รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์" อดีตโฆษกรัฐบาล ในภารกิจ "ประกบม็อบ" 

16 ส.ค. 2563 | 06:24 น.

เปิดประวัติ "นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์" อดีตโฆษกรัฐบาลในสมัย "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับภารกิจกมธ.สิทธิมนุษยชน ในการลงพื้นทีติดตามสถานการณ์ม็อบ

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัว "นายพริษฐ์  ชีวารักษ์" หรือ “เพนกวิน” แกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มเยาวชนปลดแอก ผู้ต้องหาตามหมายจับข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 และข้อหาอื่นๆ รวม 7 ข้อหา 

 

โดยบรรยากาศของการปล่อยตัวนายพริษฐ์ ปรากฏว่ามี "นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์" หรือ หมอทศ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปรากฏตัวประกบติดอยู่ด้านหลังของนายพริษฐ์ 

 

 

รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์"  อดีตโฆษกรัฐบาล ในภารกิจ "ประกบม็อบ" 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” 2 ม็อบ เลือกใช้เป็นที่นัดชุมนุมวันนี้ 

"เพนกวิน"ได้ประกันตัว ศาลห้ามทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา

ม็อบนักศึกษา "รามฯ-จุฬาฯ" จี้แก้รธน.-ยุบสภา-หยุดคุกคาม

ศาลอนุมัติออกหมายจับ 15 แกนนำม็อบนักศึกษา

 

และก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 63 นายแพทย์ทศพร เองก็ปรากฏตัวอยู่วงนอกในการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่นำโดยนายพริษฐ์ ที่ด้านหน้ากองบัญชาการกองทัพบก 

รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์"  อดีตโฆษกรัฐบาล ในภารกิจ "ประกบม็อบ" 

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบประวัติของ นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ พบว่า เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(โฆษกรัฐบาล) ช่วง วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ในรัฐบาลที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี  นอกจากนี้ยังเป็นอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ 

รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์"  อดีตโฆษกรัฐบาล ในภารกิจ "ประกบม็อบ" 

นายแพทย์ทศพร เกิดวันที่  8 มีนาคม พ.ศ. 2498 ปัจจุบันอายุ 65 ปี เป็นคนจังหวัดตรัง เริ่มต้นการเมืองในนาม พรรคชาติไทย ปี พ.ศ. 2539-2544 พรรคไทยรักไทย พ.ศ.2544-2550 พรรคเพื่อไทย พ.ศ.2555-2561,2562-ปัจจุบัน และไทยรักษาชาติ 2561-2562

 

นายแพทย์ทศพร เป็นบุตรของนายอุทัย เสรีรักษ์ กับนางทัศนีย์ เสรีรักษ์ สมรสกับนางปานหทัย เสรีรักษ์ บุตรสาวของดร.เมธา หรือพ่อเลี้ยงเมธา เอื้ออภิญญกุล และเป็นพี่สาวของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล

 

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต และแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดลเช่นเดียวกัน

 

การทำงาน นายแพทย์ทศพร รับราชการเป็นนายแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อนจะลาออกจากราชการมาทำงานการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ก่อนจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2550

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย 

ก่อนหน้านี้ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ให้สัมภาษณ์ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง หลายหน่วยงาน ดักอุ้มแกนนำนักศึกษาที่หอพัก รวมทั้งข่มขู่คุกคามนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาจัดแฟลชม็อบเรียกร้องให้มีการยุบสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญและตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังเกิดขึ้นทั่วประเทศ 

รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์"  อดีตโฆษกรัฐบาล ในภารกิจ "ประกบม็อบ" 

ในฐานะที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน รู้สึกเป็นห่วงในสวัสดิภาพของน้องๆ นิสิต นักศึกษา จึงมีการหารือกับฝ่ายการเมืองเพื่อหาทางช่วยเหลือ น้องๆ เหล่านี้ ซึ่งนักการเมืองหลายท่านก็พร้อมที่จะช่วย จึงขอแจ้งไปยังกลุ่มนักศึกษาว่าหากมีการคุกคามหรือดำเนินการจับกุมให้เก็บรวบรวมหลักฐานและแจ้งมายังเพจเฟซบุ๊ก 'นพ.ทศพร เสรีรักษ์' ได้ตลอดเวลา 

 

นพ.ทศพร กล่าวด้วยว่า การจัดกิจกรรมแฟลชม็อบครั้งนี้ ในฐานะนักการเมืองขอเคารพการใช้สิทธิเสรีภาพของกลุ่มเยาวชน เพราะเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ตามหลักสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งการดำเนินการของนิสิต นักศึกษา ไม่ควรที่จะมีใครไปข่มขู่คุกคาม ทั้งตัวนักศึกษาหรือครอบครัวของเขา หากการทำผิดกฎหมายก็เป็นเรื่องของตัวบุคคล ฝ่ายคุมอำนาจรัฐไม่ควรเหมารวม อย่าไปทำร้ายเขา เพราะไม่ควรมีคนถูกทำร้ายเพราะไปแฟลชม็อบ

 

ส่วนท่าทีของพรรคเพื่อไทยในความเคลื่อนไหวของกลุ่มนิสิตนักศึกษาในช่วงนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 14 ส.ค. เผยแพร่ข่าวระบุว่า 

 

ส.ส.เพื่อไทย ในฐานะ คทง.ติดตามการชุมนุม ลงพื้นที่ สน.สำราญราษฎร์ สังเกตการณ์กรณีเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวแกนนำนักศึกษา

 

14 สิงหาคม 2563 นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อติดตามการชุมนุมของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน ในคณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายภาควัต ศรีสุรพล ส.ส.ขอนแก่น นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฯ นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ และ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ เพื่อสังเกตการณ์กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวแกนนำนักศึกษา

รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์"  อดีตโฆษกรัฐบาล ในภารกิจ "ประกบม็อบ" 

นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะทำงานฯ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร ได้แต่งตั้งตัวแทน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นคณะทำงานฯ เพื่อสังเกตการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในจุดที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ซึ่งถ้าพบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้การช่วยเหลือในด้านใดก็จะดำเนินการ พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดไปยังคณะกรรมาธิการการปกครองให้รับทราบต่อไป

 

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่า ขณะนี้กระแสการคุกคามกลุ่มผู้ชุมนุม นักเรียน นิสิต นักศึกษาโดยเจ้าหน้าที่รัฐเริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงอยากเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่าการจะสร้างความปรองดองนั้นรัฐบาลต้องแสดงความจริงใจ ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการพูดเพียงอย่างเดียว ในขณะที่รัฐบาลพร่ำบอกว่าอยากรับฟังประชาชน โดยมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมารับฟังเพื่อแก้ไขปัญหา แต่เหตุการณ์การคุกคามต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นและอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดอง ดังนั้นคณะทำงานฯ จึงจะพยายามหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นมาอีก และในฐานะผู้แทนราษฎรก็มีหน้าที่ในการนำเสียงเรียกร้องของประชาชนในเรื่องต่างๆ สื่อไปให้ถึงรัฐบาลโดยไม่ถูกรบกวน อีกทั้ง คนรุ่นใหม่ คือกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องรับฟังเสียงของพลังสำคัญในอนาคตเหล่านี้

 

นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่า การชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งในฐานะ ส.ส. ก็ต้องช่วยดูแลความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้ชุมนุม ซึ่งชุมนุมโดยสันติและปราศจากอาวุธ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้แบ่งงาน ส.ส. แต่ละพื้นที่ในการดูแลประสานงาน ทั้งนี้ขอเรียกร้องให้รัฐบาลออกมายืนยันให้ชัดเจนว่าจะไม่คุกคามประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาก็ยังมีกระแสรัฐบาลข่มขู่หรือตั้งข้อกล่าวหาเกินกว่าเหตุอยู่