รู้แล้วถึงกับอึ้ง! กูรูข้าว เปิดปมปัญหาแท้จริงราคาข้าวตกต่ำ

12 พ.ย. 2564 | 02:51 น.

เปิดปมปัญหาราคาข้าวตกต่ำ จาก กูรูข้าว “สถาบันคลังสมองแห่งชาติ” ชี้ “จำนำข้าว” หรือ “ประกันรายได้ข้าว” ปลายทางจุดจบเดียวกัน อุปนายสมาคมชาวนาฯ แฉต้นเหตุทำไมข้าวล้นประเทศ “สุเทพ” จี้คู่ขนานอุ้มราคาข้าวด่วน “ สภาเกษตรฯ แนะนายกรัฐมนตรีต้องแก้ปัญหาอย่าให้กระทรวงตีกัน

โครงการประกันรายได้ข้าว ก้าวสู่เป็นปีที่ 3 ชาวนาทั้งประเทศ เผชิญต้นทุนที่ราคาสูง ค่าปุ๋ยแพง ค่าครองชีพหายจากปัญหาต่างๆ มีลูกหลานตกงานกลับสู่บ้านจำนวนมาก ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาของรัฐบาลก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน รัฐบาลเองค่าใช้จ่ายมากมายที่จะต้องช่วยเหลือเพื่อคนทุกอาชีพ ไม่ใช่เกษตรกรเพียงอย่างเดียว  วันนี้จะฉายปัญหาที่แท้จริงราคาข้าวตกต่ำ ในรอบ 10 ปี เกิดขึ้นจากอะไร จากนี้ไปสถานการณ์จะเป็นอย่างไร

 

  • ลุ้นรัฐเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ

รศ.ดร.สมพร อิศวิลานนท์

 

รศ.ดร.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ  กล่าวถึงโครงการ  “ประกันรายได้ข้าว” รัฐบาลเจอปัญหาซ้อนวิกฤติ ที่ทำให้ไม่สามารถนำเงินมาจ่ายให้ชาวนาได้ ทั้งโควิด รัฐบาลใช้เงินไปจำนวนมาก โควิดไม่ใช่อยู่แค่ระยะสั้นๆ เชื่อว่ายังจะลากไปอีกนาน ต้องใช้จ่ายอีกมาก รัฐบาลไม่แน่ใจว่าจะขยายเพดานหนี้หรือไม่ ถ้าขยายยังมีช่องว่างอยู่ แต่ถ้าไม่ขยายอีกทางเลือกหนึ่งรัฐบาลก็จะพยายามหาเงินที่เหลือใช้จากโครงการอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ใช้ โยกมาใช้ในโครงการประกันรายได้ข้าวก่อนในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

 

"แต่ว่าในช่วงต่อไปนี้การจ่ายเงินให้กับเกษตรกรจะต้องจ่ายตลอดเวลา ผมคิดว่ารัฐบาลยังโชคดีที่ไม่ต้องจ่ายในเรื่องโครงการประกันรายได้ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากราคาสูงกว่าราคาประกัน เหลือแต่ข้าว  และที่น่าเป็นห่วงก็คือ เงินที่จ่ายค่าปรับปรุงข้าว เป็นเงินที่จำนวนมาก จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน หากคิดคำนวณ ครัวเรือนละ 2 หมื่นบาท ก็เยอะพอสมควร แล้วถ้าจะจ่ายตรงนี้ จะหงายหลัง เพราะรัฐบาลไม่มีเงิน ซึ่งจ่ายตรงนี้ใช้งบ 5.8 หมื่นล้านบาท สูงมาก"

 

“ส่วนในโครงการประกันรายได้ ประเมิน ข้าวหอมมะลิ ราคาจะลงมา เช่นเดียวกับข้าวเหนียว รัฐบาลจะจ่ายส่วนต่าง ใช้เงินประมาณกว่า 2 หมื่นกว่าล้าน  แต่ถ้าเราไม่ดึงซัพพลายข้าวออกจากระบบ ราคาก็จะตกไปเรื่อยๆ  แล้วการที่รัฐบาลประกาศราคาอ้างอิงในราคาสูงชาวบ้านก็ไม่ยอม แล้วมาร้องเรียน เพราะราคาอ้างอิงสูง ขายข้าวได้ต่ำ นี่จะเป็นข้อปัญหา แต่ความจริงชาวนาขายข้าวสด ข้าวความชื้นสูง และเปอร์เซนต์ข้าวหักเมื่อไปถึงโรงสี หรือลานข้าว

 

ความชื้นจะต้องถูกหัก แล้วถ้าเกี่ยวฝนตก จะอยู่ประมาณ 25-26% จะเหลือราคาข้าวที่ชาวนาขายได้จริงก็ประมาณ กว่า 6,000 บาท แต่เกษตรกรก็ไม่เข้าใจ รัฐบาลก็ไม่ได้พยายามที่จะชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจ นี่คือปัญหาเฉพาะหน้าที่เกษตรกรเดือดร้อน เนื่องจากน้ำท่วม แล้วถ้าเกี่ยวข้าวแช่ 2 คืน ความชื้นอาจจะสูงกว่า 30% ก็โดนหักราคาอีก ถึงขายได้ราคา 5,000-6,000 บาท”

 

  • เทียบ “จำนำ”  กับ “ประกันรายได้”

 

หากเปรียบเทียบ “โครงการจำนำข้าว” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้งบประมาณปีละ 2 แสนล้านบาท คือ 5 ฤดู ใช้ไปประมาณ 8 แสนล้านบาท แต่ขายข้าวได้ 2 แสนล้านบาท ก็ขาดทุน 6 แสนล้านบาท ส่วน “ประกันรายได้ข้าว" ใช้น้อยกว่าก็จริง แต่ว่าน้อยกว่าไม่มาก เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ "ประกันรายได้ข้าว"  พรรคประชารัฐ โครงการปรับปรุงคุณภาพข้าว พ่วงคู่ขนานที่จะมาดึงข้าวออกจากระบบ ถ้านำงบประมาณมารวมกัน ที่จะต้องใช้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประมาณ แสนกว่าล้านบาท รัฐบาลจะไม่มีเงิน

