แพทย์รามาฯ ชี้โควิด19 รอบนี้ รพ.เกิดปรากฏการณ์ ป้อมแตก เข้าขั้นวิกฤตของประเทศ

23 เม.ย. 2564 | 12:57 น.

แพทย์รามา ชี้วงจรโควิด-19 เข้าขั้นวิกฤตของประเทศ หลังรัฐบาลเลือกไม่ล็อกดาวน์ช่วงสงกรานต์ โรงพยาบาลเกิดปรากฏการณ์ป้อมแตก วอนทุกคนช่วยกันหยุดวงจร ก่อนจะไม่มีเตียงและยาที่จะรักษา

นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊ก Suppachok NeungPeu Kirdlarp ระบุข้อความว่าจากนโยบายที่รัฐบาลเลือกที่จะไม่ lock down และยังให้เปิดการไปมาระหว่างจังหวัด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะไม่สามารถจะทำการ lock down ได้อีกแล้ว ด้วยหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งถ้าทำ lock down อีกเศรษฐกิจก็จะยิ่งไปใหญ่

แต่ไม่ว่าเหตุการณ์นี้จะถูกมองกันว่าอย่างไร แต่สิ่งที่เราพบต่อมาหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ เราพบว่า

- ผู้ป่วยที่รับใหม่เริ่มเป็นวง 2 หมดแล้ว เป็นผู้สูงอายุ พ่อ แม่ ปู่ ยา ตายาย มี co-morbid มากๆ แถมบางคนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ด้วย

- การติดเชื้อ ส่วนใหญ่เป็น contact confirm เคส นั่นก็คือลูกๆที่กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย บายคนบอกว่าลูกหลานกลับมาจากเที่ยว หรือกลับมาช่วงเทศกาลสงกรานต์

- แต่2-3 วันมานี้คือ tracking ไม่ได้แล้วนะว่าไปติดมาจากไหน ใช้แต่อาการแสดงทาง clinical + lab + CXR ถามไม่ได้ความเสี่ยงอะไรเลย เอาจริงๆมันก็คือ phase 3 แล้วแหล่ะ แต่รัฐบาลคงเลิกประกาศแล้วมั้ง และคนคงเลิกสนใจแล้วแหล่ะ

 

- ความพีคคือมีหลายๆ ความยากลำบากเช่น

- พ่อแม่บวก ลูกลบ แต่ลูกอายุ 3 เดือน

- ปู่ย่า บวก เป็นผู้ป่วยติดเตียง ลูกเอามาติด นอน ICU แต่ลูกอีกคนที่เป็น caregiver negative และนอนติดเตียง

- ตายายเป็นผู้ป่วยติดเตียง แต่เป็นลบ ลูกผู้ดูแลเป็นบวกและต้อง admit ไม่มีใครดูแลตายาย และไม่มีใครพาตายาไป swab เนื่องจากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

- คนไข้ที่นอนตั้งแต่ช่วงแรก 50-60% เป็น pneumonia ทั้งๆที่ admit ค่อนข้างเร็วแล้ว และ10-20% อาการหนัก ต้องเข้า intermediate/ICU และบางส่วนต้อง intubation ไปถึงแม้จะพยายามให้ยา Favipiravir/dexamethasone ไปเร็วแค่ไหน แต่ถ้า co-morbid มากยังไงก็เอาไม่อยู่

- คนไข้เก่าขยับไม่ออก คนไข้ใหม่ก็เข้ามาไม่ได้ เกิดปรากฎการคอขวด ขึ้นมาเลยในหลายๆที่

- คนไข้ที่รออยู่บ้าน ซึ่ง40-50% จะเกิด pneumonia มีคนไข้บางส่วนที่เริ่มเหนื่อย และได้รับการ admit ช้า (DOI8-9) และ delay treatment ทำให้คนไข้อาการหนักมาตั้งแต่แรกรับ และต้องเข้า intermediate/ICU มากกว่าเดิม เปิดเพิ่มเท่าไหร่ก็ไม่พอ (เพราะมีแต่เตียง ไม่มีคนพอ เราเรียกเตียงทิพย์)

- โรงพยาบาลต่างๆเกิดปรากฏการณ์ “ป้อมแตก” มีคนไข้บวกในward ที่เป็น ward สามัญ หรือมีเข้าหน้าที่ติดเชื้อมาจากบ้านโดยไม่ได้ตั้งใจ (อาจจะเพราะไปได้มาจากลูกหลาน, บางส่วนได้มาเพราะยังไปสถานที่ชุมนุมชนเช่น fitness เป็นต้น)

- มีเพื่อน คนรู้จัก หรือแพทย์/เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หลายคนที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะติดจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อโดยที่เราไม่ทันทราบ และไม่ได้ตั้งใจ หลายๆคนใช้ชีวิตปลอดภัยมากแต่พลาดเพราะไม่รู้ว่าคนที่เราอยู่ใกล้ๆ นำพาเชื้อมา (เพราะไม่คิดว่าเค้าจะติดได้ เราเลยประมาท)

- เป็นช่วงที่เริ่มได้ notice ว่าให้ใช้ favipiravir ด้วยความจำกัดจำเขี่ยมากขึ้นจนทำให้เรากลัวเหลือเกินว่าจะมียาเหลือพอหรือไม่

- และมันก็เกิดวงจรที่ไม่ควรเกิด=> เตียงไม่พอ => admit ไม่ได้ => รออยู่บ้าน => อาการหนักเพราะ delay ยา=> ต้องใช้ยาเยอะกว่าเดิมและใช้ ICU => กินเตียงนาน => เตียงเต็มเตียงไม่พอ วนไปเป็นนิรันทร์

- นอกจากนี้พอทุกๆ ที่เกินศักยภาพ มีการประสานส่วนกลางเพื่อกระจายเคสหนักเข้า ICU ในแต่ละรพที่มีศักยภาพ

- แต่เตียงก็มันเต็มมมมมมมมม จนอยากจะบอกว่ารับไม่ได้อ่า ฝ่ายจัดการเตียงและทรัพยากรก็หมุนกำลังเต็มที่ หมุนจนไม่คิดว่าเราจะทำได้ขนาดนี้

- เจ้าหน้าที่ทำงานหนักแบบ 200% ทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่บุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรอื่นๆนอกโรงพยาบาล

- บางโรงพยาบาลไม่วามารถรับเคสได้อีกเพราะเตียง “ล้น” บางโรงพยาบาลคนหายไปเพราะถูก quarantine หรือ ติดเชื้อไปบางส่วน

- การดูแลผู้ป่วย non covid เริ่มได้รับปัญหาเรื่อยๆเพราะเกิดการ down size ระบบบริการเพื่อไปเทกับ COVID care

- สถานการณ์ที่เป็นแบบนี้ ยาที่เริ่มจำกัดจำเขี่ย เราก็ยังได้ยิน timeline ประหลาดๆเช่น บุคคลชั้นสูงของบางกิจการติดเชื้อเป็นร้อยเพราะไปจ้างสาวPR มาจัดงานเลี้ยงในช่วงเวลาแบบนี้ เป็นต้น

- ข่าวผู้เสียชีวิตรายวันเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ช้าๆ

สุดท้าย ภาพที่เห็นในอนาคตนี้ช่างยากลำบากเหลือเกินขอให้ทุกท่านช่วยกัน และรีบร่วมมือหยุดวงจรเหล่านี้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้น อาจจะมีวันที่เราไม่เหลือเตียงและยารักษาหวังว่าเบื้องบนระดับผู้ใหญ่ระดับประเทศจะเห็นพ้องตรงกันว่า นี่คือวิกฤตของประเทศแล้ว