ชูวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีฮาลาลไทยยกระดับเศรษฐกิจสู่เวทีโลก

16 ธ.ค. 2564 | 06:19 น.

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกพันธมิตรจัดงาน Thailand Halal Assembly 2021 ชูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลไทยยกระดับเศรษฐกิจสู่เวทีโลก

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) และประธานจัดงาน Thailand Halal Assembly 2021 เปิดเผยว่า ศวฮ. ได้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาของประเทศอิสลาม หรือ Standard and Metrology Institute of Islamic Counties (SMIIC) จัดงานฮาลาลขึ้นเป็นปีที่ 8 ภายใต้ชื่องาน “Thailand Halal Assembly 2021 : A VIRTUAL WAY FOR ACTUAL HALAL WORLD” 
หรืองานประชุมวิชาการนานาชาติและแสดงสินค้าฮาลาล ปีที่ 8 ภายใต้แนวคิด วิถีเสมือนจริงสู่โลกฮาลาลที่แท้จริงในรูปแบบออนไลน์เสมือนจริง เพื่อสนับสนุนมาตรการของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 (Covid-19

สำหรับการจัดงานดังกล่าว จะเป็นงาน Virtual Event รูปแบบใหม่ ยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี และยังยิ่งใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่
IHSATEC 2021 : งานประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลในปี 2021 พูดคุยกับ Speaker ชั้นนำ ในหัวข้อที่น่าสนใจหลากหลาย Session
14th HASIB : ร่วมฟังทิศทางของอุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาลนานาชาติเข้าร่วมมากถึง 48 ประเทศ
IHSACC2021 : ประชุมสัมมนามาตรฐานและการตรวจรับรองฮาลาลระดับโลก
TIHEX2021 : โชว์แสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ 2021 กว่า 100 รายการ
ทั้งนี้ การประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล (The International Halal Science and Technology Conference (IHSATEC) 2021) และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาล (The 14th Halal Science Industry and Business (HASIB)) 

และครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 14 ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล เพื่อให้วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์มุสลิม และมิใช่มุสลิม นำพาไปสู่การพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลต่อไป รวมถึงการนำเสนอผลงานวิชาการและวิจัย จาก 7 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน และประเทศไทย 

ชูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลไทยยกระดับเศรษฐกิจไทยสู่เวทีโลก
ซึ่งได้คัดสรรผลงานที่ดีและมีประโยชน์มาเพิ่มความรู้ให้กับผู้ร่วมงานอย่างอัดแน่น และสำหรับการประชุม The  International Halal Standard and Certification Convention (IHSACC2021) ภายใต้แนวความคิด “Challenges and Opportunities of Halal Standards and Conformity Assessment Activities after COVID-19: The Next Normal” 
ได้เชิญกูรูผู้เชี่ยวชาญชั้นนำกว่า 16 ท่าน มาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะทิศทางสู่อนาคต ของอุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาล ซึ่งคาดกว่าจะมีนานาชาติเข้าร่วมฟังมากถึง 48 ประเทศ 
และสำหรับนักช้อป ห้ามพลาดในการจัดแสดงสินค้าฮาลาลออนไลน์ (The Virtual Thailand International Halal Expo 2021, TIHEX2021) กว่า 200 ผู้ประกอบการ ที่มีผลิตภัณฑ์สินค้าฮาลาลนานาชาติ ให้นักช้อปได้เลือกสรรกว่า 100 รายการ ทั้ง อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เครื่องสำอาง เสื้อผ้าและแฟชั่น สถาบันการเงินอิสลาม การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรของชาวมุสลิม เป็นต้น ซึ่งผู้ร่วมงานจะได้เลือกซื้อสินค้า สร้างเครือข่าย และการจับคู่ธุรกิจได้อย่างอิสระ
รศ.ดร.วินัย กล่าวต่อไปว่า ตลาดมุสลิมมีความสำคัญมากขึ้น จากปัจจัยด้านจำนวนประชากรและศักยภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศมุสลิม โดยปัจจุบันมีชาวมุสลิมทั่วโลกประมาณ 2 พันล้านคน จากประชากรรวม 7.8 พันล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 29% จากประชากรทั่วโลก และคาดว่าในปี 2593 จะมีชาวมุสลิมจำนวน 2.8 พันล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 29.67% ของประชากรโลกทั้งหมด 
และปัจจุบันมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลและอาหารฮาลาลในแต่ละปีมีมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นประมาณ 13 ล้านล้านบาท สำหรับประเทศไทยมีมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลและอาหารฮาลาล อยู่ที่ 400,000 ล้านบาท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 มูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลและอาหารฮาลาล เติบโตกว่า 10% ตามความต้องการอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีสูงขึ้น
ไฮไลท์ในปีนี้กับเรื่อง Plant-based foods หรืออาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก ซึ่งใช้วัตถุดิบที่ทำจากพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น พืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เห็ด สาหร่าย เป็นต้น แต่ดัดแปรและพัฒนารสชาติ กลิ่น สีสัน หน้าตาให้เหมือนผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งปัจจุบัน Plant-based foods เป็นธุรกิจที่เป็นที่น่าจำตามองมียอดจำหน่ายทั่วโลกถึง 166 ล้านเหรียญ เติบโตกว่า 10 - 20% ในทุกๆ ปี 
แต่คนทั่วไปมีความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ Plant-based foods ซึ่งมาจากพืชนั้นเป็นฮาลาล แต่จริงๆ แล้ววัตถุดิบ (ingredient) แต่งกลิ่น สี รส ต่างๆ ซึ่งทาง ศวฮ.ได้ตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการแล้ว พบว่ากว่า 186 ตัวไม่เป็นฮาลาล ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้เราจะร่วมสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการ Plant-based foods และหันมาให้ความสนใจในการผลิต Plant-based foods ให้เป็นฮาลาล 100%