 

“แต่ถ้าขยายเพดานหนี้ได้ รัฐบาลจะหายใจได้คล่องขึ้น แต่ถ้าไปดึงเงินมาจากโครงการอื่นๆ ก็จะทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาในส่วนอื่น เหมือนกัน  แล้วก็จะไปดึงงบประมาณมาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะปลายเดือน พฤศจิกายน ถึงมกราคม ข้าวหอมมะลิเกี่ยว รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินส่วนต่างชดเชยราคาข้าวค่อนข้างมาก  ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิ หรือข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ และข้าวเหนียว ราคาก็จะตกต่ำ”

 

รศ.ดร.สมพร กล่าวอีก แต่อีกด้านหนึ่งจะมีคนมาช้อนซื้อ ราคาก็จะปรับตัวขึ้น แต่ถ้าในเขตชลประทานปลูกข้าวไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งปี ไม่ต้องเร่งซื้อเหมือนข้าวหอมมะลิ ที่ปลูกได้แค่ครั้งเดียว ถึงแม้ว่ารัฐบาลทำโครงการมา 2 ปีแล้ว นี่คือราคาจริงในตลาดไม่ดีขึ้นมาเลย ราคายืนพื้นแบบนี้ นี่คือเหตุผลโครงการประกันรายได้ ถ้าพวกโรงสี ผู้ส่งออกจับทางถูกก็จะไม่ตบราคาชึ้น เพราะตบราคาขึ้นก็เป็นต้นทุนเพิ่มขึ้น ก็จะส่งออกได้น้อยลง

 

"แต้ถ้าตบราคาลง ซึ้อวัตถุดิบในราคาที่ถูกรัฐบาลก็จ่ายส่วนต่างไป รัฐบาลก็กลายเป็นผู้อุดหนุนการส่งออกทางอ้อม นี่คือจุดบอดของโครงการประกันรายได้ และราคาอ้างอิงมาจากตรงไหน เพราะประเทศไทยไม่มีตลาดกลางสินค้าอ้างอิงล่วงหน้า ถามว่ากระทรวงพาณิชย์ใช้ราคาอ้างอิงอย่างไร หรือการนำราคาจากโรงสีมาอ้างอิง หรือการสืบราคาจากกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานจังหวัดต่างๆ ได้มาอย่างไร ไปเอาราคาจากโรงสีที่ไหน เพราะราคาแต่ละจังหวัดแตกต่างกัน"

 

  • ฟันธงส่งออกข้าวต่ำกว่าปีที่แล้ว

อย่างวันนี้ที่ราคาข้าวตก ข้าวเหนียวตกที่ จังหวัดพะเยา เพราะไม่มีพ่อค้าไปรับซื้อ การขนส่งไปไม่ได้ เพราะเส้นทางน้ำท่วม ทำให้พ่อค้าเข้าไปซื้อบางลง ผมคิดว่าข้าวส่งออกในช่วงนี้น่าจะส่งออกได้ปกติแล้ว ซัพพลายมีสะสมอยู่ โรงสีขนาดใหญ่ จะเป็นปัญหา  หากถามว่าราคาข้าวจะปรับราคาขึ้นไหม คงไม่เป็นปรับเพราะอินเดีย ยังขายได้ 350 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ยอดส่งออก 9 เดือน 14 ล้านตัน แล้วเหลืออีก 3 เดือน คาดว่าจะได้ประมาณร่วม 3 ล้านตัน เพราะฉะนั้นคาดว่าอินเดียจะส่งออก 17 -18 ล้านตัน

 

แต่ของประเทศไทย 9 เดือนที่แล้ว ส่งออก   แล้วผมไห้ส่งออก เดือนละ 5 แสนตัน ก็คือ 1.5 ล้านตัน  บวก 3.8 ล้านตัน จะได้ปริมาณ 5.2-5.3 ล้านตัน ต่ำกว่าปีที่แล้ว ปีที่แล้ว 5.75 ล้านตัน การส่งออกจะหดตัวลงไปเรื่อยๆ เพราะว่านโยบายจับชาวนา หรือ “เกษตรกรแช่แข็ง”  ไม่มีการปรับตัว แล้วจะปลูกข้าวเพื่อเอาเงินรัฐบาล

 

ดังนั้นแรงจูงใจที่จะไปทำอย่างอื่นปรับเปลี่ยนไม่มีเลย รัฐบาลไม่ได้ให้กลไกอื่นๆ แล้วหากทำในระยะยาว ภัยอันตรายก็ไม่ต่างจากโครงการรับจำนำข้าว ต้องใช้เงินออกไปเหมือนกันเพียงแต่ว่า ไม่ต้องซื้อข้าวเก็บ อุดหนุนส่งออกทางอ้อม แล้วพ่อค้าก็อาศัยกลไกตบราคาลง ไม่มีทางตบราคาขึ้นเด็ดขาด

 

รศ.ดร.สมพร  กล่าวว่า ในอนาคตการเกษตรจะเป็นตัวถ่วง เพราะไม่ได้ให้ภาคเกษตรให้แข็งแรง แต่ถ้าเราเกษตร 4.0 จะเปลี่ยนแพลตฟอร์มใหม่ พอจะปฏิบัติจริงตามนโยบายรัฐ เราใช้เงินแต่ละ 1 แสนล้าน ถึง 1.5 แสนล้านบาท จ่ายเงินกินเปล่าหมดเลยหายไปในระบบ จะยกรายได้ให้เกษตรกรหลุดพ้นความยากจนได้อย่างไร แล้วจะจ่ายไปได้นานอีกแค่ไหน  จะอยู่ได้อย่างไรในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ใครจะเป็นคนจ่าย เพราถ้าจ่ายแต่ตรงนี้ จะสูญเสียโอกาสอื่น แล้วนโยบายอย่างนี้มองดูแล้วจะไปไม่รอด

