ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการจีดีพีที่ 2.6%

08 มี.ค. 2564 | 07:13 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการจีดีพไว้ที่ 2.6% จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยง "การกระจายวัคซีน 61ล้านโดส-ราคาน้ำมันดิบ-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม"

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดระบุว่า กรอบประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ใหม่ปี 2564 ยังอยู่ที่ระดับ 2.6% แม้ว่าจะขยับกรอบล่างจาก 0.0-4.5% เป็น 0.8% และกรอบบนเหลือ 3% แต่ลดคาดการณ์นักท่องเที่ยวจาก 10 ประเทศจากเดิม 4.5 ล้านคนเหลือ 2 ล้านคนและเพิ่มการส่งออกขยายตัวจาก 3% เป็น 4.5% โดยรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวตาม เศรษฐกิจโลก แต่โอกาสอัพไซส์ไม่สูง เพราะยังมีปัจจัยเฉพาะหน้าที่ต้องติดตามในช่วงที่เหลือ

 

ศูนย์วิจัย กสิกรไทย

 

ด้านนางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จากอัตราการฉีดวัคซีนของตลาด นักท่องเที่ยวต่างชาติ สำคัญ 10 แห่งไปถึงช่วงเดือนกันยายน ประเมินได้ว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติจาก 10 ตลาดสำคัญ (จีน ยุโรปตะวันตก สหรัฐฯ รัสเซีย เอเชียและอาเซียนบางประเทศ) อาจทำได้ราว 1.9 ล้านคน ดังนั้นเมื่อรวมกับช่วง 9 เดือนแรกของปี ตัวเลข 2 ล้านคนในปี 2564 ยังมีความเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขวัคซีนพาสปอร์ตสามารถดำเนินการได้ หรือการเดินทางระหว่างประเทศมีข้อจำกัดน้อยลง

 

ตลาดท่องเที่ยวสำคัญ 10 ประเทศ

ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไทย จำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องในภาคการท่องเที่ยวจะต้องได้รับวัคซีน หากประเมินจากการจ้างงานในธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ 20 จังหวัดที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจต้องการวัคซีนอย่างน้อย 2.2 แสนโดส ก่อนเดือนตุลาคม ซึ่งเบื้องต้นทางการก็อยู่ระหว่างพิจารณาและคงเกิดขึ้นได้หากวัคซีนมาตามแผน

  ประมาณการจีดีพีปี64

ส่วน 3 ประเด็นที่จะมีผลต่อทิศทางเศรษฐกิจในระยะถัดไปคือ การกระจายวัคซีนในประเทศทั้งปีที่คาดไว้ 61ล้านโดส น่าจะชัดขึ้นในไตรมาส 3 แนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รวมถึง 3.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากภาครัฐ แม้การทยอยเริ่มฉีดวัคซีนในประเทศจะยังไม่ครอบคลุมประชากรจำนวนมาก จนทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ แต่ก็คาดว่า หากมีการแพร่ระบาดอีกระลอกในประเทศจะไม่รุนแรงเท่ากับที่ผ่านมา

นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมีประเด็นเฉพาะหน้าเรื่องภาระหนี้ โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่จะยังค้างอยู่ในระดับสูง ภายใต้การดูแล เห็นได้จากลูกหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินประมาณ 2.79 ล้านล้านบาท คิดเป็นราว 20% ของหนี้ครัวเรือน โดยประเมินปีนี้หนี้ครัวเรือนอยู่ในกรอบ 89-91% จากสิ้นปีก่อนคาดไว้ที่ 89.2%หลังจากไตรมาส3อยู่ที่ 86.6%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

" ผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยล่าสุดใน 3มิ ติคือ รายได้ลด, ค่าใช้จ่ายไม่ลด และมีภาระหนี้ต่อรายได้สัดส่วนมากกว่า 50% ซึ่งครัวเรือนยังกังวลกับสถานการณ์รายได้ลด ปัญหาค่าครองชีพ และภาระหนี้สูง อันทำให้มี 10.8% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีภาวะทางการเงินเสี่ยงต่อวิกฤต"นางสาวธัญลักษณ์กล่าว

 

ดังัน้นจึงยังจำเป็นต้อง มีการต่ออายุมาตรการดูแลให้กับครัวเรือนเหล่านี้ เช่นเดียวกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)เ ขณะที่มาตรการฯ สามารถทำได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ตามพัฒนาการของระยะหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสถาบันการเงิน ที่น่าจะผ่านจุดที่แย่ที่สุดมาแล้วเช่นเดียวกับทิศทางเศรษฐกิจ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: