ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8% ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

24 ม.ค. 2565 | 07:46 น.

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%   3 อุตสาหกรรม ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ ทำนิวไฮต่อเนื่อง 1.20 ล้านล้านบาท โต 8.4% เหตุมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ของประเทศคู่ค้า ทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้สินค้าอาหารไทยแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 13 ของโลก คงที่จากปีก่อน ชี้มาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ของประเทศคู่ค้า ทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้สินค้าอาหารไทยแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น คาดปี 2565 ยังต้องฝ่าด่านเงินเฟ้อ ทั้งที่มาจากราคาสินค้าเกษตร ราคาพลังงาน และค่าขนส่ง ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง ต้นทุนสินค้าปรับตัวสูงขึ้น

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

สอดคล้องกับนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกสินค้าอาหารไทยในปี 2564 มีมูลค่า 1,107,450 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 หรือในรูปดอลลาร์คิดเป็นมูลค่าส่งออก 34,890 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดโลกของไทยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.30 จากร้อยละ 2.32 ในปี 2563 และอันดับประเทศผู้ส่งออกอาหารของไทยคงที่อยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก ทั้งนี้ตลาดส่งออกอาหารของไทยปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น สหรัฐฯ แอฟริกา โอเชียเนีย และสหราชอาณาจักร

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

โดยปัจจุบันประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของไทย มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 24.5 มูลค่าการส่งออก 271,674 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 จากปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากการส่งออกผลไม้สดและแป้งมันสำปะหลังเป็นหลัก รองลงมาได้แก่ CLMV และญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 2 และ 3 มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 12.4 และ 11.5 ตามลำดับ โดยการส่งออกอาหารไปประเทศอินเดียที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 219.7 จากการส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นหลัก ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และแอฟริกาลดลงจากสินค้าทูน่ากระป๋องและข้าวเป็นสำคัญ

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทำให้การส่งออกอาหารในภาพรวมขยายตัวดี คือ ราคาสินค้าเกษตรวัตถุดิบอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบอาหารมีมูลค่าส่งออก 506,970 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 หรือมีสัดส่วนร้อยละ 45.8 ของมูลค่าส่งออกอาหารโดยรวม จากสัดส่วนร้อยละ 40.8 ในปีก่อน

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

ขณะที่กลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปมีมูลค่าส่งออก 600,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 หรือมีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 54.2 ของมูลค่าส่งออกอาหารโดยรวม จากสัดส่วนร้อยละ 59.2 ในปีก่อน ทั้งนี้กลุ่มสินค้าหลักที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง (34.3%), กุ้ง (+10.8%), ผลิตภัณฑ์มะพร้าว (+7.7%), เครื่องปรุงรส (13.3%), อาหารพร้อมรับประทาน (+7.7%) และสับปะรด (31.5%) ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของธุรกิจบริการร้านอาหาร หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในหลายประเทศ ทำให้ประชาชนสามารถออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านได้มากยิ่งขึ้น ในขณะที่กลุ่มสินค้าหลักที่การส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว (-7.1%), ไก่ (-1.7%), ปลาทูน่ากระป๋อง (-18.3%) และน้ำตาลทราย (-13.2%)

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

“แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,200,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ซึ่งหากเป็นไปตามคาดจะเป็นสถิติส่งออกสูงสุดครั้งใหม่ (New high) ของการส่งออกอาหาร

