อัพเดท "พรก.ฉุกเฉิน" ยังห้ามทำอะไรบ้าง ฝ่าฝืนมีโทษอย่างไร ตรวจสอบที่นี่

20 ส.ค. 2563 | 11:40 น.

ไขข้อข้องใจ หากรัฐบาลขยายเวลาพรก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ถึง สิ้นเดือนกรกฎาคม 2563 ยังมีข้อกำหนด ข้อห้ามอะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการผ่อนปรน คลายล็อกดาวน์ หากฝ่าฝืนมีโทษอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

กรณีคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่มีพล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เป็นประธานได้มีมติให้ขยายระยะเวลาการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พรก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2563 โดยจะเสนอให้ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. ชุดใหญ่ พิจารณาในวันที่ 29 มิถุนายน 2563 

21 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ได้ข้อสรุป เตรียมเสนอต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่จะหมดอายุวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ต่อไปอีก 1 เดือน ถึง สิ้นเดือนสิงหาคม 2563

22 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน มีวาระการพิจารณาที่สำคัญคือการผ่อนปรนมาตรการ ระยะ 6 รวมถึงการพิจารณาขยายการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน ถึงสิ้นเดือนส.ค.นี้ หลังจากของเดิมจะครบกำหนดในวันที่ 31 ก.ค.

ล่าสุดพลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ยืนยันว่าสถานการณ์โลกยังรุนแรงรายล้อมประเทศไทย จึงต้องใช้พรก.ฉุกเฉินอีกระยะหนึ่ง เพราะจะต้องมีการเปิดประเทศมากขึ้นด้วย และพรก.ใน มาตรา 9 จะไม่มีการห้ามการชุมนุมในการต่อพรก. ส่วนการชุมนุมจะต้องใช้กฎหมายปกติในการควบคุม

จากการตรวจสอบของ “ฐานเศรษฐกิจ” พบว่า ภายหลังรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ตามพรก.ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 นั้นรัฐบาลได้ออก ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 1) มีคำสั่งและข้อห้ามที่สำคัญ ดังนี้

  • ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยง ต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19
  • ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค
  • ปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในการใช้ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นอากาศ ยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่นใด หรือในการใช้เส้นทางคมนาคมไม่ว่าทางอากาศ ทางน้ํา หรือทางบก เพื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
  • ห้ามกักตุนสินค้า ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจําวัน
  • ห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทําการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
  • ห้ามการเสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทําให้เกิดความเข้าใจผิด  
  • ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ
  • บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษตามมาตรา 18 แห่งพรก.ฉุกเฉิน จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ หรือมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปีหรือปรับไม่เกิน140,000หรือทั้งจําทั้งปรับ แล้วแต่กรณี 

ต่อมาในวันที่ 2 เมษายน 2563 ได้มีการประกาศเคอร์ฟิว ห้ามบุคคลใดทั่วรำชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา22.00 น. ถึง 04.00น. ของวันรุ่งขึ้น ด้วยการออกข้อกำหนดออกตามควมในมาตรา 9 แห่งพรก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2)

จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า หลังจากมีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน และประกาศเคอร์ฟิวแล้ว รัฐบาลได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ผ่อนคลายล็อกดาวน์ ข้อกำหนดตามประกาศพรก.ฉุกเฉินมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ศบค.มีมติยกเลิกเคอร์ฟิว เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา แต่ยังคงควบคุมการเดินทางเข้าประเทศ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ พร้อมให้ผ่อนคลายล็อกดาวน์ ระยะที่ 4 ในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิต กิจกรรมด้านออกกําลังกาย การดูแลสุขภาพหรือสันทนการ โดยเน้นย้ำให้ทุกกิจการ กิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลายปฏิบัติตามมาตรการควบคุมอย่างแคร่งครัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อห้ามสำคัญตามข้อกำหนดที่ยังไม่ผ่อนปรน มีดังนี้

  • การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในการใช้ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นอากาศ ยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่นใด หรือในการใช้เส้นทางคมนาคมไม่ว่าทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางบก เพื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยเรื่องนี้จะมีการเสนอให้ศบค.ชุดใหญ่พิจารณาผ่อนคลายมาตรการในวันที่ 29 มิถุนายนนี้
  • การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจําวัน
  • การห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทําการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย (เตรียมเสนอครม.ยกเลิก)
  • ห้ามการเสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทําให้เกิดความเข้าใจผิด

หมายความว่าผู้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามที่ยังไม่ไม่ได้รับการผ่อนคลาย ผ่อนปรนล็อกดาวน์ จะมีโทษตามมาตรา 18 แห่งพรก.ฉุกเฉิน จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ หรือมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปีหรือปรับไม่เกิน140,000หรือทั้งจําทั้งปรับ แล้วแต่กรณี เพราะบทกำหนดโทษดังกล่าวยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

อีกคำสั่งที่สำคัญหลังรัฐบาลประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน คือ ประกาศเรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี ตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี มีสาระสำคัญคือ โอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมาย 40 ฉบับ มาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน ตรวจสอบรายละเอียดที่นี่ คลิก 

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประกาศฉบับดังกล่าว ทำให้การใช้อำนาจตามกฎหมายทั้ง 40 ฉบับ ยังเป็นของนายกรัฐมนตรี

29 มิถุนายน 2563 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมถึงกรณีที่จะมีการปรับปรุง พระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ.2558 ที่จะนำบางมาตรการในพรก.ฉุกเฉินไปบัญญัติไว้ว่า เรื่องดังกล่าวจะยังไม่มีการพิจารณาในที่ประชุมศูนย์บศบค. เพราะต้องแยกออกมาพิจารณา เพื่อเสนอต่อสภาฯพิจารณา คงต้องใช้เวลายาวพอสมควร อาจจะนานเป็นปี ดังนั้นคงไม่ทันที่จะนำมาแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในช่วงนี้

รายละเอียด ประกาศ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศพรก.ฉุกเฉินทั้งหมด ได้ที่ สำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) คลิก

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.)