ครึ่งทางคดีจำนำข้าว ขยับใกล้ ‘ยึดทรัพย์’ ยิ่งลักษณ์-บุญทรง

15 เม.ย. 2560 | 01:00 น.
คดีที่รัฐฟ้องและเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แยกออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ คดีทางการเมืองคดีทางอาญา และการฟ้องร้องทางแพ่งแม้คดีความ และมีผู้อยู่ในข่ายถูกดำเนินคดีมากมาย หากโฟกัสอยู่ที่คดียิ่งลักษณ์ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกับบุญทรงเตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กับพวกรวม 6 คน

คดีจำนำข้าวที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2558 มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2 ปีเศษที่ผ่านมา โดยคดีทางการเมืองที่อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าปล่อยปละละเลยไม่ดูแลนโยบาย ถูกถอดถอนและตัดสิทธิการเมือง 5 ปี เช่นเดียวกับ บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (รัฐบาลยิ่งลักษณ์) ที่ถูกถอดถอนและตัดสิทธิทางการเมืองเช่นกัน

ทั้งนี้คดีจำนำข้าวเป็นผลจากการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดด้วยราคาสูงกว่าราคาตลาดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ระหว่างปี 2554-2555 ซึ่งต่อมาคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ระบุว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐถึง 1.78 แสนล้านบาท

ทางด้าน “คดีอาญา” ที่ตระกูลวินิจนัยภาค อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และความผิดตาม พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวนั้นนับจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งประทับรับฟ้อง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 คดีเริ่มไต่สวนพยานฝ่ายจำเลยมาแล้ว 4 นัด โดยความผิดตามที่อัยการสูงสุดฟ้องอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์นั้นมี กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 10 ปี

มาถึง ความรับผิดทางแพ่ง ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ใช้มาตรา 44 เพื่อออกคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหายจากอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ และบุญทรงอดีตรัฐมนตรีพาณิชย์กับพวกรวม 6คน โดยคณะกรรมการพิจารณาคดีทางแพ่ง สรุปให้เรียกค่าเสียหายจาก อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ถึง 3.57 หมื่นล้านบาทหรือ 20% ของมูลค่าความเสียหายรวม(1.78 แสนล้านบาท)

ส่วน บุญทรงกับพวก โดนเรียกค่าเสียหาย 2 หมื่นล้านบาท แยกเป็น 1. บุญทรง 1.77 พันล้านบาท 2. ภูมิสาระผล อดีตรมช.พาณิชย์ 2.2 พันล้านบาท 3. พ.ต.น.พ.วีรวุฒิ วัจนะพุกกะ (อดีตหน้าห้องบุญทรง) 4. มนัสสร้อยทอง 5. ทิฆัมพร นาทวรทัต และ 6. อัครพงศ์ ทัปวัชระ อันดับที่ 3-6 ถูกเรียกค่าเสียหายเท่าๆ กันคนละ 4 พันล้านบาท สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เหลือคาดว่าจะเรียกกับเจ้าหน้าที่และเอกชนที่จะถูกดำเนินคดีในขั้นต่อไป

ด้านอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ และบุญทรงกับพวก แม้ได้รับหนังสือให้ชดใช้ค่าเสียหาย จากความเสียหายที่เกิดขนึ้ จากโครงการรับจำนำข้าว และตามขั้นตอนหากภายใน 45 วัน ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ติดต่อว่าจะชำระเมื่อไหร่อย่างไร กรมบังคับคดี ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ สามารถยึดทรัพย์ได้เลย แต่ในทางคดีผู้ถูกกล่าวหา มีสิทธิใช้ช่องทางสู่คดีผ่านศาลปกครองเช่น บุญทรง อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ขอให้ศาลทุเลาคำสั่งเรียกค่าเสียหาย ซึ่งต่อมาศาลฯยกคำร้องโดยแจงว่า รัฐยังไม่มีมาตรการบังคับทางปกครอง ด้วยการยึดหรือขายทรัพย์ของ บุญทรง นัยหนึ่งคือให้เกิดเหตุเสียก่อนค่อยมาขอทุเลา

เช่นเดียวกับ อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่ร้องขอความเป็นธรรม จากศาลปกครองกลางเช่นให้กันโดยฟ้องนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วย และ ปลัด กระทรวงการคลัง ให้เพกิ ถอนคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหาย 3.5 หมื่นล้านบาทจากคดีจำนำข้าว ซึ่งเริ่มไต่สวนไปเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

กล่าวโดยสรุปแล้ว คดีโครงการรับจำนำข้าว คดีประวัติศาสตร์ ที่การดำเนินคดี ผ่านมากว่า 4 ปี คืบหน้าไปกว่าครึ่งทางแล้ว นับจากคดี การเมืองที่ปิดฉากเรียบร้อย คดีอาญา และ คดีทางแพ่ง กำลังงวดเข้าสู่ช่วงสำคัญคือเข้าโหมดยึดทรัพย์ อีกด้านคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท) ได้สรุปสำนวน 986คดี พร้อมส่งรายชื่อ ผู้ถูกกล่าวหา 302คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ ให้หน่วยงานต้นสังกัด ดำเนินการทางวินัยและอาญาต่อไป เมื่อต้นเดือน เมษายนที่ผ่านมา
เป็นความคืบหน้า…ที่สอดแทรกด้วยเสียงจากอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์เรียกร้องให้บังคับใช้กฎหมายกับทุกคน“...ไม่ใช่เลือกปฏิบัติกับฝั่งดิฉันฝ่ายเดียว” ที่สื่อตรงถึง พล.อ. ประยุทธ์นายกรัฐมนตรี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,252 วันที่ 13 - 15 เมษายน พ.ศ. 2560