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

ด้านนางอนงค์  ไพจิตรประภาภรณ์  ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร โดยมีสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่าในปี 2564 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากความกังวลโควิด-19 คลายตัวลง ประเทศคู่ค้าผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลทำให้สินค้าส่งออกที่มีตลาดในกลุ่มธุรกิจบริการร้านอาหารและโรงแรมปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับได้รับปัจจัยบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลดีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจาก 1) ความต้องการสินค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจหลังจากประชากรโลกได้รับวัคซีน COVID-19 ครอบคลุมมากขึ้น ความอันตรายของโรคลดต่ำลง 2) ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งร้านอาหารและโรงแรมค่อยๆ ฟื้นตัวหลังความกังวลโควิด-19 เริ่มลดลง ประเทศต่างๆ มีมาตรการผ่อนคลายมากขึ้น และ 3) เงินบาทอ่อนค่าส่งผลดีความสามารถการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะอาหารเป็นสินค้าที่พึ่งพิงปัจจัยการผลิตในประเทศเป็นหลักจะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้การส่งออกไม่เป็นไปตามคาดการณ์ ได้แก่ 1) ราคาวัตถุดิบภาคเกษตร บรรจุภัณฑ์ น้ำมัน เพิ่มสูงขึ้นมาก กระทบต่อต้นทุนการผลิตและขนส่งของภาคอุตสาหกรรมอาหาร 2) การขาดแคลนแรงงาน กระทบต่อการเพิ่มผลผลิตและรับคำสั่งซื้อ และ 3) กำลังซื้อของผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางและระดับล่าง อ่อนตัวลงจากภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งปัจจัยด้านเงินเฟ้อน่าจะมีบทบาทมากที่สุดในการกดดันภาคอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากจะบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยตรง

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

สำหรับสินค้าส่งออกหลัก 10 กลุ่มสินค้า คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสินค้า โดยที่ 1) กลุ่มขยายตัวสูง (มูลค่าส่งออกขยายตัว >10%) ประกอบด้วย 5 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ ข้าว (+11.4%), ปลาทูน่ากระป๋อง (+12.7%), น้ำตาลทราย (+17.5%), กุ้ง (+12.3%) และสับปะรด (+10.2%) โดยข้าวขยายตัวดีจากเงินบาทอ่อนค่า และคาดว่าราคาส่งออกข้าวในปี 2565 จะทรงตัวอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ปลาทูน่ากระป๋องได้รับแรงหนุนจากเงินเฟ้อ ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง อาหารบรรจุกระป๋องจะได้รับประโยชน์จากภาวการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา ส่วนน้ำตาลทรายจะเริ่มฟื้นตัวตามอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

กลุ่มประเทศ CLMV ขณะที่กุ้งและสับปะรดได้รับปัจจัยหนุนจากการพื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว บริการร้านอาหาร และโรมแรม 2) กลุ่มขยายตัวปานกลาง (มูลค่าส่งออกขยายตัว >5% แต่ไม่ถึง 10%) ประกอบด้วย 4 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง (+6.2%), มะพร้าว (+6.4%), เครื่องปรุงรส (+7.9%) และอาหารพร้อมรับประทาน (+9.7%) กลุ่มนี้เป็นสินค้าที่โดดเด่นและมีศักยภาพของไทย แนวโน้มการเติบโตเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ โดยแป้งมันสำปะหลังเด่นตรงที่เป็นสินค้าคุณภาพดี ราคาไม่แพง ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีตลาดหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน ที่ระยะทางในการขนส่งไม่ไกล จึงมีศักยภาพในช่วงที่ต้นทุนค่าขนส่งสูง ผลิตภัณฑ์มะพร้าว (กะทิสำเร็จรูป) และเครื่องปรุงรส โดดเด่นจากการเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย (Authentic) ขยายตัวตามความนิยมอาหารไทยที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่วนน้ำมะพร้าวของไทยมีรสชาติหอมหวาน

ส่งออกอาหารปี64 โต 11.8%  ลุ้นปี 65 ฝ่าวิกฤติเงินเฟ้อ

มีภาพลักษณ์ความเป็นธรรมชาติ จึงเหมาะกับเทรนด์สุขภาพ ขณะที่อาหารพร้อมรับประทานเติบโตสอดรับกับพฤติกรรมการบริโภคของคนยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวก โดยเฉพาะอาหารพร้อมรับประทานเมนูไทยที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ และ 3) กลุ่มขยายตัวต่ำ (มูลค่าส่งออกขยายตัว <5%) คือ การส่งออกไก่ (+3.8%) ที่ได้รับผลกระทบจากตลาดหลักอย่างญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกไก่ 50% ของไทย)