อบกพร่องในการบริหารปาล์มน้ำมันได้

 

6. โครงสร้างราคาปาล์มทะลายและน้ำมันปาลัม มีมติ กนป.มาตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. 2561ให้มีการจัดทำโครงสร้างราคาปาล์มทะลายและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ เพื่อให้เกิดเป็นธรรมในการรับซื้อผลผลิตปาล์มทะลายจากเกษตรกรและเป็นธรรมผู้บริโภค มีการตั้งอนุโครงสร้างราคาปาล์มฯ โคยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะ มีการดำเนินการล่าช้า ไม่แล้วเสร็จ ทำให้มีการกดราคารับซื้อปาล์มทะลายของเกษตรกรในช่วงที่มีผลผลิตมากทุกๆปี ไม่น้อยกว่าปีละ 3,600 ล้านบาท

 

“ทำให้มีความผันผวน มีการปั่นป่วนราคาปาล์มทะลายและราคาน้ำมันปาล์มเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากล่าช้าอีกต่อไป วงจรของการกดราคาปาล์มทะลายอย่างรุนแรงก็จะเกิดขึ้นอีกในสองเดือนข้างหน้าทำให้ผลการทำงานของหน่วยงานต่างๆภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโขบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ไม่สัมฤทธิ์ผล การปฏิบัติยังไม่แล้วเสร็จย่อหย่อนในการปฏิบัติ"

 

สะท้อนถึงโครงสร้างเชิงอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ ไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อมีมติมาแล้วก็ต้องขอมติครม.แล้วแต่ละหน่วยงานนำไปปฏิบัติ ไม่ว่าจะได้ผลเพียงใดหรือไม่ กนป.ไม่มีดาบอาญาสิทธิ์เพื่อรักษานโยบายที่ดีเพื่อชาวสวนปาล์มได้อย่างยั่งยืน การทำงานของหน่วยงานต่างๆ มีการแทรกแซงจากกลุ่มตลาดการค้าและการแข่งขันทางการเมือง ทำให้ขาดเสถียรภาพ ขาดเอกภาพในการทำงานทางค้านนโยบาย ขาดความศักดิ์สิทธิ์

 

นายพันธ์ศักดิ์  กล่าวว่า ทางสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทยและเครือข่ายขอคัดค้านมติของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กนป.) ดังเหตุผลดังกล่าวข้างต้นและขอให้และบริหารจัดการดุลอำนาจทางการเมืองขององค์กรเพื่อยืนหยัดประโยชน์ในการทำงานให้มีคุณค่าสูงสุดต่อประโยชน์ของพี่น้องชาวสวนปาล์ม และต่อพี่น้องประชาชนผู้บริโภค ให้มีเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพื่อเป็นหน่วยงานสำคัญทางค้านน โขบายเพื่อสร้างเศรษฐกิจปาล์มน้ำมันให้เกิดความยั่งยืนเป็นเศรษฐกิจของชาติที่สำคัญให้ได้ตามความมุ่งหมายต่อไป

 

จากนั้นได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ ดังนี้

 

1.โดยมีการฝากถึงเกษตรกรให้เตรียมตัวไว้ให้พร้อมในการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องหากราคาปาล์มตกต่ำลงไปกว่านี้ มีการกล่าวโจมตี นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่บริการจัดการปาล์มน้ำมันล้มเหลว

 

2.ให้รัฐบาลกำหนดราคาปาล์มขั้นต่ำในการค้าขายกับต่างประเทศ

 

3.การควบคุมราคาปุ๋ยเคมีเนื่องจากปุ๋ยเคมีเป็นสินค้าควบคุม แต่ที่ผ่านมามีการขึ้นราคาโดยไม่ทราบว่าขออนุญาตใคร ให้ผู้ที่มีหน้าควบคุม(กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์) ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรให้เกษตรกรทราบด้วย

 

4.ที่ผ่านมาการขุดแร่โปรแตสถูกประท้วงจากประชาชนในแต่ละพื้นที่ ให้รัฐบาลผลักดันทำ "เหมืองแร่โปรแตส" เพื่อใช้ภายในประเทศภายใน 2566 จากแผนรัฐบาลภายในปี 2568

 

5.การคัดค้านการขนน้ำมันจากมาเลเซียผ่านแดนสะเดาไปยังสปป.ลาว

 

6.แนวทางในการแก้ไขปัญหาปุ๋ยแพงและแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมัน เกษตรกรต้องร่วมมือกันผลักดันโดนการรวมตัวกันให้เกิดพลังโดยมีสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นตัวกลาง ที่ผ่านมาต่างคนต่างอยู่ขาดพลัง ต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และสถานการณ์ปาล์มน้ำมัน โดยภายใน 15 วันจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง

 

7.ปัญหาความล่าช้าของ พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันเกิดจากความไม่จริงใจของพรรคประชาธิปัตย์ วงการปาล์มน้ำมันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงเรื่องการเมือง การเลือกตั้งครั้งต่อไปจึงควรพิจารณาให้รอบคอบในการเลือกผู้แทน เกษตรกรต้องมีพลังในการต่อรองกับนักการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พรรคการเมืองต้องนำนโยบายมาเสนอกับเกษตรกรก่อนที่จะเลือกตั้ง

 

“ที่ผ่านมานายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมต.พาณิชย์ ไม่มีความรู้ด้านปาล์มน้ำมันจึงไม่สามรถแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันได้ หลังจากนี้จะมีการร่างหนังสือถึงแต่ละพรรคการเมือง เพื่อขอนโยบายจากพรรคการเมืองต่างๆ ว่ามีแนวทางแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกษตรกรตัดสินใจเลือกตั้งครั้งต่อไป”

 

8.ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาต่างๆ ผ่านการเมืองล้มเหลวเพราะการเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์การร่างนโยบายทำจากข้างบนลงมาข้างล่างหากขัดกับผลประโยชน์กลุ่มทุนจะทำไม่ได้ ต่อไปควรทำจากข้างล่างไปข้างบนโดยมีกฎหมายรองรับ โดยมียุทธศาสตร์ กลยุทธ ทุนและเกษตรกร การรวมตัวของเกษตรกรใครครั้งจะไม่สูญเปล่า ขณะนี้ใกล้เลือกตั้งเกษตรกรต้องสร้างข้อต่อรองกับนักการเมืองโดยการกำหนดนโยบายให้นักการเมืองโดยเฉพาะการผลักดัน พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมัน เกษตรกรต้องร่างนโยบายเสนอพรรคการเมืองในการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันเพื่อให้ทราบว่าพรรคการเมืองใดสนับสนุนหรือคัดค้านนโยบายของเกษตรกร

 

9.ที่ผ่านมาเกษตรกรยังไม่มีการจัดตั้งองค์กร "สมาคมชาวสวนปาล์มแห่งประเทศไทย" อย่างเป็นทางการเป็นเรื่องที่เป็นยุทธศาสตร์เริ่มต้นที่ต้องทำหลังจาการประชุมในวันนี้

 

10.ที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กนป) มักเลือกเลือกตัวแทนเกษตรกรไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิไม่ได้ไปเป็นคณะกรรมการ ทำให้ไม่สามารถออกความเห็นคัดค้านได้ เพียงแต่ให้ความเห็นเท่านั้น    จึงควรจัดตั้ง "สมาคมปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย" เพื่อใช้สัดส่วนเข้าไปเป็น กนป.ในนามตัวแทนเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน

 

สถานการณ์ราคาปาล์มน้ำมัน ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ปรับตัวขึ้น

จังหวัดกระบี่

 

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

จังหวัดชุมพร

 

จังหวัดตรัง

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช