ธปท. ฟันธง เศรษฐกิจไทย พ้นจุดต่ำสุดแล้ว

14 ก.ค. 2563 | 04:43 น.

ธปท.ชี้แจงนักวิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ก่อนจะทยอยฟื้นตัว แต่ต้องให้ความสำคัญกับนโยบายด้านอุปทาน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังโควิด-19

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า วันที่14 กรกฎาคม 2563 นายวิรไท สันติประภพ ธปท. นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค  ธปท ร่วมชี้แจงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในการประชุมสัมมนานักวิเคราะห์ (Analyst meeting) ดังนี้

 

เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ซึ่งมีมาตรการควบคุมการระบาดแล้ว โดยสามารถควบคุมโควิด-19 ได้เป็นผลสำเร็จ และเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอย และการผลิต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธปท.ชี้ 3ปัจจัยเสี่ยงกดเศรษฐกิจไทย

การใช้จ่ายภาครัฐความหวังเดียวเคลื่อนจีดีพีปี 2563

มติกนง.คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ต่อปี ปรับเป้าเศรษฐกิจปีนี้ -8.1%

 

โดยในการประชุมครั้งล่าสุด (24 มิ.ย. 2563) กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ซึ่งต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งมาตรการการคลังของรัฐบาลและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย

นอกจากนี้ กนง. เห็นว่าจะต้องมีนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (economic restructuring) ให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 คลี่คลายลงด้วย ได้แก่

 

1.มีกลไกการบริหารกำลังการผลิตส่วนเกินในภาคอุตสาหกรรม อาทิ เอื้อให้เกิดการควบรวมกิจการในสาขาที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการระบาดคลี่คลายลง

 

2.สนับสนุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพและมีโอกาสฟื้นตัวเร็ว

 

3.เร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล

 

4.สนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงาน (reskill and upskill) เพื่อรองรับการจ้างงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายและปรับตัวเข้าสู่บริบทใหม่

 

5.เร่งปฏิรูปกฎเกณฑ์ภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่

 

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจข้างต้น ควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (debt restructuring) จะช่วยเสริมสร้างให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและช่วยรักษาระดับศักยภาพการเติบโต (potential growth) ให้เศรษฐกิจไทยสามารถกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค  ธปท..เปิดเผยถึงการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ลดลงิดลบ 8.1%จากครั้งก่อน(เดือนมีนาคม)คาดจะติดลบ5.3%พร้อมปรับลดอัตราเงินเฟ้อ -1.7%จากเดิม 0.9%แต่มีแนวโน้มจะกลับสู่กรอบเป้าหมายในปี 2564 โดยสาเหตุของการปรับลดประมาณการจีดีพีมาจากพัฒนาการดัชนีเศรษฐกิจจากเดือนมีนาคมถึงปัจจุบันมีความไม่แน่นอนอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่

 

1. เศรษฐกิจโลก หดตัวรุนแรงกว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้ โดยมีแนวโน้มถดถอย ในปัจจุบันและระยะต่อไป

 

2. การแพร่ระบาดของโควิดมีแนวโน้มจะควบคุมได้  ด้วยมาตรการ ปิดเมือง ซึ่งส่งผลต่อการเดินทางระหว่างประเทศทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปมาก คาดว่าช่วงที่เหลือจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 1.3 ล้านคนจากปัจจุบันเข้ามาแล้ว 6 ล้านคน ทั้งปีมีจำนวน 8ล้านคนลดลงจากเดิมคาดไว้15ล้านคน ซึ่งปีหน้าแม้จะขยายประเทศมากขึ้น แต่จำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่กลับมาจนกว่าจะมีวัคซินออกมาใช้ในปลายปี 2564

 

3.มองไปข้างหน้าแม้ที่ผ่านมามาตรการทางการคลังและมาตรการทางการเงิน ที่ทยอยออกมาขนานใหญ่ แต่ยังไม่สามารถชดเชยช็อคที่เกิดขึ้นใหญ่กว่า  แต่คาดว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวที่5%โดยไตรมาส3ะเห็นเศรษฐกิจทะยอยฟื้นตัวและปี2565จึงจะเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด และมีการใช้วัคซีนอย่างแพร่หลาย