 

ดังนั้นทางออก ควรจะให้เกษตรกรายเล็ก จับกันเป็นกลุ่ม รายได้ส่วนหนึ่งมาจการายได้นอกภาคเกษตร แต่ปีนี้การจ้างงานอื่นหดตัวลง รายได้หดตัวลง แต่ไม่มีโควิด ทำงานนอกภาคเกษตร รัฐต้องไปทำวิสาหกิจชุมชน มีการจ้างงานในชุมชน จะเป็นตัวในชลบท ต้องทำการเกษตรให้เป็นพาร์ทไทม์ แล้วให้มีรายได้อื่นเลี้ยงตัวเองด้วย ก็จะทำให้มีรายได้ 2 ทาง จะทำให้เกษตรกรเติบโตขึ้น หลุดพ้นจากความยากจนได้ แต่เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ไม่เห็นหนทางที่จะทำให้เกษตรกรหลุดพ้นความยากจนได้ แต่ยังเพิ่มด้วยซ้ำไป

 

  • ผวาปลุกผีจำนำข้าวรอบใหม่

 

ในอนาคตหากมีการเลือกตั้ง ประชานิยมจะรุนแรงขึ้น แต่ที่จับตามองเป็นห่วงพรรคเพื่อไทย จะใช้จำนำข้าว เป็นเครื่องมือที่จะซื้อใจชาวนาเข้าร่วมโครงการในราคาสูง เพราะได้ผล แล้วใครจะหยุดยั้งหากเป็นนโยบายเมื่อเข้าเป็นรัฐบาลที่จะต้องทำ แล้วนโยบายแบบนี้ไม่ว่าจะประกันราคาหรือจำนำข้าว นักการเมืองจะชอบเพราะ ง่าย แล้วเกษตรกรก็ชอบเพราะได้เงินจ่ายมาระยะสั้นแต่ ถ้าพูดถึงภาคเกษตรกรไทย การแข่งขัน ไปไม่ได้ แม้ว่าภาคเกษตรจะมีจีดีพี แค่ 10% คนอยู่กว่า 10 ล้านคน ทั้งที่ขาดแคลนแรงงาน ยังย่ำอยู่กับที่ ความคิดของรัฐบาลนโยบายไม่เป็นระบบ เอาคะแนนเสียงเป็นที่ตั้ง แล้วเป็นเหมือนที่บอกว่าโครงการนี้จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน

 

“โครงการประกันรายได้ข้าว” เป็นนโยบายเหมือนใส่กางเกง แต่ไม่ใส่เสื้อ นโยบายไปไม่เต็มรูปแบบ เพราะความจริงต้องมีกองทุนมาช้อนซื้อในช่วงที่ราคาข้าวตก จะต้องมีหน่วยงานไปทำตลาดต่างประเทศ  ไปจะขายที่ไหน แต่เราดึงมาไม่เต็ม จะเกิดปัญหา แล้วรัฐบาลก็ทำเต็มสูบ ก็ยังเลิกไป ส่วนอียู ก็มีโครงการอุดหนุน แต่ไม่ยอมให้มีผลผลิตเพิ่ม  หรือขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น แต่ของไทยตรงกันช้าม ผลผลิตเพิ่ม พื้นที่เพิ่ม  แล้ว เกษตรกร ตอนนี้เหมือน เสพติดไปแล้ว จะต้องค่อยๆ ถอย จากนโยบายเหล่านี้ จะเลิกทันทีทันใดไม่ได้หากเลิก รัฐบาลล้มเลย อีกด้านหนึ่งจะต้องพยายามกระจายกลุ่มคนเหล่านี้ไปสู่เกษตรในรูปแบบอื่นไม่ใช่หันมาแต่ปลูกข้าว พยายามลดพื้นที่ให้ได้”

 

  • ประเมินผลผลิต อนาคตข้าว

เกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์

 

ด้านนายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า  ในปีนี้ข้าวราคาตก เนื่องมากจาก ผลผลิตปีนี้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ จากที่ประสบปัญหาภัยแล้งมา 3 ปีติด  บวกกับการที่ค่าเงินบาทที่ผ่านมาแข็งค่า ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ซึ่งในปัจจุบันค่าเงินอ่อนค่าลง ผลผลิตข้าวเปลือกกลับมาปกติ ราคาข้าวปรับตัวลดลง  มีผลทำให้การแข่งขันในด้านตลาดส่งออกดีขึ้น

 

ถือเป็นปัจจัยบวก และทำให้ลูกค้ากลับมา “สถานการณ์ต่างๆกำลังรีเซ็ตและอยู่ในช่วงปรับสมดุล”   แต่ก็กลับต้องมาสะดุดเพราะมีปัจจัยลบด้านการขนส่งสินค้าออกต่างประเทศ เรื่องตู้ เรื่องเรือ ไม่งั้นช่วงนี้เราก็คงจะส่งออกกันได้อย่างเต็มที่ โรงสีก็สามารถซื้อขายหมุนเวียนได้คล่องตัวมากขึ้นกว่านี้ จะส่งผลให้สามารถดึงผลผลิตที่ออกสู่ตลาดได้ดียิ่งขึ้น เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการค้าข้าวเปลือก

 

