เปิดมาตรการรับปัญหาขาดแคลนน้ำพื้นที่ EEC 

23 ส.ค. 2563 | 10:27 น.

กรมชลประทาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วาง 8 มาตรการรองรับการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC ในช่วงฤดูแล้งปี 63/64 

วันนี้(23 ส.ค. 63) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายประพิศ จันทร์มา นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน และผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับและบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ณ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

เปิดมาตรการรับปัญหาขาดแคลนน้ำพื้นที่ EEC 

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำว่า ปัจจุบัน(23 ส.ค. 63) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC (จังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 487 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 386 ล้าน ลบ.ม. 

เปิดมาตรการรับปัญหาขาดแคลนน้ำพื้นที่ EEC 

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้วางมาตราการรองรับการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC ในช่วงฤดูแล้งปี 63/64 ไว้ 8 มาตราการ ดังนี้ 1.)สูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่มายังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ปริมาณน้ำตามแผนรวมประมาณ 60 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันดำเนินการสูบผันน้ำแล้วประมาณ 33.51 ล้าน ลบ.ม. 2.)สูบกลับคลองสะพานเติมอ่างประแสร์ ปริมาณน้ำรวมตามแผน 15 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันดำเนินการสูบผันน้ำแล้วประมาณ 6.94 ล้าน ลบ.ม. 3.)เพิ่มการสูบกลับวัดละหารไร่(แม่น้ำระยอง)มาเสริมปริมาณน้ำให้แก่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล  ปริมาณน้ำตามแผนรวม 12 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันดำเนินการสูบน้ำไปแล้ว 4.84 ล้าน ลบ.ม.  

4.)การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดสูบใช้น้ำจากคลองน้ำหู แผนการใช้น้ำ 5 ล้านลบ.ม. ปัจจุบันใช้น้ำไปแล้ว 1.8 ล้าน ลบ.ม. 5.)สูบผันน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิต/พานทองมายังอ่างเก็บน้ำบางพระ ปริมาณน้ำตามแผน 50 ล้าน ลบ.ม. ปัจุบันสูบผันแล้วประมาณ 5.81 ล้าน ลบ.ม. 6.)สูบผันน้ำจากแม่น้ำบางประกงมายังอ่างเก็บน้ำบางพระปริมาณน้ำตามแผนรวม 20 ล้าน ลบ.ม. 7.)ประหยัดการใช้น้ำทุกภาคส่วน 8.)สูบผันน้ำคลองวังตะโหนด จังหวัดจันทบุรีมายังอ่างเก็บน้ำประแสร์ 

 

 

อนึ่ง กรมชลประทาน ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือช่วยกัน จนทำให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา ผ่านพ้นวิกฤติไปได้ด้วยดี