svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

มีผลแล้ว ราชกิจจาฯ ประกาศ เครื่องหมายราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใหม่

29 มกราคม 2565

ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศสำนักนายกฯ กำหนดภาพเครื่องหมายราชการของ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ใหม่ มีผลแล้ว รู้หรือยัง

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา  ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 มกราคม 2565 ประกาศ เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 313) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช  2482 แทนเครื่องหมายเดิมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 249 ลงวันที่ 3 ธันวาคม  2552 ดังปรากฏรายละเอียดของภาพเครื่องหมายราชการ ดังกล่าวท้ายประกาศนี้ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ลงนามโดย นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

 

สำหรับ ประกาศราชกิจจา ฯ ภาพเครื่องหมายราชการประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

เป็นรูปวงกลมซ้อนกัน 2 วง ภายในวงกลมชั้นในเป็นพื้นสีเขียว มีลายกระหนกเปลวสีทองกึ่งกลาง เป็นรูปพระพิรุณทรงพระภูษาและฉลองพระบาทสีทอง พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ ทรงยืนบนหลังนาค ภายใน วงกลมชั้นนอกเป็นพื้นสีขาว ด้านบนมีอักษรภาษาไทยสีเขียวเข้มว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์”ด้านล่างมี อักษรภาษาอังกฤษสีเขียวเข้มว่า “MINISTRY OF AGRICULTURE AND COOPERATIVES”

 

เครื่องหมายราชการประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 ความหมาย

“ พระพิรุณ” เป็นเทพแห่งน้้า เป็นที่นับถือกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่าเป็นผู้บันดาลให้ฝนตก

 "นาค" เป็นพาหนะของพระพิรุณ และเป็นก้าลังของการให้น้้า

 "พระพิรุณทรงนาค" เป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ

"ตราประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ของเดิม

 

มีผลแล้ว ราชกิจจาฯ ประกาศ  เครื่องหมายราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใหม่

 

ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นตราประจำตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย ตรานี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นตราหนึ่งในตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมนา

 

จากทั้งหมด 9 ดวง ที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญเพื่อใช้สำหรับหน้าที่ต่างๆ กัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการนำตราพระพิรุณขี่นาคทรงเครื่องยืนหลังนาคราช (ดวงที่ 3) มาใช้เป็นตราใหญ่ดำเนินพระราชโองการในสารตราต่างๆ และใช้ตรานี้มาจนถึงปัจจุบัน

 

“พระพิรุณ”  เป็นที่นับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า เป็นเจ้าแห่งน้ำ เป็นผู้บันดาลให้ฝนตก

“พญานาค” เป็นพาหนะของพระพิรุณ และเป็นกำลังของการให้น้ำ

“พระพิรุณทรงนาค” จึงเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์"

 

ประกาศสํานักนายกรัฐมนตร ี เรื่อง กําหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 249) อ้างอิง (คลิกที่นี่)