ประมงไทยป่วน "สหรัฐอเมริกา" จ่อแบนสินค้าไทย

30 ต.ค. 2564 | 07:01 น.

งานเข้าประมงไทย “สหรัฐอเมริกา” ขู่แบนสินค้าประมง “กก.นโยบายการประมงแห่งชาติ” เผย วันนี้ ชี้แจงไม่ผ่านเครื่องมือประมงที่มีผลกระทบต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ผวาซ้ำรอยอียู แจกใบเหลือง กรณีไอยูยู ฟิชชิ่ง

สหรัฐอเมริกา  เป็นประเทศคู่ค้าสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อันดับ 1 ของประเทศไทย โดยจากข้อมูลการส่งออกในปี 2563 ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปยังสหรัฐอเมริกา  มีมูลค่าสูงถึง 3.99 หมื่นล้านบาท 

 

MMPA หรือ (Marine Mammal Protection Act  ขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ที่ประเทศไทยจะต้องชี้แจง แล้วถ้าชี้แจงไม่ผ่านจะโดนแบนไม่ต่างจากอียู แจกใบเหลืองไทย ในเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือไอยูยู

รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล

 

รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล กรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า  งานนี้ไม่ง่ายเพราะการชี้แจงและกำหนดมาตรการ ต้อง base on ข้อมูลทางวิชาการ วิจัย เป็นหลัก ผสมผสานกับ วิธีการทำประมงแท้จริง( ไม่ใช่ในตำรา )ของพี่น้องประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์

 

แต่ประสบการณ์การปลดใบเหลือง IUU ทำให้ทีมทำงาน "รู้เขา รู้เรา รู้คนอื่น" มากขึ้น และการทำงานอย่าง " ชัดเจน โปร่งใส ตรงปก " เท่านั้นที่จะทำให้การชี้แจงกับสหรัฐอเมริกา เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศของเรา

 

 

“วันนี้ (วันที่ 30 พ.ย.64) เป็นเส้นตายวันที่นัดหมายที่จะส่งข้ออมูล ในเรื่อง “MMPA” ให้กับสหรัฐอเมริกา หากจำกันได้ตอนที่ประมงไทยได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป หรือ อียู "ใบเหลือง" นั่นคือ ใบเตือนว่าถ้าไทยไม่ทำการแก้ไขปรับปรุงสินค้าประมงไทยจะส่งออกไปสหภาพยุโรปไม่ได้"

 

ขณะเดียวกันในลักษณะของ “MMPA” ก็จะคล้ายๆกัน ก็คือว่าประเทศสหรัฐ มีกฎหมายที่เรียกว่า Marine Mammal Protection Act  ก็คือ กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเล เช่น วาฬ โลมา และพยูน เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งออกของเราที่ที่ไปสหรัฐก็ต้องยอมรับว่ามีสินค้าประมงอยู่หลายรายการ

 

"สหรัฐอเมริกา" ส่งสัญญาณเตือนมา ระบบการทำประมงของไทยแล้วไปเป็นสินค้าส่งออกไปที่สหรัฐอเมริกา เป็นการทำประมงที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเลด้วยหรือไม่ แล้วสหรัฐอเมริกา ก็มีข้อมูลอยู่ชุดหนึ่งที่มีเครื่องมือประมงของไทยก็มีหลากหลาย อาทิ อวนลาก อวนล้อม อวนลอย ลอบ และกุ้งกิ้ง เป็นต้น ซึ่งสหรัฐอเมริกา ก็มีข้อมูลที่กล่าวถึงเครื่องมือเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเล จึงให้ประเทศไทยชี้แจง ว่าการทำประมงของไทยมีผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

 

ถ้าประเทศไทยชี้แจง MMPA แล้วพบว่าการทำประมงของไทยต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนน้อย ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรง ไทยเรามีมาตรการดูแลที่มากเพียงพอก็จะไม่แบนสินค้าไทย

 

 

แต่ถ้าประเทศไทยชี้แจง MMPA ได้ไม่ครบถ้วน หรือทำให้ไม่มั่นใจได้ว่าเรามีการทำประมงของเราส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม่มีมาตรการบริหารจัดการที่จะดูแลสัตว์เหล่านี้ก็จะทำให้สหรัฐฯแบนสินค้าไทยได้ จะมีลักษณะคล้ายกับที่ประเทศไทยโดนใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (อียู)