ส่วนผลผลิตข้าวในปีนี้ ข้าวหอมมะลิ ดีขึ้นกว่าในปีทีผ่านมา  ราคาข้าวหอมมะลิเกี่ยวสด 8,000+  เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วราคาข้าวหอมมะลิเกี่ยวสด ปี 2563/64 อยู่ที่ 9,000-9,500 บาท/ตัน เป็นราคาต่ำกว่าปีที่แล้ว ในตอนต้นช่วงฤดู แต่ตอนนี้เริ่มดีขึ้นในเรื่องคุณภาพของข้าวเปลือก แต่ก็มีปัญหาในพื้นที่ข้าวล้มจมน้ำ อยู่บ้าง ทำให้ไม่ได้ราคา ตอนนี้มีปัญหาส่วนหนีน้ำท่วม น้ำขังนำ ทำให้รถเกี่ยวลงไปเกี่ยวไม่ได้ แต่ข้าวชูรวงพ้นน้ำ ถ้าสามารถเร่งระบายน้ำออกสู่แปลงนา ภาครัฐมาช่วยชาวนาได้ลงเกี่ยวได้ ไม่งั้นข้าวส่วนนี้จะแห้งกรอบ ทำให้ข้าวไม่ได้คุณภาพ เวลาขายก็ไม่ได้ราคา คุณภาพข้าวด้อยอีก แล้วหากจะไปหวังเงินประกันภัยก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

 

ส่วนเรื่อง "จำนำยุ้งฉาง" เป็นโครงการที่เกษตรกรทำอยู่แล้ว เป็นประจำ นโยบายตรงนี้ยังคงมีอยู่ แต่ว่าในปีที่แล้วรัฐบาลก็มีโครงการ เกษตรกรเก็บข้าวไว้ แต่พอมาถึงกลางปี 2564 ข้าวที่เก็บไว้ขายไม่ได้ราคา ทำให้เกษตรกรบางส่วนก็มีความคิดว่าเก็บก็ไม่ได้ราคาจะเก็บทำไม ก็คิด เพราะ 2 ปีที่ผ่านมาตากเก็บแล้วไม่ได้ราคา เมื่อมาขายปลายปี ก็ได้ราคา 10 บาท+ แค่นั้นเอง แล้วไปเสี่ยงเรื่องคุณภาพของข้าวอีกที่จะโดนตัดราคาลงไปอีก เกษตรกรก็ต้องพยายามทำความเข้าใจในเรื่องนี้อยากจะขายข้าวสด หรือข้าวแห้ง จะต้องนำไปวิเคราะห์จะทำอย่างไรให้ประโยชน์จากการขายข้าวได้ราคาสูงสุด

 

  • “คุณภาพของข้าวแห้ง” เป็นอย่างไร

 

"เรามักจะได้ยินคำว่า “เอาข้าวไปตากแห้งก่อน จึงจะขายได้ราคา” ซึ่งในความเป็นจริงยังมีเรื่องของ “คุณภาพของข้าวแห้ง” ที่มีผลกับราคาอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการข้าวแห้งที่ได้ราคาดี  จะต้องดูแลขั้นตอนการตากความชื้นให้เหมาะสม  ไม่ให้ข้าวแห้งนั้นกรอบป่น และขาวซีด  จนทำให้%ของต้นข้าวสารตกลงหรือน้อยลงกว่าที่ควรจะได้ เช่นต้นข้าวสารที่ดีควรจะอยู่ที่ 42 กรัม แต่หากตากไม่ดี เหลืออยู่ที่ 25 ถึง 30 กรัม มูลค่าข้าวจะลดลง และถ้ายังต่ำไปกว่านั้นมูลค่าจะยิ่งลดลงไปอีก ซึ่งเรื่องนี้ชาวนาที่เคยตากข้าวน่าจะทราบดี 


ดังนั้นหากจะตากข้าวให้แห้งและได้ราคา เพราะไม่มีความจำเป็นเร่งรีบต้องขาย  และตั้งใจเก็บ ไม่รีบขายรอราคาให้สูงขึ้น  ก็จำเป็นที่จะต้องทำอย่างพิถีพิถัน  ไม่ใช่หวังแค่ว่าให้แห้งเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าป่นมีแต่เมล็ดหักมาก ข้าวซีดขาวไม่มีมัน ก็จะทำให้ไม่ได้ราคาอย่างที่คาดหวัง  ส่วนในเรื่องของความชื้น ข้าวสด ข้าวแห้ง มูลค่ามีความต่างกันอย่างไรนั้น ในความเป็นจริงหากเปรียบเทียบระหว่างขายข้าวเกี่ยวสด กับนำข้าวไปตากแห้ง  เมื่อลองนำมาคำนวณดู โดยนำข้าวสดที่ความชื้นประมาณ 28% ไปตาก  จะพบว่าน้ำหนักจะลดลง จะเหลือไม่ถึง 1,000 กก.  จะเหลือเพียงประมาณ 800 กก. เท่านั้น  ความต่างนี้เกิดจากที่ข้าวสดมีน้ำหนักของน้ำและความชื้นรวมอยู่  พอความชื้นระเหยออกไปก็จะเหลือแต่น้ำหนักของข้าว 


ยกตัวอย่าง หากนำข้าวสด 1 ตัน ที่ความชื้น 28% ไปขายได้ราคา ที่กิโลละ 8 บาท ก็จะได้เงิน 8,000 บาท  และหากนำข้าวเปลือกสด 1ตันที่ความชื้นประมาณ 28% ไปตากเป็นข้าวแห้งให้ได้ความชื้นไม่เกิน 15% ก็จะได้ข้าวแห้งที่มีนำ้หนักประมาณ 800 กก. เมื่อนำไปขาย ที่ราคา กก. ละ 10 บาท หรือตันละ 10,000 บาท  ก็จะได้ราคาประมาณ 8,000 บาท 

 

