บสย.เผย“ยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสม 1 ล้านล้านบาท” ทะลุเป้าก่อน 2ปีรักษาการจ้างงานกว่า 7 ล้านตำแหน่ง

01 ก.พ. 2564 | 13:59 น.

บสย.เผย“ยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสมทะลุเป้าก่อน 2ปีสร้างสินเชื่อสู่ระบบเศรษฐกิจไทยมูลค่ากว่า 1.42 ล.ล.ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 5.6แสนราย

บสย.เผย“ยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสม 1 ล้านล้านบาท” ทะลุเป้าก่อน 2ปีสร้างสินเชื่อสู่ระบบเศรษฐกิจไทยมูลค่ากว่า  1.42 ล.ล.ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 5.6แสนราย และรักษาการจ้างงานกว่า 7 ล้านตำแหน่ง

บสย.เผย“ยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสม 1 ล้านล้านบาท” ทะลุเป้าก่อน 2ปีรักษาการจ้างงานกว่า 7 ล้านตำแหน่ง

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. เริ่มต้นศักราชใหม่ ปี 2564 ด้วยผลงานความสำเร็จแรกแห่งปี “ค้ำฯ เติมทุน” ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ เป็นผลสำเร็จ ด้วยยอดการค้ำประกันสินเชื่อสะสม ทะลุ   1 ล้านล้านบาท  บันทึก ณ วันที่  29 มกราคม 2564 ด้วยวงเงิน 1,000,493 ล้านบาท (หนึ่งล้านสี่ร้อยเก้าสิบสามล้านบาท) โดยบรรลุเป้าหมายเร็วกว่าแผนงานเดิม 2 ปี นับเดิมที่ บสย. ได้เคยมีประกาศไว้ในปี 2561 ตั้งเป้าครบล้านล้านบาทภายในปี 2566  ส่งผ่านความช่วยเหลือครบทุกมิติ  ทั้งการสร้างสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นมูลค่ามากกว่า  1.42 ล้านล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 5.6แสนราย ก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 1.11 ล้านตำแหน่ง รักษาการจ้างงานกว่า 7 ล้านตำแหน่ง  ทำให้สถาบันการเงินกล้าปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้เพียง 2 ใน 3 

 

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)เปิดเผยว่า  ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ ณ 31 มกราคม 2564 อนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 10,680 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 21,103 ราย และอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน  30,133 ฉบับ  โดยมี 3 โครงการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดคือ 1.โครงการ บสย. SMEs ไทยสู้ภัย COVID-19 วงเงิน 3,900 ล้านบาท 2.โครงการ บสย. SMEs ดีแน่นอน วงเงิน 2,788 ล้านบาท และโครงการ บสย. Micro ไทยสู้ภัยโควิด 1,041 ล้านบาท  

อย่างไรก็ตาม  สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ระลอกใหม่ และภาวะเศรษฐกิจผันผวน ในปี 2563 บสย.ระบุว่า การจดทะเบียนเลิกกิจการ มีจำนวน 20,920 รายมีมูลค่าทุนจดทะเบียน 91,859 ล้านบาท  เกิดการเลิกจ้าง และลดเงินเดือน ขณะที่กลุ่มอาชีพอิสระ ขาดเงินหมุนเวียน และกลุ่ม SMEs เกิดใหม่ ต้องการเงินทุน และยังมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่มีปัญหาการค้างชำระ ต้องการพักชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ และต้องการสินเชื่อ ต้นทุนต่ำ 1,000,493 ล้านบาท (หนึ่งล้านสี่ร้อยเก้าสิบสามล้านบาท)

บสย.เผย“ยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสม 1 ล้านล้านบาท” ทะลุเป้าก่อน 2ปีรักษาการจ้างงานกว่า 7 ล้านตำแหน่ง

 “การค้ำประกันสินเชื่อ คือกลไกหลักเชื่อมโยงระหว่างเงินทุนกับผู้ประกอบการ SMEs ที่สำคัญมากโดย บสย. พร้อมเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ในทุกมาตรการเพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อและแหล่งทุน”

ทั้งนี้  ไฮไลท์สำคัญตลอดระยะเวลา 29 ปีที่ผ่านมา “บสย.” เป็นเครื่องมือของรัฐ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญทุกมิติ ผ่านกลไกค้ำประกันสินเชื่อ ภายใต้ “พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ.2534” ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 400 ล้านบาท  เริ่มค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs แบบ Individual Guarantee สู่ปฐมบทการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกลไกรัฐ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นต้นมา โดยมียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ ปีแรก(ปี2535) 168 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 140 ราย

ต่อมาในปี 2543 รัฐบาลเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 4,000 ล้านบาท ส่งผลให้ บสย. สามารถทำยอดค้ำประกันสินเชื่อ ในปี 2544 ที่ 2,505 ล้านบาท จากนั้นปี2551-2552 รัฐบาลได้เพิ่มทุนจดทะเบียน อีก 2 ครั้งทำให้มีทุนจดทะเบียนรวม 6,839.94 ล้านบาท

ในปี 2552 บสย.  ได้ปรับรูปแบบการค้ำประกันสินเชื่อครั้งใหม่จากการค้ำประกันแบบ Individual Guarantee เป็น Portfolio Guarantee Scheme เพื่อสร้างความมั่นใจแก่สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ โดยในปีดังกล่าว ปิดยอดค้ำประกันสินเชื่อ ที่ 21,558 ล้านบาท จากนั้น ในปี 2553 ยอดค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มขึ้นเท่าตัวที่ 42,585 ล้านบาท และมียอดค้ำประกันสินเชื่อสะสมครบ 1 แสนล้านบาท  ต่อเนื่องมาในปี 2556 ยอดค้ำประกันสินเชื่อ สะสมเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนล้านบาท และ ในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น  5 แสนล้านบาท ตามลำดับ

ในปี 2560 มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (ฉบับที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม” ขยายขอบเขตการค้ำประกันสินเชื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมแฟ็คเตอร์ริ่ง เช่าซื้อ และลิสซิ่ง รวมถึงธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อ และขยาย “นิยาม” ของสถาบันการเงิน ให้ บสย. สามารถค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม Non-Bank การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ส่งผลให้ในปี 2561 บสย. มียอดค้ำประกันสะสมเพิ่มเป็น 7 แสนล้านบาท ในปีนั้น บสย. จึงประกาศตั้งเป้าช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ให้ครบ 1 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี หรือภายในปี 2566

นับตั้งแต่ปี2562 ภายใต้การเข้ามาบริหารจัดการของ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร  บสย. ได้ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ สู่การ Transform องค์กร โดยผลดำเนินงาน สิ้นสุดปี 2563 บสย. สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อมากกว่า 166,000 ราย มียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน 141,888 ล้านบาท และประเดิมผลงานแรกปี  2564   ณ วันที่ 29 มกราคม 2564 บสย. ได้บรรลุเป้าหมายการช่วยเหลือ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ด้วยยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสมครบ  1 ล้านล้านบาท  ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 5.6แสนราย หรือประมาณ 20% ของจำนวน SMEs ในประเทศ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-"บสย." ทุ่มแสนล้าน อุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีฝ่าโควิดระลอก 2

-แผน5ปี บสย.ค้ำ6.42 แสนล้าน

-บสย.จัดหนัก 100,000 ล้าน เยียวยา SMEs เร่งด่วน

-บสย. พักค่าธรรมเนียม 6 เดือน ช่วย SMEs 11 จังหวัดใต้