RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน

06 ม.ค. 2565 | 04:00 น.

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจ ดึงดูดการลงทุน   “พาณิชย” มั่นการลงทุนใน RCEP เพิ่มขึ้น ทั้งก่อสร้าง สุขภาพ ค้าปลีก การวิจัยและพัฒนา บริการสิ่งแวดล้อม แนะผู้ประกอบการศึกษากฎระเบียบ พฤติกรรมผู้บริโภค ช่องทางจำหน่ายทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์     

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก RCEP ได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากการช่วยลดต้นทุนการผลิตและโอกาสส่งออกสินค้าและบริการ รวมทั้งดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศ เพิ่มการจ้างงานให้กับแรงงานที่มีฝีมือและบุคลากรด้านวิชาชีพ และส่งเสริมบทบาทของไทยในฐานะห่วงโซ่การผลิตที่สำคัญของภูมิภาค

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน

 

โดยเฉพาะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในภาคบริการอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และการบิน ซึ่งความตกลง RCEP เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยและประเทศในภูมิภาค

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน

โดยการเปิดตลาดภาคบริการของประเทศสมาชิกจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ ก่อสร้าง ธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านสุขภาพ ภาพยนตร์และบันเทิง ประเภทเทคนิคตัดต่อภาพ/เสียง การผลิตแอนิเมชัน และค้าปลีก รวมทั้งยังช่วยสร้างโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าไปทำงานในประเทศสมาชิก RCEP อีกด้วย

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน

นอกจากนี้ การลดหรือยกเลิกกฎระเบียบและมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน จะช่วยดึงดูดการลงทุนในสาขาที่ไทยมีความต้องการและเกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิจัยและพัฒนา บริการสิ่งแวดล้อม การศึกษา ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนอากาศยาน/เรือขนาดใหญ่/อุปกรณ์ขนส่งทางราง และการผลิตหุ่นยนต์ เพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมและการสนับสนุนห่วงโซ่การผลิตในประเทศ ตลอดจนการต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมาย S curve ซึ่งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีการลงทุนในอาเซียนสูง และนักลงทุนไทยก็เข้าไปลงทุนในอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน

ทั้งนี้ ภูมิภาค RCEP ถือเป็นฐานการผลิตที่สำคัญและเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ถึงแม้ว่าทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่สำหรับการลงทุนในภูมิภาค RCEP ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2563 ได้รับเม็ดเงินลงทุน (FDI Inflow) มูลค่า 329,054 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของเม็ดเงินลงทุนของโลก

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน

โดยหลังจากนี้ความตกลง RCEP จะทำให้มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคขยายตัวและแข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการอำนวยความสะดวกและการลดอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาค ทำให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและกิจการภาคบริการต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน

“ขอให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร หรือผู้สนใจทำการค้าในตลาด RCEP เร่งใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ ทำความเข้าใจกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศสมาชิก และศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ตลอดจนช่องทางการจำหน่ายทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างแต้มต่อทางการค้าในตลาด RCEP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

RCEP พลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด  เพิ่มโอกาสธุรกิจบริการ ดึงดูดการลงทุน