สมมุติ ข้าวเปลือกแห้งราคา 10,000 บ./ตัน หลักการคือ มาตรฐานของข้าวเปลือกแห้งอยู่ที่ความชื้นไม่เกิน 15%  ความชื้นที่เกิน 15% ขึ้นไป  ทุก 1% ที่เกินจะถูกหัก นน. 15 กก. ต่อ 1% ความชื้นที่เกิน หรือหากคิดเทียบเคียงเป็นเงิน 1%ความชื้นเท่ากับ 150 บาท ทุก 1% ความชื้นที่เกิน 15% ขึ้นไป จะถูกหัก%ละ 150 บาท ไม่ว่าโครงการประกันรายได้ หรือโคงการใดๆที่ผ่านมาที่ภาครัฐใช้ช่วยเหลือเกษตร  ก็ใช้เกณฑ์ความชื้นมาตรฐานข้าวแห้งไม่เกิน 15% เป็นเกณฑ์ทั้งสิ้น

 

หรือแม้แต่ "โครงการจำนำยุ้งฉาง" ก็ใช้มาตรฐานข้าวแห้ง ความชื่นไม่เกิน 15% เป็นฐานเช่นกัน  และยังมีการใช้ %ของต้นข้าวเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าข้าวที่เกษตรนำไปจำนำด้วย เช่น %ต้นข้าว 42กรัม หรือ30กรัม ก็มีมูลค่าต่างกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่เราพิจารณาคำนวณดูว่า อย่างไหน จะได้เม็ดเงินที่มากกว่ากัน

 

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องข้าวอธิบายยากน่าดู คงจะเข้าใจยาก ทั้งๆที่อยู่กับข้าวมาตลอด  ขึ้นอยู่กับมุมมองแต่ละคน  อีกทั้งในแต่ละปีก็มีปัจจัยเปลี่ยนแปลงตลอด  จะต้องศึกษาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไร เริ่มต้นจากใคร ตรงไหน อย่างไรให้อยู่ได้ในสถานการณ์ต่างๆ ไม่รู้สิอยู่ที่ใคร และใครจะช่วยสนับสนุน ช่วยประคองจากความอ่อนล้าให้เดินต่อ ไม่วนเวียน เข้มแข็ง แข็งแรง หรือจะอ่อนแอแพ้ไป เราจะหันหลังลงเวทีแล้วเดินหนี หรืออย่างไร แต่ทำไมคนอื่นกลับมาแทนที่บนเวทีเพราะอะไร

 

 

  • กระทุ้งจำนำยุ้งฉาง ลดซัพพลาย ดึงราคา

สุเทพ คงมาก

 

ด้านนายสุเทพ คงมาก  นายกิตติมศักดิ์สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) กล่าวว่า จากราคาข้าวที่ตกต่ำ ก็อยากให้ รัฐบาล โดย ธ.ก.ส. เร่งมาตรการจำนำยุ้งฉาง และสินเชื่อรวบรวม ออกมาให้เร็วที่สุด  เพราะราคาข้าวในภาคอีสาน หากให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรให้รวบรวมข้าว ไม่เช่นนั้นราคาข้าวจะตกต่ำกว่านี้ ต้องรีบทำโดยด่วนที่สุด แล้วตอนนี้ปัญหาไม่ติดขัดอะไรแล้ว ครม.ก็เห็นชอบแล้ว ระเบียบ ธ.ก.ส. ส่วนกลางจะต้องรีบออกมาที่ ธ.ก.ส.จังหวัด เพราะเช็กไปทาง ธ.ก.ส.จังหวัดแล้ว ก็บอกว่าคอยสำนักงานใหญ่สั่งการอยู่ ทางสหกรณ์ก็คอยเงิน แล้วถ้าปล่อยไปราคาข้าวก็จะตกมากกว่านี้อีก ก็จะเป็นโอกาสของพ่อค้า ดังนั้นเมื่อมีนโยบายรัฐออกมาแล้วต้องรีบทำให้เร็วที่สุด

 

“ขอเตือนชาวนาข้าวหอมมะลิเกี่ยวข้าวเขียวแบบนี้ทำให้ข้าวราคาตกต่ำแน่นอนปลูกมา 4 เดือนคอยอีก 4-5 วันไม่ได้ ต้องเตือนกันอย่างนี้ทุกปี”

 

  • ผวา ธ.ก.ส. ดึงเงินชาวนาใช้หนี้
  •  

เดชา นุตาลัย

ด้าน นายเดชา นุตาลัย  อุปนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย  กล่าว ผมเป็นห่วง "เงินประกันรายได้ข้าว" ที่เกษตรกรจะได้รับ เรื่องการจ่ายเงินของรัฐบาลผมไม่เป็นห่วง เพราะเป็นโครงการของรัฐ อย่างไรรัฐบาลก็จ่ายอยู่แล้ว ช้าหรือเร็ว ปัญหาที่น่าห่วงก็คือ ธ.ก.ส. เพราะว่าส่วนใหญ่จะจ่ายปลายปีทุกครั้ง จะเป็นเวลาที่เกษตรกรจะต้องจ่ายหนี้ ธ.ก.ส. พอเงินออกมา ถ้าบางรายจะต้องจ่ายดอก ประมาณ 15,000 บาท แล้วได้เงินส่วนต่างมา 10,000 บาท จากโครงการประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องไปหาอีก 5,000 บาท เพื่อใช้หนี้ สรุปเกษตรกรไม่ได้ใช้เงินตรงนี้ แล้วจะต้องหามาโปะด้วย

 

