“ทิพยประกันภัย” โผล่ชิงเค้กประกันอุบัติเหตุชาวสวนยาง ปี65

13 ส.ค. 2564 | 02:31 น.

“ทิพยประกันภัย” โผล่ชิงเค้กประกันภัยชาวสวนยาง ปี65 โขกค่าเบี้ย 290 ล้าน แพงประวัติการณ์  แฉ บอร์ด กยท. แอบลักไก่เงินกู้ วงเล็บ5 มาเติม เครือข่ายฯ ติงสูงเกิน เบรกโครงการ ระบุ “เกษตรกร” ที่เสียชีวิตค้างจ่ายเพียบ แฉฉวยจังหวะโควิด ประชุมลับไร้ก้างขวางคอ ห่วงเงินทอนสะพัด

“ทิพยประกันภัย” โผล่ชิงเค้กประกันอุบัติเหตุชาวสวนยาง ปี65

 

นายเขศักดิ์ สุดสวาท เลขาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เครือข่ายฯ ไม่ได้ประชุมมานานพอสมควร พวกเราหลงทางคิดทำนอกกรอบสุดท้าย พวกบอร์ด กยท.หักดิบชนิดทิ้งทวน กองทุนสวัสดิการสมัครใจจ่ายสมทบสองขา เกษตรกรกับการยางฯ ทำกันมาร่วมปี จบแบบหนังจีน เฉินหลงขี้เมา

 

สุดท้ายโครงกันประกันอุบัติเหตุภาคพิสดาร ปี2565 ชึ่งจะเริ่มคุ้มครอง วันที่ 16 สิงหาคม 2564ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2565 หากจำไม่ผิด ได้บริษัทใหญ่ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท ขึ้นค่าเบี้ยประกันตกหัวละ 209 บาท แพงเป็นประวัติการณ์ใช้เงินร่วม 290 ล้านบาท ทั้งที่มีงบแค่ 215 ล้านบาท ไปโยกเงินมาจาก กองทุนเงินกู้สวัสดิการ49(5) รายละไม่เกิน 50,000 บาทเป็นเงินฉุกเฉินที่เหลือจ่ายปีละ100 กว่าล้านบาท(ที่เหลือเพราะชาวสวนยางเข้าไม่ถึงขอกู้ไปเป็นปีถึงจะพิจารณา)

 

แต่มีพวกบอร์ดบางกลุ่มประชุมลับกันเอาไป 70 ล้านบาท สบายๆ ช่วงโควิดระบาด เป็นเหตุให้ (หมาเฝ้าบ้าน) ตัวแทนเครือข่ายระดับประเทศ งดการประชุมเพื่อสนองนโยบายหยุดเชื้อเพื่อชาติ ไร้ก้างขวางคอ  แม้ ดร.ธีระชัย แสนแก้ว ประธาน คยท.ระดับประเทศทำหนังสือคัดค้านก็ไม่ฟังเสียงจากเจ้าของเงิน(เกษตรกรกรีดยางขายส่งพ่อค้าส่งออก กยท.เก็บค่าต๋ง 2 บาทต่อกิโลกรัม) ว่าอย่าเอาเงินไปชื้อประกันเพราะทำมา2-3 ปี ค้างจ่ายหลายพันคน ตายแล้วไม่ได้เงิน

 

หาก กยท.ทำเองจ่ายค่าสงเคราะห์ศพๆ ละ 30,000-40,000 บาท ซึ่งน่าจะดีกว่าให้ บริษัทประกัน ทำ และเคยเสนอ กรรมการการยางแห่งประเทศไทยทุกปี แต่เขาเหล่านั้นยังดื้อดันทำต่อ มีกระแสข่าวว่าบางคนทิ้งทวนก่อนไป อีกข่าวแว่วมาว่าหาเงินเข้าพรรค ส่วนตัวที่ติดตามมาตลอด 1-2 ปี โครงการนี้เรียกแขกได้มากเกษตรกรแห่ไปขึ้นทะเบียนหวัง 3 สิ่ง

 

1.เงินประกันรายได้

 

2.เงินค่าปลงศพ

 

3.เงินกู้

 

"ที่ระบายมาทั้งหมดอย่าเชื่อผมให้ท่านตรวจสอบความจริงว่า การชื้อประกันอุบัติเหตุงวดนี้มีเงินตกหล่นแถวบางขุนนนท์จริงหรือไม่ใครที่เคยทำงานด้านขายประกันช่วยตอบทีจากใจเลขาเครือข่ายฯระดับประเทศ หมาเฝ้าบ้านตัวน้อย โผล่ บริษัท บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าเกณฑ์รายเดียว จากที่มีผู้มาเสนอทั้งหมด 7-8 ราย "

 

 

ธีระชัย แสนแก้ว

 

ด้านนายธีระชัย แสนแก้ว ประธานกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การยางประเทศไทย ระดับประเทศ  ได้ทำหนังสือถึง ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย  ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ทำหนังสือขอคัดค้านไม่เห็นด้วย สำหรับในปี 2565 ถ้าหาก กยท.จะดำเนินการประกันชีวิตต่อไป ในอัตราเบี้ยประกันที่สูงขึ้นจากเดิมในวงเงินกว่า 70 ล้านบาท นั้น

 

เห็นว่าควนจัดสวัสดิการอื่นๆ ในการให้ความช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายการจัดงานศพเกษตรกรชาวสวนยางที่เสียชีวิต รายละ 40,000 บาท ตามมติของคณะอนุกรรมการ ศึกษาข้อมูลการจัดสวัสดิการอื่นๆ ตาม มาตรา 49(5) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ปัจจุบันในช่วงประกันอุบัติเหตุ 3 ปี ยังมีเกษตรกรที่เสียชีวิตและขอรับเบี้ยประกัน ยังคงค้างไม่ได้รับอยู่เป็นจำนวนมาก

 

ผลการดำเนินงาน บริษัท ประกันภัย ประกันชีวิต ชาวสวนยาง

 

ซึ่งอาจทำให้เสียสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นปัญหา บริษัทที่ยื่นใหม่ ยื่นใหม่ ล่าสุด กรอบ 215 ล้านบาท แต่บริษัทที่ผ่านเกณฑ์มีบริษัทเดียว  บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เสนอ 209 บาทต่อคน ต้องจ่ายเป็นเงิน 290,031,726 บาท เกินงบ 75,031,726 บาท

แนบเอกสารการคัดค้าน