ตรวจสอบประกันรายได้เกษตรกร จ่ายส่วนต่าง "ประกันราคายางพารา" งวด 3 ล่าสุด

19 ธ.ค. 2564 | 04:17 น.

ข่าวดี “ณกรณ์” ผู้ว่าการ กยท. แจ้งคืบหน้า “ประกันรายได้ยางพารา” งวด 3 ประจำเดือนธันวาคม หลังปีใหม่ รอลุ้นเลย ยางพารา 3 ชนิด ชนิดใดจะได้เงินชดเชยสูงสุด เช็กที่นี่ อัพเดท ล่าสุด

ความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกร “ประกันรายได้ยางพารา” ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564  เห็นชอบให้ดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ใช้วงเงินรวมงบประมาณทั้งสิ้น 10,065,687,645.28 บาท หรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท. ) ทั้งบัตรสีเขียว และบัตรสีชมพู

 

 

สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง ที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง กับ กยท. ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน 1,880,458 ราย เกษตรกรชาวสวนยาง เช็กสิทธิ์ ผ่านลิงค์ https://www.raot.co.th/gir/index/   และตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ https://chongkho.inbaac.com/  บัญชี ธ.ก.ส. ตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดมีความคืบหน้าแล้ว

 

ณกรณ์ ตรรกวิรพัท

 

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า  โครงการประกันรายได้ยางพารา ผ่านมา 2 งวดแล้ว โดย ธ.ก.ส. จ่ายเงินไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา ในรอบของเดือนตุลาคม และ เดือนพฤศจิกายน  จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 1,439.30 โดย แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด รายละไม่เกิน 25 ไร่ โดยกำหนดราคาประกันรายได้ ดังนี้

 

  • "ยางแผ่นดิบคุณภาพดี" ราคา 60 บาท/กิโลกรัม

 

  •  "น้ำยางสด" (DRC 100%) ราคา  57 บาท/กิโลกรัม

 

  • "ยางก้อนถ้วย" (DRC 50%) ราคา 23 บาท/กิโลกรัม

 

นายณกรณ์ กล่าวว่า สำหรับในส่วน “ประกันรายได้ยางพารา” ในงวดที่ 3 ประจำเดือนธันวาคม จะต้องรอให้ครบ 1 เดือน ก่อนเพื่อที่จะหาราคามาเคาะจ่ายเงินชดเชยในส่วนประกันราคายางพารา คาดว่า หลังปีใหม่ จะเรียกประชุมทันที เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนทั้งบัตรสีเขียว และบัตรสีชมพู ซึ่งแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง กับ กยท. ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน 1,880,458 ราย โดยเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้วรายละไม่เกิน 25 ไร่

 

พลิกแฟ้มประกันรายได้ยางพารา 2 งวด

 

 

กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กก. (ผลผลิตยางแห้ง/ไร่/เดือน) X จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่) และ ผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กก.

 

(ผลผลิตยาง/ไร่/เดือน) X จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่) 4.3) กำหนดระยะเวลาประกันรายได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565) 4.4) กำหนดเงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน ดังนี้ เงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน = (ราคายางที่ประกันรายได้ –ราคากลางอ้างอิงการขาย ) X ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง  

 

ทั้งนี้ ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนดราคากลาง อ้างอิง ประกาศทุก 1 เดือน (บาท/กิโลกรัม) พิจารณาจาก ราคาตลาดกลางยางพารา,  ตลาด Singapore Exchange(SGX) , ตลาด JPX TOCOM , ตลาดเซี่ยงไฮ้ และปัจจัยอื่น ๆ โดยใช้ข้อมูลในรอบเดือนที่ชดเชยส่วนต่าง ประกอบการพิจารณาเพื่อมาจ่ายชดเชยเพื่อเป็นรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

 

สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง  เช็กสิทธิ์ ผ่านลิงค์ https://www.raot.co.th/gir/index/ หรือ สามารถตรวจตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ ลิงค์ ของ ธ.ก.ส https://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง เงินเข้าหรือยัง แต่ถ้ามีปัญหาขอให้สอบถามได้ที่ กยท. หรือ ธ.ก.ส. สาขาใกล้บ้าน ได้ตามเวลาราชการ