ศบศ.รับทราบมาตรการเยียวยาเราชนะ-ม.33เรารักกัน รายละเอียดเช็กที่นี่

04 มิ.ย. 2564 | 22:05 น.

ศบศ.รับทราบมาตรการเยียวยาเราชนะ และ ม.33เรารักกัน หลังนายกฯนั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ประชุมผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ รายละเอียดเช็กที่นี่

เมื่อวานนี้ (4มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ) ครั้งที่ 2/2564 ผ่านระบบ VDO Conference โดยที่ประชุมรับทราบและพิจารณาเห็นชอบวาระที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้

รับทราบความคืบหน้า โครงการเราชนะ

  • ความคืบหน้าล่าสุด จากข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีรายละเอียดดังนี้
  • กลุ่มประชาชน มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ทั้งสิ้น 33.1 ล้านคน
  •  มีมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้ว รวมทั้งสิ้น 257,997 ล้านบาท  ดังนี้

กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.7 ล้านคน

 ซึ่งได้มีการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 97,367 ล้านบาท

  • กลุ่มผู้ใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง

 จำนวน 17.0 ล้านคน แบ่งเป็น

กลุ่มผู้มีแอปพลิเคชันเป๋าตัง 8.4 ล้านคน

และกลุ่มผู้ไม่ได้อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชันเป๋าตัง 8.6 ล้านคน  มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 141,254 ล้านบาท

  • กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ อาทิ ผู้ที่เข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต ผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ จำนวน 2.4 ล้านคน ซึ่งได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา จานวน 19,376 ล้านบาท และกลุ่มผู้ประกอบการ มีจำนวนรวม 1.3 ล้านกิจการ

 แบ่งตามยอดมูลค่าการใช้จ่ายได้ดังนี้

  •  ร้านค้าทั่วไปและอื่น ๆ มูลค่าการใช้จ่าย 104,156 ล้านบาท
  • ร้านธงฟ้า มูลค่าการใช้จ่าย 88,850 ล้านบาท
  • ร้านอาหารและเครื่องดื่ม มูลค่าการใช้จ่าย 49,194 ล้านบาท
  • ร้าน OTOP มูลค่าการใช้จ่าย 10,685 ล้านบาท
  • ร้านค้าบริการ มูลค่าการใช้จ่าย 4,944 ล้านบาท
  • ขนส่งสาธารณะ มูลค่าการใช้จ่าย 168 ล้านบาท

 

มาตรการด้านแรงงาน ม.33เรารักกัน

ความคืบหน้าล่าสุด จากข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 มาตรการ ม.33 เรารักกัน มีผู้ได้รับสิทธิ์โครงการรวมทั้งสิ้น 8,138,627 คน คิดเป็นวงเงิน 48,831.8 ล้านบาท สำหรับข้อมูลการใช้จ่ายสะสมของโครงการฯ มีผู้ประกันตนใช้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 8,040,416 ราย มีร้านค้าที่เข้าร่วมให้บริการจำนวน 1,069,838 ราย และมีมูลค่ารวมยอดการใช้จ่ายทั้งหมด 39,317.2 ล้านบาท นอกจากนี้ โครงการฯ ส่งผลให้ผู้ประกันตนที่ว่างงานกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ผ่านแอปพลิเคชันถุงเงินจำนวน 96,830 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปริญญาตรีและประกาศนียบัตรขั้นสูง

มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจและมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชาระหนี้ จากข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ประกอบด้วย

โครงการสินเชื่อฟื้นฟู มีสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 20,839.3 ล้านบาท มีจานวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 8,218 ราย คิดเป็นวงเงินอนุมัติเฉลี่ยจานวน 2.54 ล้านบาทต่อราย

โครงการพักทรัพย์พักหนี้ (Asset Warehousing) มีจานวนผู้ได้รับความช่วยเหลือแล้วทั้งสิ้น 4 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 909.68 ล้านบาท

เห็นชอบในหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่าและปานกลางของจังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) ตามข้อเสนอของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่จะมีกาหนดดาเนินการในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยมีกาหนดแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว ดังนี้

  • เปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสตามเกณฑ์ของวัคซีนแต่ละชนิด มีระยะเวลาการฉีดมากกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี และเป็นผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศต้นทางที่มีความเสี่ยงต่า – ปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
  • กำหนดให้เด็กอายุต่ากว่า 6 ปี ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองที่ฉีดวัคซีนแล้วเดินทางเข้าได้ ในขณะที่เด็กอายุระหว่าง 6 – 18 ปี จะต้องได้รับการตรวจเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงสนามบินภูเก็ต
  •  มีเอกสารรับรองการฉีดจากประเทศต้นทาง โดยวัคซีนจะต้องขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย หรือได้รับการรับรองโดย WHO
  • มีการติดตั้งแอบพลิเคชันแจ้งเตือน
  • พานักในโรงแรมที่พักที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ ในเวลา 14 คืน และภายหลังการพานักตามระยะเวลาที่กาหนดสามารถเดินทางไปยังพื้นที่อื่นในประเทศไทยได้
  •  รายงานตัวและรับการตรวจเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และสามารถทากิจกรรมท่องเที่ยวได้ภายใต้มาตรการป้องกันตามมาตรฐาน DMHTTA

ขณะเดียวกัน มีการดำเนินการเตรียมพื้นที่รองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวภายใต้แผนการพัฒนาเมืองภูเก็ต (Better Phuket Initiatives) อาทิ

  • การปรับปรุงภูมิทัศน์
  •  โครงการสร้างคุณค่าและประสบการณ์โดยการท่องเที่ยววิธีชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์
  • การพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรทางการท่องเที่ยว
  •  การดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ททท. นาเสนอรายละเอียดของแผนการดาเนินงานต่อศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

เห็นด้วยกับข้อเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ตามข้อเสนอของทีมปฏิบัติการเชิงรุกทาบทามทั้งบริษัทเอกชนไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างรายได้ การลงทุน และเพิ่มโอกาสการจ้างงานภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย

  • กลุ่มประชากรโลกที่มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen) ซึ่งรวมถึงนักลงทุนที่มีกาลังซื้อสูงภายใต้โปรแกรม (Flexible Plus Program)
  • ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner)
  • กลุ่มที่ต้องการทางานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand professional)
  •  กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-skilled professional)

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดที่ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ หลายประการ ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทารายละเอียดของแผนการดาเนินงานด้านต่าง ๆ และนาเสนอ ศบศ. พิจารณาต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง