ธปท. เตือนติดตามสถานการณ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้น

31 ธ.ค. 2564 | 02:42 น.

ธปท.เผยเดือนพ.ย.จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามา 9หมื่นคน -กนง.ประเมินด้านสาธารณสุขน่าจะรองรับผลกระทบได้ แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า   ภาพรวมเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2564 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนตุลาคม โดยการบริโภคดีขึ้นจากมาตรการที่ยังสนับสนุนต่อเนื่อง และการบริโภคสินค้าคงทน

 

ส่วนการลงทุนผงกหัวขึ้นมาจากเครื่องจักรอุปกรณ์ และ ในแง่ดัชนีการผลิตภาคบริการดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามาเพิ่ม 91,255คนจากการเปิดประเทศในเดือนพ.ย.

 

ธปท. เตือนติดตามสถานการณ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้น

 

ด้านการส่งออกสินค้า เพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า การผลิตนอกอุตสาหกรรม โดยการส่งออกขยายตัว 2.9% การส่งออกรถยนต์ไปอาเซียน ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง  และอิเล็กทรินิกส์  ส่วนปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเริ่มคลี่คลายลง

 

ซึ่ง 2เหตุผลดังกล่าวทำให้การผลิตอุตสาหกรรมดีขึ้น เช่น ชิ้นส่วนและแผงอิเล็กทรอนิกส์ มีคำสั่งซื้อล่วงหน้า  น้ำมันปิโตรเลียม  เดือนนี้ผลผลิตสินค้าเกษตรก็ดีขึ้นจากผลผลิตข้าว จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลาย การผลิตไก่และกุ้ง

สำหรับเครื่องชี้ภาคเอกชน 0.9%เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามสถานการณ์ระบาดที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องและแรงกระตุ้นของมาตรการภาครัฐทั้งมาตรการคนละครึ่ง  เราเที่ยวด้วยกัน และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้วย 

ธปท. เตือนติดตามสถานการณ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้น

หมวดที่ขยายตัวได้ดีคือสินค้าคงทน จากยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล ยอดจดทะเบียนจักรยานยนต์ ตามความเชื่อมั่นและรายได้ที่ทะยอยฟื้นตัว ส่วนหมวดสินค้าไม่คงทน มาจากสินค้าอุปโภคบริโภค ยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอ ยาสูบ การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากการผ่อนคลายมาตรการด้วย

นอกจากนี้การใช้จ่ายภาคบริการดีขึ้นทั้งโรงแรม ภัตตาคาร และการขนส่งผู้โดยสาร ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคเอกชนมีโอกาสจะปรับไปสู่ระดับก่อนโควิด สะท้อนสถานการณ์ที่เปราะบางอยู่ ด้านตลาดแรงงานที่ปรับดีขึ้นสะท้อนจากความรู้สึกเป็นบวกจากเดือนก่อนหน้า ในทางกลับกันยังมีจำนวนผู้ขอรับสิทธิว่างงานเพิ่มขึ้นจากภาคการค้า ภาคอสังหาริทรัพย์

สำหรับการลงทุนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากอุปสงค์ทะยอยฟื้นตัวความเชื่อมั่นก็ปรับดีขึ้น ส่วนดัชนีการลงทุนขยายตัวได้ 1.3%จากเดือนก่อน ทั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ ยอดขายวัสดุก่อสร้างแต่ภาพรวมภาคก่อสร้างยังเปราะบาง ค่อยๆฟื้นและปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ในส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐ ไม่รวมเงินโอนหดตัวเมื่อเทียยบช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีฐานสูงจากการเลื่อนเบิกจ่ายพ.ร.บ.งบประมาณ แต่เทียบค่าเฉลี่ยยังใกล้เคียง เห็นการเบิกจ่ายเตรียมรับมือกับสถานการณ์โควิดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายรัฐวิสาหกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคเป็นหลัก

