ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้อำนาจเจ้าพนักงาน "จับกุม-เรียกตัว-ตรวจค้น-ยึดอายัด"

15 ต.ค. 2563 | 00:48 น.

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ข้อกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้อำนาจเจ้าพนักงาน "จับกุม-เรียกตัว-ตรวจค้น-ยึดอายัด"

วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งนายกรัฐมนตรี  "ประกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548"

 

ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น

 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะติด "ม็อบ 14 ตุลา" ชุมนุม คณะราษฎร 2563 ได้ที่นี่

นายกฯ "ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ" ในพื้นที่กทม.

นายกฯ ตั้ง "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบุข้อกำหนด ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน

 

ข้อ ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วม กระทําการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทําเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทําให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจําเป็นเพื่อป้องกัน มิให้บุคคลนั้นกระทําการหรือร่วมมือกระทําการใด ๆ อันจะทําให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิด ความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยปฏิบัติตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘

ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออกคําสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคําหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออกคําสั่งยึดหรืออายัดอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ในการสื่อสารหรือการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทําการ ส่งเสริม หรือสนับสนุนการกระทําให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออกคําสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทําลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจําเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทําให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ร้ายแรงนั้นได้ทันท่วงที

 

ข้อ ๕ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอํานาจสั่งห้ามมิให้บุคคลกระทําการใด ๆ หรือสั่งให้กระทํา การหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เท่าที่จําเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน

ข้อ ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งการ ห้ามกระทําการอย่างใด ๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคม หรือกระทําการอื่นใดที่ทําให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติในเขตพื้นที่ ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

ข้อ ๗ ในการดําเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้ใช้มาตรการตามความจําเป็น และเหมาะสม โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควร

 

ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอํานาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการใช้อํานาจของพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้ได้ตามที่เห็นสมควร

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ประกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ประกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ที่มา ราชกิจจานุเบกษา