ถามว่าเกษตรกรจะต้องใช้หนี้หรือไม่ คือ เป็นหนี้ก็ต้องใช้ แต่บางครั้งอยากให้ประวิงเวลาให้บ้าง ควรจะยืดหยุ่นกันได้บ้างก็เป็นการดี ประเด็นแบบนี้จะเกิดทุกครั้ง เพราะฉะนั้นอยากจะฝากไปถึง ธ.ก.ส. หรือใครก็แล้วแต่ ที่มีอำนาจคุยกันได้ อยากให้เงินตรงนี้ให้เกษตรกรไปตั้งตัวกันก่อน ไปทำมาหากิน จะได้มีเงินไปทำทุนใหม่ เพราะ ธ.ก.ส. ดอกเดินทางอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับเงินต้น ฝากไว้ด้วยความเป็นห่วง

 

“การพักหนี้ของ ธ.ก.ส. 3 ปีของรัฐบาลชุดนี้ ธ.ก.ส. ไม่ได้พัก แบบพักเลย กล่าวคือ พักปีที่1 และปีที่2 ไม่ต้องจ่าย แต่พอปีที่3 จะต้องจ่ายรวบหมดทีเดียวเลยทั้ง 3 ปี ไม่ใช่พัก ไม่จ่าย ไม่เหมือนรัฐบาลที่ผ่านมา ก็คือไม่ต้องจ่ายเลย เพราะรัฐบาลจ่ายดอกให้  แต่ว่าครั้งนี้แตกต่างกัน

 

“มีเกษตรกรบางคนบอกว่า หลอกลวงประชาชนหรือไม่ เพราะผมเองผมก็เข้าใจว่า “พัก” คือไม่ต้องจ่าย ไม่จ่ายเลย แต่กรณีนี้ไม่ใช่ ไม่จ่ายเลยจริง แต่ปีที่ 3 กับรวบยอดจ่ายหมดเลย ทั้งปี1-3  ซึ่ง การกระทำดังกล่าวมันน่าจะเป็นการชะลอหนี้มากกว่าการใช้คำว่าพักหนี้ ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เช่น  เกษตรกรชำระหนี้ปีละ 10,000 บาท  3 ปีก็ 30,000 บาท และดอกเบี้ย จะเอาเงินที่ไหนมา ถ้าจ่าย 15,000 บาท 3 ปี ก็ 45,000 บาท เกษตรกรจะเอาเงินที่ไหน ตรงนี้น่าเป็นห่วง ผมเองก็อยากให้พัก ก็คือ ตัดออกไปเลย เพื่อเกษตรกรจะได้ลืมตาอ้าปากได้

 

นายเดชา กล่าวว่า ในรอบเกษตรกรที่เก็บเกี่ยว ผมเกี่ยวแล้วเสร็จมา 2 เดือนแล้ว  แล้วตอนนี้หว่านข้าวใหม่แล้ว แต่ลงทะเบียนไม่ได้ในรอบ 2 เพราะของเก่าเขย่งอยู่ คือ ผมลงทะเบียน ประมาณเดือนเมษายน ประมาณ กลางเดือน ก.ค. เกี่ยวหมด แล้ว ประมาณสิ้นสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน ก็หว่านใหม่ได้แล้วข้าว แต่เป็นนาปีรอบ2  ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ เนื่องจากว่าเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า  ขึ้นไปแล้ว รอบที่แล้วก็มี ถ้าลงก็จะซ้ำซ้อนในรอบเดียวกัน

 

  • ซ่อนกล ผลผลิตข้าว

ผมเองได้พยายามนำเสนอเรื่องนี้หลายครั้งว่า สมควรให้ปรับปรุง เนื่องจากเกษตรกรไม่ว่าจะปลูกข้าวกี่ครั้งควรที่จะลงทะเบียนไว้ทุกคน เพราะยอดผลผลิตข้าวที่แท้จริงจะต้องไปโชว์หน่วยงานทะเบียนที่รับผิดชอบ กลายเป็นว่า หลบซ่อนผลผลิตที่แท้จริง ราชการไม่ยอมรับ ความจริงชาวนาทำนา 2 รอบแต่ได้ลงทะเบียนรอบเดียว

 

ยกตัวอย่าง ผมทำหนองจอก ทำนา 3 ครั้ง ให้ขึ้นแค่ 2 ครั้ง ก็คือ นาปรังและนาปี แต่อีกครั้งยอดผลผลิตก็ออกสู่ตลาดเหมือนกัน ทั้ง 3 รอบหากทำนา 1 ครั้ง ก็ 30 ไร่ 2 ครั้ง 60 ไร่ ครั้งที่ 3 ควรจะเป็น 90 ไร่ แต่ออกจริงที่ขึ้นทะเบียนแค่ แค่ 60 ไร่ แต่อีก 30 ไร่ ออกสู่ท้องตลาดเหมือนกันแต่ยอดไม่โชว์ พอเราคำนวณราคาข้าว วันนี้ข้าวถึงล้นประเทศ นี่คือปัญหาที่ไม่ยอมรับข้อมูลการแชร์จากเกษตรกร แค่ขึ้นทะเบียนเท่านั้นจะได้ทราบผลผลิตที่แท้จริงของผลผลิตข้าวในประเทศ

 

ปัญหาตรงนี้จะแก้ไขอย่างไร การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จะต้องแก้ไขข้อมูลอย่างไร ในครอบเดียว ขึ้นทะเบียนได้ครั้งเดียว แต่ทำนาได้ 2 รอบ ยอดผลผลิตข้าวอีกครั้งจะไปโชว์ที่ไหน ส่งผลทำให้ผลผลิตในประเทศกลายเป็นข้อมูลเท็จทุกวันนี้ เพราะไม่ยอมรับข้อมูลความจริง ก็กลายเป็นว่าจะต้องทำเรื่องโกหกให้กลายเป็นเรื่องจริง นี่แหละคือต้นปัญหาข้าวล้นประเทศ ดังนั้นชาวนาทำนากี่ครั้งควรจะให้ชึ้นทะเบียนทั้งหมด แต่ถ้ารัฐบาลช่วยเหลือแค่ครั้งเดียวก็เป็นสิทธิที่ทำได้ แต่ยอดชาวนาที่ทำนาผลผลิตควรจะมาโชว์ทั้งหมดเพื่อที่จะได้แก้ปัญหาราคาข้าวได้

