“อุตตม”จับมือญี่ปุ่นขึ้นแท่นฮับลงทุนภูมิภาค

07 มิ.ย. 2560 | 08:09 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

อุตตม” ดึง METI ญี่ปุ่นร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตฯไทยก้าวสู่Thailand 4.0
พร้อมดัน EECขึ้นแท่นฮับศูนย์กลางการลงทุน CLMV

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับ Mr.Hiroshige Seko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น(MET) เม่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 ว่า ญี่ปุ่นแสดงความสนใจในนโยบายThailand 4.0 รวมถึงการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และการยกระดับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขึ้นเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New Engine of Growth)

โดยในระหว่างการประชุมหารือ Mr.Hiroshige Seko แจ้งว่าญี่ปุ่นยินดีที่จะให้การสนับสนุน ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมทุกระดับ รวมถึง SMEs ของไทยให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต และเปลี่ยนผ่านก้าวเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลก (Global Value Chain) ได้ โดย ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมีองค์ความรู้ที่เป็นคู่มือในเรื่องการปรับตัวในมิติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อุตสาหกรรมเป้าหมายสําคัญที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมอุปกรณ์และ เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน และอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้ METI พร้อม ผลักดันให้บริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่ เช่น บริษัท ฮิตาชิและบริษัทที่เป็น SMEs เข้ามาลงทุนหรือขยาย การลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีร่วมกับประเทศไทย

สําหรับการลงนามในหนังสือแสดงเจตจํานง (Memorandum of Intent) ระหว่างกระทรวง อุตสาหกรรมของไทย กับ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น โดยนายสมคิด จาตุศรี พิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน ถือเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองฝ่ายได้มีพันธสัญญาจับมือกัน อย่างเป็นทางการ โดยมีความร่วมมือใน 2 ประเด็นหลัก คือ

1.ความร่วมมือในการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) ซึ่ง METI ญี่ปุ่นพร้อมจะให้ การสนับสนุนกิจกรรมการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยโดยเฉพาะ 10 อุตสาหกรรม S-curve ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนไทยไปสู่ Industry 4.0 ซึ่งญี่ปุ่นเรียกแนวคิดนี้ว่า Connected Industries ที่นําเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมให้เป็น รูปแบบของการทํางานอย่างชาญฉลาด (smart) เพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการทํางานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยําและทันเวลาทั้งในรูปแบบการจัดการด้วยมนุษย์และการจัดการด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ METI ยังคาดหวังว่าเมื่อมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมแล้ว ไทยจะเป็นข้อต่อที่สําคัญในห่วงโซ่การผลิตที่เชื่อมโยงสู่ CLMVT หรืออนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง (Greater Mekong Subregion – GMS) ขยายไปสู่อาเซียน และห่วงโซ่การผลิตของโลกต่อไปด้วย

2.ความร่วมมือด้านแผนงาน EEC โดยทั้งสองฝ่ายจะผลักดันให้เกิดการหารือร่วมกันระหว่างกลุ่ม ธุรกิจญี่ปุ่นและหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและการดําเนิน โครงการการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับEECโดยการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีศักยภาพ ในขณะที่METI ญี่ปุ่นจะช่วยสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นด้วย โดยสํานักงานเพื่อการ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC Office ที่มีนายคณิศ แสงสุพรรณ เป็นเลขาธิการ จะเป็นหน่วยประสานอํานวยความสะดวกให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่จะลงทุนในพื้นที่EECเพื่อให้นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี

รวอ.7 นอกจากนี้ METI ญี่ปุ่นยังเชิญให้คณะฝ่ายไทยไปเยี่ยมชม Kobe Biomedical Innovation Cluster ณ เมืองโกเบ แคว้นคันไซ เพื่อศึกษาแนวทางนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะนํามาประยุกต์ใช้กับการขับเคลื่อน EEC ของไทยด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเร่งด่วนภายใต้ EEC ที่จะ เริ่มดําเนินการในปี2560 ซึ่งญี่ปุ่นมีความสนในเป็นพิเศษในการสนับสนุนและร่วมลงทุนว่ามีจํานวน 5 โครงการ คือ 1) การก่อสร้าง สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่3 2) การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ช่วงกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง) 3) การพัฒนาท่าเรือ 3 ท่าเรือ (แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด) 4) โครงการดึงดูด อุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 S-curve และ5)การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Cities) รวมทั้งได้มีการหารือถึงแนวทางความร่วมมือในด้านการวิจัยพัฒนาและการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับ อุตสาหกรรมยุคใหม่ที่มีการนําเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ด้วย

ทั้งนี้ การประชุมหารือและการลงนามบันทึกแสดงเจตจํานงดังกล่าว จะช่วยเชื่อมโยงเศรษฐกิจของไทยกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตให้สามารถจับมือกันเพื่อก้าวเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานโลกในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืนต่อไป.