เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

05 พ.ย. 2564 | 07:33 น.

คมนาคมเปิดประชุม รับฟังความเห็นชาวอีสาน ทำแผนแม่บท"มอเตอร์เวย์พ่วงราง" นำร่อง MR2 แหลมฉะบัง-โคราช 297 กิโลเมตร ช่วงชลบุรี-ปราจีนฯใช้แนวทางหลวง 359 และตัดทางใหม่จากปราจีนฯถึงโคราช โดยช่วงผ่านอุทยานทับลานจะใช้ระบบอุโมงค์รถ-รถไฟ 

วันนี้ 4 พ.ย.2564 เมื่อเวลา 09.30 น. ที่โรงแรมแคนทารี อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา นายภูมิสิทธิ์  วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมรับทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) พื้นที่ภาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคตะวันออก กลุ่มที่ 1  

โดยมีนายนิรันดร์  สุขรักขินสุขิณี วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักงานทางหลวงที่ 10 นครราชสีมา พร้อมดร.ชุมโชค  นันทวิชิต ผู้จัดการโครงการงานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนา “โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)” 

ประชุมฟังเสียงชาวอีสาน ในโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนา “โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)” 

เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลงานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง โดยใช้เงินลงทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางให้กลุ่มเป้าหมาย รับทราบการพัฒนาโครงข่ายทางถนน ที่ยังขาดการบูรณาการร่วมกับการพัฒนาโครงข่ายทางราง

ทำให้เกิดปัญหาการเวนคืนพื้นที่ การแบ่งแยกชุมชนและขาดการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาโครงข่ายทางถนนและโครงข่ายทางราง ที่เน้นการพัฒนาไปในพื้นที่ชุมชนที่มีความเจริญอยู่แล้ว ทำให้จำกัดการพัฒนาเมือง ไม่มีการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ใหม่ 

เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

ดร.ชุมโชค  นันทวิชิต ผู้จัดการโครงการงานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนา “โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)” กล่าวว่า ตามที่กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง  ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด และบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษา

ในโครงการงานศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)  พร้อมการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของเส้นทางในโครงข่าย MR-MAP 

เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

ในการดำเนินโครงการ กรมทางหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญ ของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดจนส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ครั้งที่ 1) ขึ้น

เพื่อสร้างความรับรู้ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการจากทุกภาคส่วน มาประกอบการพิจารณา ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง และการออกแบบแนวเส้นทางที่เหมาะสมต่อไป  

สำหรับเส้นทาง MR-MAP ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคตะวันออก กลุ่มที่ 1 การศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ของโครงการ จะดำเนินการศึกษาให้ครอบคลุมในทุกเส้นทาง ตามแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) 

ทั้งนี้ ระหว่างการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมฯ เบื้องต้น จะต้องดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทาง การออกแบบเบื้องต้น และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ที่โครงการพาดผ่าน 

เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้และเข้าใจ รวมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อโครงการสามารถนำไปเป็นข้อมูล ในการพิจารณาปรับปรุงการศึกษาความเหมาะสมฯของโครงการ ให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด

ดังนั้น การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ได้เลือกแนวเส้นทางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคตะวันออก มานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

 

  1.  เส้นทาง MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี(แหลมฉบัง)-หนองคาย (ด่านหนองคาย) ช่วงชลบุรี(แหลมฉบัง)-นครราชสีมา
  2.  เส้นทาง MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี(แหลมฉบัง)-หนองคาย (ด่านหนองคาย) ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น
  3.  เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี(ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี(สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี
  4.  เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี(ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี(สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6) ช่วง นครสวรรค์-ชัยภูมิ-นครราชสีมา
  5.  เส้นทาง MR6 กาญจนบุรี(ด่านพุน้ำร้อน)-สระแก้ว (อรัญประเทศ) ช่วงปราจีนบุรี-สระแก้ว (อรัญประเทศ) 

ทั้งนี้ เส้นทาง MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี(แหลมฉบัง)-หนองคาย (ด่านหนองคาย) ช่วงชลบุรี(แหลมฉบัง)-นครราชสีมา มีระยะทางรวม 297 กิโลเมตร  เริ่มที่ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  สิ้นสุดโครงการที่บริเวณต.ด่านจาก อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา

โดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด 17 อำเภอ ได้แก่ ในท้องที่จ.ชลบุรี ประกอบด้วย อ.เกาะจันทร์ อ.บ่อทอง อ.บ้านบึง อ.หนองใหญ่ และ อ.ศรีราชา  ในพื้นที่จ.ฉะเชิงเทรา มี อ.สนามชัยเขต และ อ.แปลงยาว พื้นที่จ.ปราจีนบุรี คือ อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี และ อ.ศรีมหาโพธิ และพื้นที่จ.นครราชสีมา คือ อ.โนนไทย อ.โนนสูง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เมืองนครราชสีมา อ.โชคชัย อ.ปักธงชัย และ อ.วังน้ำเขียว

เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

การพัฒนาแนวเส้นทางในช่วงชลบุรี(แหลมฉบัง)-ปราจีนบุรี พัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยใช้แนวเส้นทางตามการออกแบบ ของโครงการมอเตอร์เวย์ ตอนชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง)-ปราจีนบุรี (ทล.359)
    ช่วงปราจีนบุรี-นครราชสีมา พัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง โดยเป็นแนวใหม่ทั้งคู่ แนวเส้นทาง MR2 ช่วงชลบุรี (แหลมฉบัง)-นครราชสีมา 
    ทั้งนี้ แนวเส้นทาง MR2 ช่วงชลบุรี(แหลมฉบัง)-นครราชสีมา จะมีช่วงที่ผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน มีการออกแบบให้เป็นอุโมงค์รถยนต์ จำนวน 2 แห่ง และอุโมงค์รถไฟ จำนวน
2 แห่ง

ดร.ชุมโชค กล่าวอีกว่า โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)” ถือเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยกระทรวงคมนาคมมีแนวคิด “การบูรณาการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายทางรถไฟที่ใช้เขตทางพร้อมกัน" 10 เส้นทาง ได้แก่ แนวเหนือ-ใต้ 3 เส้นทาง แนวตะวันออก-ตะวันตก 6 เส้นทาง และแนวทางเส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1 เส้นทาง 

เสียงชาวอีสาน แผนแม่บทMR2"มอเตอร์เวย์พ่วงราง"แหลมฉะบัง-โคราช   

ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทความต้องการเดินทางและขนส่งของประเทศ ตลอดจนสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านคมนาคมขนส่ง จะทำให้การดำเนินงานตามแผนแม่บทโครงข่ายถนนและระบบรางมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึ้น