 

  • นายกรัฐมนตรีต้องแก้ปัญหา

 

ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลรับปากชาวนาไปแล้ว เป็นนโยบายหาเสียง แถลงต่อสภาไปแล้ว หากไม่ดำเนินตามนโยบายรัฐบาลเสียหายเอง แล้วกรณีเหตุการณ์แบบนี้ต่างจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดจากกระแสคนข้างนอกกดดัน  แต่กรณีนี้เกิดความผิดพลาดของรัฐบาลเอง ท่านนายกรัฐมนตรีจะต้องลงมาเคลียร์ ไม่ลอยตัว ไม่ใช่ปล่อยให้กระทรวงทะเลาะกันเอง

 

"ความจริงสภาเกษตรกรแห่งชาติ อยากจะทำนโยบายระยะยาว ยั่งยืนและถาวรให้กับชาวนาแต่ดูเหมือนรัฐบาลไม่มีสมาธิที่จะรับฟังในเรื่องแบบนี้ก็เลยเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง ก็อย่างดีที่ชาวนาได้เงินจากโครงการประกันรายได้ข้าว ตอบโจทย์ได้แค่ชั่วคราวเพื่อบรรเทาไม่ให้ชาวนาเดือดร้อน แต่ในระยะยาวอย่างไรก็ไม่ยั่งยืน"

 

  • โวยผลผลิตข้าวเหนียว ตีเป็น “กข6” ไม่เป็นธรรม

กิตติศักดิ์ จันทร์ไพศรี

 

ด้านนายกิตติศักดิ์ จันทร์ไพศรี แกนนำชาวนาข้าวเหนียว จังหวัดเชียงใหม่  กล่าวว่า เงินเข้ามาแล้ว งวดที่1 แค่ 1,100 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเจ้า 5 ไร่ ได้ 5,800 บาท แล้วเกษตรกรขายข้าวไป บวกลบคูณหาร เป็นราคาที่พยุงข้าวให้กับพ่อค้า ชาวนาไม่ได้กำไร รัฐบาลช่วยพ่อค้าครึ่งหนึ่ง เพื่อให้พ่อค้าไปขายได้กำไรอีกต่อหนึ่ง เพราะเมื่อคำนวณออกมาแล้วได้ไม่ถึง 7 บาทที่ให้มา ซึ่งไม่ได้อย่างที่คิดในตอนแรก เพราะถ้าไม่นำมาคิด ชาวนา ก็คือ ได้คือได้  ก็จบ “ประกันรายได้ให้กับพ่อค้า ไม่ใช่ชาวนา”

 

ส่วน ผลผลิตข้าวเหนียว ที่ใช้ในโครงการประกันรายได้ข้าว ผลผลิตผิด 387 ก.ก.ต่อไร่  16 ตัน เป็นข้าว กข6 ข้าวคุณภาพสูง ผลผลิตน้อย ไม่เถียง  แต่ชาวนาส่วนใหญ่ทำข้าวสันป่าตอง  และข้าวเขี้ยวงู ผลผลิต 600-700 กิโลกรัม  มีผลผลิตจำนวนมาก  แต่มาตีผลผลิตให้เป็นข้าว “กข 6” ผลผลิตต่ำ เป็นไปไม่ได้  สุดท้ายพวกนี้โรงสีจะมาซื้อแบบคละ แต่ก็จะมีโรงสีย่อยบางโรงมาซื้อแยกก็มี จะมาหลับตาคำนวณใช้ทั้งประเทศ ไม่ใช่

 

“เปรียบเทียบ สมัยคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นโยบาย "ประกันรายได้ข้าว" ในอดีต และ คุณยิ่งลักษณ์ "นโยบายจำนำข้าว"  พอชาวนาคัดค้าน ก็ได้มีการปรับผลผลิตใหม่ ปรับตามความเป็นจริง เงินก็จะได้รับเพิ่ม แต่นี่ผลผลิตมีแต่จะต่ำลงๆ ไปเรื่อยๆ  ซึ่งก็มีบางคนในสมาคมกลุ่มชาวนา เป็นตัวแทนแต่ ไม่ได้ทำนา จะรู้แค่ผิวเผิน  เท่านั้น แล้วการเป็นชาวนา ไม่ใช่จะเรียกเอาแต่ฝ่ายเดียว แต่ต้องใช้ฐานข้อมูลความจริง”

 

นายกิตติศักดิ์  กล่าวว่า แล้วประกันรายได้ข้าว ชาวนาไม่อยากได้หรอก ให้ก็ต้องเอา แต่ชาวนาอยากได้จำนำมากกว่า แต่ประกันอะไรก็ได้ แต่รัฐบาลให้รับผิดชอบข้าวแล้วกำหนดราคาให้เกษตรกร สมมติว่าข้าวสด  บังคับให้โรงสีรับซื้อที่ราคา 8,000-9,000 บาท  แล้วจะชดเชยให้โรงสีที่หลังก็สุดแต่รัฐบาล

 

