“ปตท.” อัดงบ 5 ปี 8.15 แสนล้านบาทหนุน “Restart Thailand”

18 ธ.ค. 2563 | 04:45 น.

“ปตท.” อัดงบ 5 ปี 8.15 แสนล้านบาทหนุน “Restart Thailand” พร้อมหนุนนการจ้างงานกว่า 25,800 อัตรา

นายอรรถพล  ฤกษ์พิบูลย์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท  ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายในการกล่าวช่วง CEO Talk : Restart Thailand จากงาน “Dinner Talk : Reatart Thailand 2021" ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และกรุงเทพธุรกิจ ว่า การดำเนินการเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 64 ของ ปตท. นั้น  จะมีการเดินหน้าขยายการลงทุนด้วยงบประมาณ 2.44 แสนล้านบาท  เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน  และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 

ขณะที่แผนการลงทุนในระยะเวลา 5 ปี (2564-2568) จะใช้งบประมาณอยู่ที่ 8.15 แสนล้านบาท  แบ่งเป็นโครงการพลังงานสะอาด หรือ “Clean Fuel Project” (CFP) ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าการลงทุนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ,การก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงที่ 7 (Gas Separation Plant7) เพื่อทดแทนโรงที่ 1 ซึ่งกำลังจะหมดอายุ มูลค่าลงทุนประมาณ 1.78 หมื่นล้านบาท ,โครงการ LNG Receiving Terminal Nongfab มูลค่าลงทุนประมาณ 3.85 หมื่นล้านบาท  และโครงการมาบตาพุดเฟส 3

“ปตท.” อัดงบ 5 ปี 8.15 แสนล้านบาทหนุน “Restart Thailand”

นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. ยังจะดำเนินการต่อยอด  เร่งพัฒนา  และขยายเข้าสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูงตามทิศทางโลก  หรือที่เรียกว่าธุรกิจใหม่  เพื่อเป็นการเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ได้แก่ 1.การมุ่งเน้นเรื่องพลังงานสะอาด หรือหลังงานทดแทน (New Energy) ,2.การขยายไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวกับทางการแพทย์  อาทิ ยา  อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และเครื่องมือทางการแพทย์ (Life Science)  โดยต่อยอดจากธุรกิจปิโตรเคมี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปตท.เคาะสูตรจัดสรรหุ้นไอพีโอOR "95 หุ้น PTT ต่อ 1 หุ้น OR"

“ปตท.” แนะรัฐปรับองค์กรสู่ดิจิทัลดึงงบกว่า 10 ล้านกระตุ้นการจ้างงาน

“ปตท.”เชื่อเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแน่ภายใต้เงื่อนไข 3 ไม่

,3.ธุรกิจที่เกี่ยวกับความคล่องตัว และไลฟ์สไตล์ Mobility & Lifestyle ,4.การพัฒนาผลิตภัรฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (High Value Business) ,5.การขนส่ง (Logistics) และ6. การพัฒนาธุรกิจทางด้านปัญญาประดิษฐ์  และหุ่นยนต์ (AI & Robotics Digitalization)

“ตัวอย่างโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้วอย่างเป็นรูปธรรม เช่น สถานีชาร์ตประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือ “อีวี” (EV) ,การลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์  การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อก้าวเข้าสู่พลังานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ โดยภายในปี 2573 ปตท. ตั้งเป้าที่จะมีการลทุนในพลังานทดแทนประมาณ 8 กิกกะวัตต์  หรือ 8,000 เมกกะวัตต์ ,มีการลงทุนโรงงานแบตเตอร์รี่ (Semi Solid) ต้นแบบแห่งแรกของไทย  การจัดตั้งบริษัท บริษัท สวอพ แอนด์โก จำกัด รองรับการพัฒนา EV ในไทย เป็นต้น”

นายอรรถพล กล่าวต่ออีกว่า ปตท. ยังมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการดำเนินการในหากหลายด้าน ได้แก่ โครงการ Restart Thailand ซึ่งจะมีการจ้างงาน ประกอบด้วย  1.การรับพนกงานเข้ามาทำงานร่วมกับกลุ่ม ปตท. ประมาณ 1,000 อัตรา

,2.การกลับมาเดินหน้าโครงการที่หยุดชะงักลงไปในช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 (Covid-19) ทุกโครงการ  รวมถึงเดินหน้าโครงการใหม่  ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานประมาณ 22,000 อัตรา

และ3.การจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ประมาร 2,600 อัตรา  เพื่อทำโครงการที่ ปตท. ยังไม่ได้ดำเนินการ  รวมถึงการช่วยเก็บข้อมูล  ดังนั้น  จากภาพรวมทั้งหมดจะทำให้ ปตท. มีการจ้างงานเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 25,800 อัตรา

“ในความคิดเห็นส่วนตัวนั้น  การประคับประครองเศรษฐกิจตามหลักเศรษฐศาสตร์  การจ้างงานสำคัญที่สุด  เพราะจะช่วยลดปัญหาสังคมของผู้ที่ไม่มีงานทำ  รวมถึงเมื่อมีรายได้ก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ  หรือวงรอบของการใช้จ่ายประมาณ 5 เท่า หรือประมาณ 1 ต่อ 5”

 นอกจากนี้  ปตท. ยังมีส่วนเสริมในเรื่องการกระตุ้นการท่องเที่ยว  ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ปตท. ที่เดินทาง  ด้วยการใช้สิทธิ์ลาพักร้อนไปท่องเที่ยววันธรรมดา  ซึ่ง ปตท. มองว่าธุรกิจโรงแรมจะไม่มีผู้ใช้บริการเหมือนกับวันหยุด โดยการช่วยออกค่าใช้จ่ายให้อีกครึ่งหนึ่งแต่ไม่เกิน 5,000 บาท  นอกเหนือจากที่รัฐบาลช่วยออกให้แล้วตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน  และการดำเนินการเรื่องการสัมมนาภายในประเทศ

นายอรรถพล กล่าวต่อไปอีกว่า ปตท. ยังเข้าไปช่วยเหลือชุมชนภายใต้โครงการ “ชุมชนยิ้มได้” โดยการเข้ามาพัฒนาทางด้านการทำตลาด  รวมถึงช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์  และการพัฒนาแลพตฟอร์มค้าขาย  ซึ่งจะมีการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้ามาจำหน่าย  เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค