แถลงการณ์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

20 ต.ค. 2563 | 21:00 น.

คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์จำนวน 3 ข้อ ขอให้ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มในสังคม สื่อสารด้วยเหตุผล

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 จากกรณีการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 2563 และรัฐบาลใช้อำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในการดำเนินการกับสื่อมวลชน ทำให้ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.)ได้ออกแถลงการณ์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า 

 

จากคําสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 4/2563 ให้สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดําเนินการตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศรายการ หรือระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสื่อบางแห่ง 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะติด สถานการณ์การชุมนุม ม็อบคณะราษฎร 21 ตุลาคม 2563 

แถลงการณ์6องค์กรสื่อ คัดค้านการคุกคามทุกรูปแบบ แนะสื่อต้องไม่บิดเบือน

กอร.ฉ.สั่ง กสทช.- ดีอีเอส ตรวจสอบ-ระงับการออกอากาศ 5 สื่อ

นายกฯสั่งทบทวนคำสั่งปิดสื่อ เว้น กรณีเผยแพร่ข้อมูลเท็จ-บิดเบือน-ยุยง-ปลุกปั่น

ศาล สั่งปิดทุกแพลตฟอร์ม "วอยซ์ทีวี"

เอ็กซเรย์กลุ่มทุน “วอยซ์ ทีวี” พบ "คุณหญิงพจมาน" ถือหุ้นทางอ้อม

 

โดยให้เหตุผลว่าได้มี การออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในนามของคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมุ่งให้ความรู้ ทักษะทาง5ยาชีพ และจิตสํานึกนักการสื่อสารที่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างรับผิดชอบต่อสังคม มีความ เห็นว่า

 

สถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้มีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ทางการสื่อสาร ทั้งของสื่อมวลชน และประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สําคัญของพลเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย

 

คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงขอแสดงจุดยืนในฐานะของ สถาบันการศึกษาทางด้านการสื่อสาร ดังนี้

 

1.    ขอให้รัฐบาลสื่อสารกับประชาชนอย่างเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายยุติการ ใช้อํานาจทางการเมืองปิดกั้นการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองทั้งของสื่อมวลชน และ ประชาชน

 

2. ขอให้ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มในสังคม สื่อสารด้วยเหตุผล สามารถอภิปรายร่วมกันจากมุมมอง ที่แตกต่างได้อย่างสันติ เพื่อหาทางออกร่วมกัน ยุติการสื่อสารที่บิดเบือน ไม่เป็นจริง และยั่วยุให้เกิดความ เกลียดชังและการใช้ความรุนแรง

 

3. ขอให้องค์กรกํากับดูแลสื่อปฏิบัติงานบนพื้นฐานของหลักการของสิทธิและเสรีภาพ ทางการสื่อสาร ตรวจสอบการปิดกั้นสื่อที่เกิดจากความไม่เป็นธรรม หรือมีเจตนาเพื่อลดทอนบรรยากาศ ของการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้สื่อสารและอภิปรายอย่างเสรี รับผิดชอบต่อสังคม

แถลงการณ์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่