 "ประกันรายได้ข้าว" มองก็คล้ายกับ "จำนำข้าว" แต่รัฐบาลไปให้โรงสีกับผู้ส่งออก ได้ผลประโยชน์มาก ผลประโยชน์เต็มที่ แต่ชาวนา ได้แค่เพียงนิดๆ หน่อย ไม่เต็มใจให้เท่าไร แบบให้เสียมิได้ ส่วนเงินจะเข้าเมื่อไร ไม่ว่า ขอให้เงินเข้า แต่ขอให้ได้บ้าง ชาวนาต้องการใช้เงิน ใช้หนี้ ทุกอย่างค่าใช้จ่ายมี ซึ่งที่ได้มาไม่พอใช้  แต่อย่ามาโจมตีชาวนา อย่ามาว่าชาวนาเรียกร้องทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่ ถ้าราคาไม่ดิ่งเหว ชาวนาไม่ออกมาหรอก แล้วรัฐมนตรีช่วยคลังที่พูดออกมาผมไม่เห็นด้วยหาว่าชาวนาขอมีแต่ให้ ไม่มีศักยภาพ ไม่พัฒนาข้าว

 

“ ผมถามว่าพัฒนาข้าวข้าวมาจากไหน เมล็ดพันธุ์ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร ชาวนาไทย พัฒนาและศึกษาด้วย ไม่ใช่ว่า ไปเอาคนส่วนน้อยมาพูด แต่ชาวนามักง่ายก็มี ผมก็ยอมรับ แล้วผมโทษรถเกี่ยวกับรถที่ขนไปส่งท่าข้าว ข้อ 1 ข้าวยังไม่แก่ดีแต่ให้รีบเกี่ยว จึงทำให้ชาวนาต้องรีบเกี่ยว และคนที่ส่งขนข้าวก็ได้เงินอยู่แล้ว จะทำอย่างไรก็ได้ ซึ่งตรงนี้เสีย เพราะรับจ้างขนข้าวก็เป็นชาวนา  เมื่อวันก่อน แปลงใกล้กันข้าวยังไม่ทันเขียวเข้าเนื้อ รีบเกี่ยวไปแล้ว”

 

อย่างนี้ผมไม่เห็นด้วย แล้วเอาข้าวที่ไม่มีคุณภาพไว้ข้างล่าง เอาข้าวที่มีคุณภาพไว้ข้างบน ผมก็เห็นใจโรงสี เพราะรถเกี่ยวไม่มีในมือของชาวนา ไม่มาแล้วเหลือน้อย ก็ทำให้ต้องเกี่ยวข้าวที่ไม่ดีไปด้วย คนขนก็เห็นแก่ประโยชน์ ผมพูดเรื่องจริง ผมไม่ชอบ อาชีพชาวนาไม่ทำ  ถ้ารัฐบาลสนับสนุนอุปกรณ์การเก็บเกี่ยว ให้กับชาวนาทุกอำเภอ ผมว่าจะทำให้ข้าวมีคุณภาพมาก ผมต้องการให้รัฐบาล สนับสนุน 1 ไซโล รถเกี่ยว ชาวนาจะได้บริหารจัดการได้

 

  • “จำนำยุ้งฉาง” เข็ด

 

รัฐบาลประกัน 12 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 12,000 บาท แล้วให้ชาวนาเก็บข้าวแห้งจริง ในโครงการจำนำยุ้งฉาง พอไปขายข้าวไม่ได้ราคานั้น เพราะโรงสีไม่ได้ซื้อ เพราะไม่ได้ค่าอบข้าว ก็คิดข้าวราคาข้าวต่ำ นี่แหละสวนทางกัน อย่างผมเคยอบไปแห้ง แล้วนำไปขายโรงสีในอีก 2 เดือนข้างหน้า ราคาตก ไม่ได้ราคา ที่บอกไว้ ซึ่งผมก็ทำมาหมดตามนโยบายรัฐบาล กลับขายข้าวให้โรงสีได้แค่ 9,000 บาทต่อ ไม่ลงทุนอะไรเลย

 

แต่ชาวนาเสียค่าอบข้าว เมื่อหักลบแล้ว เมื่อข้าวสดอยู่ที่ 6,000บาท  ไปส่ง 9,000 บาท  เมื่อคำนวณแล้ว ได้  6,000 บาท  จะต้องเสียค่าอบอีกตันละ 1,500 บาท  ใครจะได้กำไร แล้วจะมาพูดว่าให้ชาวนาทำข้าวแห้ง ใช่ ทำเสร็จแล้วราคาข้าวแห้งไม่ได้อย่างนั้น เพราะโรงสีไม่ซื้อเต็ม คนไม่เคยทำก็จะพูดไปเรื่อย ไม่จริงเลย

 

 

"ค่าใช้จ่าย หากชาวนาเก็บ เสี่ยงข้าวหาย แล้วเมื่อขายก็ขาดทุน ก็ต้องใช้หนี้อีก ถ้ารัฐบาลบอกว่าฝากไว้ให้ชาวนาดูแล แล้วมาซื้อในราคา 12 บาท ก็ยังมีความยุติธรรม แต่โรงสีเต็มที่ 10 บาท แม้ว่าท้องตลาดจะราคา 15 บาท เป็นอย่างนี้ เป็นตัวอย่างที่ทำมาแล้ว  ยังได้ขายรำ ปลายข้าวได้หมด ราชการก็คิดแบบในตำรา ไม่ใช่ จะต้องมาถามชาวนาจริงๆ  แล้วการที่แกนนำบอกให้ใจเย็น แล้วถ้ารัฐบาลเงินไม่เข้า จะรับผิดชอบหรือไม่"

 

 

นี่เป็นเสียงสะท้อนส่วนหนึ่ง ก็ต้องติดตามการจ่ายเงินในโครงการประกันรายได้ข้าว จะกลับมาชดเชยส่วนต่างได้งวดที่เท่าไร แล้วก็ต้องติดตามการส่งออกโค้งสุดท้ายต้นปีหน้า จะติดปีกหรือไม่ เพราะจะมีผลช่วยทำให้รัฐบาลจ่ายเงินในโครงการน้อยลง เมื่อราคาในประเทศขยับขึ้น