ธปท. เตือนติดตามสถานการณ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้น

ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลเล็กน้อย 0.3พันล้านดอลลาร์จากขาดดุล 1.1พันล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม โดยการขาดดุลลดลงในเดือนพ.ย.มาจาก ดุลบริการรายได้และเงินโอนที่ขาดดุลน้อยลงตามรายได้การลงทุนที่เพิ่มขึ้น และดุลการค้าเกินดุลจากการส่งออกที่ดีขึ้น

สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในเดือนพ.ย.เฉลี่ยแข็งค่าจากเดือนตุลาคม โดยช่วงต้นเดือนเงินบาทแข็งค่าขึ้น ตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปรับตัวดี การแพร่ระบาดของโควิดในไทยคลี่คลายและมีการเปิดรับนักท่องเที่ยว แต่เงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างเร็วในช่วงปลายเดือนพ.ย.ซึ่งมาจากความกังวลของการระบาดโอมิครอน ที่ตลาดกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการพึ่งพานักท่องเที่ยงต่างชาติแต่เดือนธ.ค.ความกังวลต่อโอมิครอนยังคงอยู่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง(ณวันที่ 23.ค.) รวมถึงการส่งสัญญาณจะมีนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางประเทศหลักเนื่องจากเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงและนานกว่าที่คาดและเศรษฐกิจนอกประเทศฟื้นตัว  สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.71%ปรับเพิ่มจากราคาสุกร และผักได้รับผลกระทบชั่วคราว จากน้ำท่วมและราคาพลังงานที่สูง อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.29%เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนเดือนธ.ค.เศรษฐกิจยังทะยอยปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ความกังวลต่อโอมิครอนยังไม่ชัด ซึ่งจากการสอบถามหลายธุรกิจมองว่าดีขึ้น เช่น การผลิต การส่งออก ภาคบริการ และการค้า เป็นต้น   ส่วนด้านอสังหาริมทรัพย์ยังทรงตัว เพราะสถาบันการเงินยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ประกอบการการลงทุนยังฟื้นตัวช้า จากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และราคาวัสดุก่อสร้างสูง ทั้งนี้ ผลสำรวจความกังวลต่อสถานการณ์โอมิครอน พบว่า ภาคธุรกิจยังเป็นห่วงต่อกำลังซื้อ เปราะบาง หรือมาตรการที่อาจจะกลับมาเข้มงวดขึ้นและหากการระบาดส่งผลต่อคำสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งต้องจับตาระยะต่อไป

“สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ย. ปรับดีขึ้นจากการส่งออก การใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีการเปิดประเทศขณะที่ปัญหาซัพพลายดิสรับชั่นที่คลีคลาย ขณะที่เงินเฟ้อยังปรับขึ้น ส่วนเดือนธ.ค.เศรษฐกิจยังทยอยปรับดีขึ้นแต่ยังต้องติดตามปัญหาโอมิครอน ซัพพลายดิสรับชั่นและราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง”

ในแง่การระบาดจากการระบาดของคณะกรรมการนโยบาย(กนง.)เบื้องต้นมองว่าการระบาดน่าจะไม่ส่งผลกระทบในช่วงครึ่งปีแรก  เพราะมองว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาครึ่งปีหลัง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รวมผลกระทบในประมาณการเศรษฐกิจปีหน้าโดยมองเศรษฐกิจปีหน้าจะขยายตัว 3.4%และมองว่าการฉีดวัคซีนอาจจะช่วยลดการระบาดในแง่ด้านสาธารณสุขน่าจะรองรับผลกระทบได้ แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจากการระบาดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ภาพรวมไตรมาส 4น่าจะเป็นไปตามคาดทั้งปีที่ประมาณ 0.9%เพราะสัญญาณในเดือนธ.ค.ยังเห็นไม่ชัดแต่น่าจะเห็นผลกระทบของโอมิครอนไตรมาสแรกมากกว่า 

ในแง่ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ไทยไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นตาม เพราะเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยังช้าต่างประเทศ  ส่วนมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีความครอบคลุมทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ

 

ธปท. เตือนติดตามสถานการณ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้น