หมอ รพ.บุษราคัมสุดทนอัดรัฐอย่าสักแต่เปิด รพ.เพิ่มกลบกระแสคนตายในบ้าน

24 ก.ค. 2564 | 05:26 น.

หมออนุตตรเปิดบันทึกหมอด่านหน้าประจำโรงพยาบาลสนามบุษราคัม สุดอัดอั้นชี้อย่าสักแต่เปิดโรงพยาบาลเพิ่มเพื่อไม่ให้มีคนตายในบ้าน ตัดพ้อเราถึงจุดที่ต้องเลือก ชีวิตแลกชีวิต แล้วจริงๆ หรือ

รายงานข่าวระบุว่า พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ (หมออนุตตร) ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana) โดยมีข้อความว่า 
เป็นกำลังใจให้น้องเมดอีกคน
โดยหมออนุตตร ได้นำเสนอบันทึกของผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อวิววี่ สุดสวย ซึ่งปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสนามบุษราคัม โดยระบุข้อความว่า 
บันทึกครั้งหนึ่งกะ covid-19 ที่รพ.บุษราคัม Part2 
ต่อจาก part1  
เรื่องที่ทำให้สะเทือนใจ จุกๆ เรื่องถัดไป คือ...
วว : ลงเวรบ่าย 24.00 เห็นพี่พยาบาลผมเปียกสองคน เลยถามว่า...พี่คือ ทีมเผชิญที่เข้าไปข้างในใช่มั้ยคะ? พี่ๆมีกันกี่คนคะ เข้าเวรทีละกี่คน แล้วเหนื่อยมากมั้ย?
พี่พยาบาล : คำตอบแรก คือ น้ำตา พี่เค้าเสียงสั่น->พรั่งพรูทั้งคำพูดและน้ำตาออกมา
เรื่องก็คือ ...
วันนี้ได้มีโอกาสดูเคสหนัก highflow ปัญหาสำคัญที่เจอที่สำคัญ คือ คนไข้ปอดอักเสบถึงขั้นhigh flow ส่วนหนึ่งค่อนข้างมาก …Delay treatment ไม่ได้ยาsteroid แบบฉีด ไม่ได้เจาะเลือด ไม่ได้ออกซิเจนตามที่แพทย์ต้องการ ...ทำให้จากที่หนักอยู่แล้ว กลายเป็นหนักมากๆ จนถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต ตามมา
Key person ที่สำคัญที่สุด
คนไข้จะเข้าถึงการรักษาจริง ได้ยา favi steroid ได้ oxygen ตามที่แพทย์order หรือไม่ = ทีมเผชิญหรือเรียกว่าทีมรักษา (ยังไม่นับ เรื่อง miss communication ระหว่างทีมในการorder การจ่ายยาจริง และตรวจเชคยา อีกรอบก่อนทีมเข้าไปจริง Demand >>>>>> Supply มากมาก)
##ทีมเผชิญ Treatment ##
เป็นอีกหนึ่งทีม ที่ถือว่าเสียสละที่สุด หน้าด่านของจริง สมควรเป็นอย่างยิ่งที่ควรได้รับค่าเสี่ยงภัย และวัคซีน มากที่สุด 
เพราะ...ถือเป็นตัวแทนของทีมรักษาทั้งหมด ในการสวมใส่ชุด ppe หรือ PAPR เข้าไปข้างในhall สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ทุกอย่าง ย้ำ! ทุกอย่างจริงๆ (ยังไม่รวมทีมเมิซ แพทย์ฉุกเฉิน)
ไม่ว่าจะเป็น... เจาะเลือด ฉีดยา dripยา ทำหัตถการต่างๆ ปรับsetting ออกซิเจน เครื่องช่วยหายใจ ventilator หรือแม้กระทั่งช่วยปั้มหัวใจ etc.

