พลิกเกมสู้ศึกค้าโลก ดันเกษตรอัจฉริยะลุย "ข้าว-มัน-ปาล์ม-ยาง-ทุเรียน สดใส"

08 ม.ค. 2565 | 07:24 น.

ส่อง เกษตรอัจฉริยะไทยพลิกเกมสู้ค้าโลก ปี 2565 สศก. ทำนาย “ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล ยางพารา น้ำมันปาล์ม สับปะรด ทุเรียน ลำไย มังคุด ตลาดสดใส ขณะประมงกำลังฟื้นตัว โควิด “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ในประเทศขาด ภาคอุตสาหกรรมแย่งวัตถุดิบ ส่งออกลดลง ค่าของเงินบาท -สภาพอากาศ ปัจจัยเสี่ยง

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ทำนายว่าประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นจาก 7.2 เป็น 9,600 ล้านคนภายในปี 2593 หรือเพิ่มขึ้น 33 ดังนั้นความต้องการสินค้าเกษตร จะเพิ่มขึ้นประมาณ 70% ในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปี1991 ซึ่งสะท้อนถึงความจำเป็นในการเพิ่มผลผลิต

 

เฉพาะอย่างยิ่งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญสำหรับความมั่นคงด้านอาหารของโลก เนื่องจากมีการบริโภคทั่วโลก 17% และการบริโภคเพื่อเป็นแหล่งโปรตีน 33% ภาคปศุสัตว์มีส่วนช่วยในการดำรงชีวิตของประชากรที่ยากจนถึงหนึ่งพันล้านคนในโลก ความต้องการผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เพิ่มขึ้นและการเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนา

 

การใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรของประเทศไทย

 

การผลิตนมทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 664 ล้านตัน (ปี2549) เป็น 1077 ล้านตัน (ปี2593) และการผลิตเนื้อสัตว์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 258 เป็น 455 ล้านตัน การผลิตปศุสัตว์มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแย่งชิงที่ดินและน้ำ และความมั่นคงทางด้านอาหาร

 

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตและคุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ปัจจัยทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้ได้แก่ พันธุ์อาหาร การจัดการ สภาพภูมิอากาศ โรคและพยาธิการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ในการผลิตสัตว์เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตได้เพียงพอต่อการบริโภค ส่งออก และสามารถลดต้นทุน

ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การบริหารของ  ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ  ได้นำปัญหาที่ไทยต้องเผชิญสถานการณ์จากปัญหารอบด้าน ปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงขึ้น ราคาผลผลิตค่อนข้างต่ำ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน แรงงาน ทุน ทรัพยากรเทคโนโลยีและการจัดการ ในแนวทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้น คือ การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะและการส่งเสริมให้มีการนำไปใช้จริงให้เกิดเป็นรูปธรรม

 

ทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ผลกระทบจากการแข่งขันในตลาดโลก ความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร (Food Security and Food Safety) ได้ถูกบรรจุ แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565-2566 สามารถต่อกรกับการค้าโลกได้หรือไม่ต้องติดตามต่อไป

 

ขณะที่ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)  เผยถึง สถานการณ์โลก ปี 2565  กับพืชสินค้าสำคัญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดีได้แก่ ข้าว มันสำ ปะหลัง และผลิตภัณฑ์ นํ้าตาลและผลิตภัณฑ์ยางพารา นํ้ามันปาล์ม สับปะรดและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ลำ ไยและผลิตภัณฑ์และมังคุด

 

เนื่องจากสินค้าของไทยมีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของตลาด เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น และประชากรของแต่ละประเทศได้รับการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน COVID-19 มากขึ้น  โดยประเทศคู่ค้าสำคัญยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรของไทยยังคงมีความสามารถในการส่งออกได้ ภาครัฐมีนโยบายในการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการค้าใหม่ ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ในตลาดต่างประเทศ

 

นอกจากนี้ การผลิตสินค้าปศุสัตว์ของไทยมีระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐานสากลสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ประกอบกับมีการดำ เนินมาตรการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ยังมีการระบาดของโรคสัตว์ในหลายประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสของประเทศไทยในการขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ไปประเทศคู่ค้าที่เชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานการผลิตของไทย สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

 

ตรวจเข้ม เฝ้าระวังโรคระบาด

คือ สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเพิ่งเริ่มฟื้นตัว และการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงมีอยู่ในหลายประเทศ โดยความต้องการสินค้าประมงในตลาดต่างประเทศยังคงมีอยู่ จากฐานลูกค้าเดิม หากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำ หรับบรรจุสินค้ามีทิศทางที่ดีขึ้น จะทำ ให้การส่งออกปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาจยังต้องประสบปัญหาบางประการ เช่น ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น

 

ส่วนสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศที่มีเพิ่มขึ้น ทำ ให้การส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังตลาดอาเซียนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีแนวโน้มลดลด

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 9 ฉบับที่ 3,746 วันที่ 6-8 มกราคม 2565