svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

NIA ผุดโมเดลปั้นนวัตกร แปลงร่างขยะสู่พลังงานไฟฟ้า

28 พฤษภาคม 2564

NIA ผุดโมเดล กระตุ้นนิวเจนฯ ตื่นรู้ แปลงร่างขยะสู่พลังงานไฟฟ้า “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า” ผลักดันให้เกิดนวัตกร นักสร้างสรรค์ออกแบบไอเดีย ดิสรัปปัญหาผ่านการเรียนรู้ เพิ่งมูลค่าขยะด้วยการแปรรูป

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า NIA ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรที่มีไอเดียแปลกใหม่ รวมถึงนวัตกรรมที่สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำหรับโครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า” (The Electric Playground) เป็นอีกโครงการที่น่าจับตามองในปีนี้ โดยมีแนวคิดตั้งต้นจากการเฟ้นหาเด็กไทยที่ฉายแววความเป็นนวัตกรจากเยาวชนกว่า 10,000 คน ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และลงมือสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นเทรนด์พลังงานทางเลือกที่กำลังมาแรง โดยเปิดกว้างให้เด็กๆ สามารถเลือกหยิบปัญหาการจัดการขยะที่พวกเขามองเห็น และออกแบบนวัตกรรมที่จะมาดิสรัปต์ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ผ่านการสนับสนุนทั้ง 3 ด้านของ NIA ได้แก่ งบประมาณต่อยอดโครงการให้เป็นจริง (Financial) องค์ความรู้สมัยใหม่ (Intelligent) และการสร้างเครือข่าย (Networking) ซึ่งจะทำให้ทุกไอเดียของเยาวชนในโครงการมีโอกาสกลายเป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง 

NIA ผุดโมเดลปั้นนวัตกร แปลงร่างขยะสู่พลังงานไฟฟ้า

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังมีส่วนช่วยผลักดันกลุ่มเยาวชนที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ให้ก้าวเข้าสู่แวดวงนวัตกรเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศในการเพิ่มจำนวนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เข้ามาร่วมขับเคลื่อนความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น

โครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า” เป็นการเปลี่ยนภาพจำการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะแบบเดิม ผ่านการออกแบบเส้นทางการเรียนรู้การจัดการขยะอย่างถูกวิธี ด้วยหลักสูตรกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม “STEAM4INNOVATOR” บนเนื้อหาสาระการเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าและการจัดการขยะ ซึ่งเด็กๆ จะได้เรียนรู้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การลงไปสังเกตปัญหา เลือกหยิบปัญหาที่สนใจ และเลือกที่จะสร้างนวัตกรรมเข้ามาดิสรัปต์วงจรการจัดการขยะในขั้นตอนใดก็ได้ โดยมีการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมงานกระบวนการ และทีมนักพัฒนาศักยภาพเยาวชน ที่จะมาช่วยสร้างความสนุกและการมีส่วนร่วมแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกลุ่มเยาวชนด้วยกันในรูปแบบการประกวดแข่งขัน ซึ่งการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด จะนำมาซึ่งสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในแวดวงนวัตกรรม

NIA ผุดโมเดลปั้นนวัตกร แปลงร่างขยะสู่พลังงานไฟฟ้า

สำหรับโครงการฯ นี้ เปิดกว้างให้เยาวชนสามารถออกแบบนวัตกรรมในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้นวัตกรรมที่เข้ามาช่วยการจัดการเชิงกระบวนการที่ชาญฉลาด รูปแบบบริการที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือให้คุณค่าต่อสังคม หรือจะเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นงานอย่างเครื่องแยกขยะ เครื่องจัดการขยะ เครื่องผลิตไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องมือจัดการในการควบคุมมลพิษหรือผลกระทบจากกระบวนการจัดการขยะ หรือการนำขยะไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ดังนั้น การมีพื้นที่ให้นวัตกรรุ่นเยาว์ได้ประลองไอเดียการสร้างสรรค์นวัตกรรม ไม่ว่าจะออกมาเป็นรูปแบบใดก็ตาม ถือว่าเป็นอีกขั้นหนึ่งที่ประเทศไทยจะได้เข้าใกล้หนทางไปสู่พลังงานทางเลือกมากขึ้น

ด้าน ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า สังคมไทยกำลังก้าวสู่การใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้นตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) โดยมีรายละเอียดว่า 

ภายในปี 2573 จะเกิดการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมในทุกที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานราคาถูก จากการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด โดยพลังงานไฟฟ้าแปรรูปจากขยะ นับเป็นหนึ่งในทางเลือกของการผลิตแหล่งพลังงานสะอาด ซึ่งในประเทศไทยมีการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง และสามารถแปรรูปไปเป็นพลังงานไฟฟ้า 

NIA ผุดโมเดลปั้นนวัตกร แปลงร่างขยะสู่พลังงานไฟฟ้า

ในปี 2563 - 2564 กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงาน กกพ. ได้ให้การสนับสนุนเหล่าภาคีเครือข่าย 25 องค์กร 26 โครงการ ภายใต้แนวคิดหลัก Clean Energy for Life เพื่อส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมด้านไฟฟ้า ซึ่งโครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า” เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการสนับสนุน โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้รู้จักวิธีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง 

NIA ผุดโมเดลปั้นนวัตกร แปลงร่างขยะสู่พลังงานไฟฟ้า

การมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์เฉพาะหน้า หากประเทศไทยมีการจัดการปัญหาขยะที่ครบวงจร นั่นหมายถึงการกำจัดขยะตั้งแต่ต้นทางให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคผู้ผลิต และผู้บริโภค ความจำเป็นในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าก็จะลดลง สอดคล้องกับปริมาณขยะที่ถูกจัดการมาอย่างถูกต้องและเหมาะสำหรับนำมาแปรรูปเป็นพลังงานจริง ๆ

หากพูดถึงเรื่องการสร้างรายได้จากการแปรรูปขยะเป็นทรัพยากรมีค่าและพลังงานอย่างไรให้ถึงมือประชาชน ก็ต้องเริ่มจากประชาชนทุกคน ให้ความร่วมมือในการแยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทรัพยากรขยะที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาท สร้างมาตรการส่งเสริมแรงจูงใจการแยกขยะในภาคครัวเรือน โดยอาจนำโมเดลการแยก - แลก – ได้เงิน แบบ ‘ซาเล้ง’ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง