อินทัช สืบสานต่อยอดวรรณกรรมไทย สู่งานศิลป์ 

13 ก.พ. 2564 | 08:55 น.

อีกหนึ่งกิจกรรมทางสังคมของ บริษัท อินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ที่มีเป้าหมายส่งเสริมและผลักดันให้เยาวชนไทยรักการอ่าน พร้อมรู้จักวิเคราะห์ตีความ ต่อยอดจินตนาการสู่งานศิลป์ ในหัวข้อ “ฉันรักเมืองไทย” และ “รักษ์สิ่งแวดล้อมรักษ์โลกของเรา” ในโครงการจินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ปีที่ 14 

อาจารย์เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน โครงการจินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัชกล่าวว่า การประกวดในเวทีนี้ ช่วยส่งเสริมงานศิลปะ 2 ประเภท คือ จิตรกรรม และวรรณกรรม ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องอ่านวรรณกรรมก่อน เพราะการอ่านเป็นต้นทางของจินตนาการและต้นทางของความคิด สำคัญที่สุดคือให้เด็กได้รักการอ่านอย่างแท้จริง 

 

อินทัช สืบสานต่อยอดวรรณกรรมไทย สู่งานศิลป์ 

หากได้อ่านหนังสือจะแตกฉานภูมิปัญญามากขึ้น ทำให้งานเขียนรูป หรืองานศิลปะมีเนื้อหา สร้างสรรค์ โดดเด่นกระทบความรู้สึกของเรา มากกว่าที่จะเขียนจากจินตนาการอย่างเดียว

จากผลงานของเยาวชนทั่วประเทศตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ถึงอุดมศึกษากว่า 1,430 ผลงาน ผ่านการตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสายทัศนศิลป์ และวรรณศิลป์ 7 ท่าน 

 

อาจารย์เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์

ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ เด็กชายนนทพัทธ์ พุตสุด โรงเรียนบ้านโนนเขวาผลงาน หน้ากากผี จากวรรณกรรม ประเพณีพื้นบ้าน ตำนานพื้นเมือง, มัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ เด็กหญิงกัลยณัฏฐ์โอษธีศ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ผลงาน เสน่ห์กทม. จากวรรณกรรมเรื่อง ครอบครัวกลางถนน, มัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ นายธนพงษ์ สีหมอก โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง ผลงาน ตัวไกลใจไทย จากเพลงคิดถึงเมืองไทยอุดมศึกษา ได้แก่ นายพฤทธิ์ วันทะนัง วิทยาลัยเพาะช่าง ผลงาน วัฏจักรของชีวิต 2 จากวรรณกรรม เพชรพระอุมา วิธีนี้ถือเป็นนี่การส่งเสริมการอ่านหนังสือที่ดีที่สุดให้กับเยาวชน 

 

อินทัช สืบสานต่อยอดวรรณกรรมไทย สู่งานศิลป์ 

 

ความแตกต่างของโครงการ ในปีนี้ คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ปีนี้ต้องปรับรูปแบบงาน ให้เยาวชนสมัครเข้าร่วมโครงการ และนำเสนอผลงานผ่านออนไลน์ การจัดนิทรรศการเสมือนจริง virtual exhibition เพื่อสร้างการนำเสนอมุมมองใหม่ สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และยังคำนึงถึงมาตรการป้องกันตนเองตามที่รัฐกำหนดอย่างเคร่งครัด

สุดท้ายคือ การเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถชมและเลือกซื้อภาพการกุศลผ่านระบบ E-Commerce ได้ทาง www.intouchstation.com รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเป็นทุนการศึกษาของนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซีพีเอฟ ตั้งกองทุนหมุนเวียนหนุนชุมชนฝ่าโควิด -19

ก.ล.ต. เปิด “รู้เรื่องเงิน.com” เสริมทักษะการเงิน

ซีพีเอฟเสริมมาตรการรัฐ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยไร้ที่พึ่ง

 

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  หน้า 23 ฉบับที่ 3,652 วันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564