ของจริงคือ 
-เข้าไปแค่ ครั้งละ 10 คน/เวร (เมื่อเทียบกับจำนวนคนไข้ทั้งหมด 3700 ปอดอักเสบติดเชื้อที่ต้องเจาะเลือด 1500คน)
-ต้องใส่ชุดที่มีออกซิเจน อยู่ได้มากสุดประมาณ 3-4 hr ทำหัตถการเจาะเลือดฉีดยา คนละไม่ถึง1 นาที (ตกเฉลี่ย 1 : 50-100 คน ต่อครั้ง/เวร (คำนวณพี่พยบ10คน ทำการรักษาได้มากสุด 500-1000คน/เวร)
-เกณฑ์การคัดเลือก จากอาสาสมัคร และ บังคับเพราะงานส่วนอื่นเต็ม เป็นส่วนที่เหลือค้างจากการสมัครทีมอื่นไม่ทัน 
-ระยะเวลาที่ถูกส่งมาจากต้นสังกัด 2 สัปดาห์ ได้อยู่เวรติดกันทุกวัน แบบไม่มีวันหยุด เวรติดกันวันละ 2 เวรตลอด 

รพ.สนามบุษราคัม
ค่าตอบแทน ค่าเสี่ยงภัย ที่สำคัญ วัคซีนนนนนน ได้เท่ากับคนอื่นๆ ที่ไม่ได้สัมผัสผู้ป่วย ....แบบนี้ยุติธรรมแล้วหรือ กับชีวิต ทีมนี้ ??? 
แอบคิดเอง หรือ นี่คือความตั้งใจ ที่อยากให้ เกิด Natural selection..
ใครอ่อนแอก็ตายไป ไม่ว่าจะเป็นคนไข้เอง หรือ บุคลากรทางการแพทย์
ความตั้งใจที่แท้จริงของคนก่อตั้ง คงต้องการ แค่ให้เป็นรพ.สนามจริงๆ หาใช่ icu subicu จึงได้กลายเป็น รพ.สนาม มากกว่า critical care ที่อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือไม่ได้พร้อมมากแบบในปัจจุบันนี้ …มีเคสหนัก  ETT มากกว่า10 high flow มากกว่า 200 มีคนเสียชีวิต อยู่ๆก็ไปพบว่านอนตายบ้างก็มี คนสูงอายุ หูตึง ตาฝ้าฟาง ติดเตียงก็เยอะ ต้องนอนจมกองขี้กองเยี่ยว จนเตียงกระดาษยุบพังลงจนใช้การไม่ได้ พื้นเจิ่งน้องด้วยปัสสาวะ สิ่งปฏิกูลก็มีให้เห็นอยู่ประปราย
ตอนแรก อยากช่วยเป็นกระบอกเสียงหนึ่ง ช่วยเรียกร้อง
1.ขอเพิ่มอัตรากำลังคน เพื่อให้คนไข้สามารถรับการรักษาได้อย่างครบถ้วน และเป็นไปตามจรรยาบรรณ ที่ควรจะได้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ควรได้รับ
2.ขอเพิ่มค่าตอบแทนค่าเสี่ยงภัย ให้ทีมพยบทีมรักษา ผู้ที่ได้สัมผัสคนไข้จริงๆ
3.เน้นSAVEทีมเผชิญเพื่อSAVEชีวิตคนไข้SAVEใจบุคลากรการแพทย์ที่burnoutจากการorderแต่คนไข้กลับไม่ได้รับมัน 
แต่…แต่…แต่…
พอทำงานไป ก็มีเรื่องจุกๆ ตามมาอีกมากมาย ยิ่งกว่านั้น คือ…

วันนี้ ณ ทีม loading มีคนไข้มาถึง และหมดชีพจรที่นั่น ได้โลงศพกลับบ้าน
ก่อนที่จะมีโอกาสได้เข้ารับการรักษา หรือ แม้แต่วัดสัญญาณชีพ ด้วยซ้ำ !!!
และ คนไข้ที่นอนๆอยู่ on canular on highflow ทุกคนต่างพานิ่งเขียว 
บ้างก็น้ำลายฟูมปาก บ้างก็เลือดกลบปาก บ้างก็เอามือทุบอกทุรนทุราย 
ตามด้วยเรียกไม่รู้สึกตัว แน่นิ่งไป จนบางคนไปเมื่อไหร่ ก็ไม่มีใครทราบได้
มุมมองในด้านการเต็มที่ การจัดเต็มในทุกด้านการรักษา ก็เริ่มเปลี่ยนไป… 

รพ.สนามบุษราคัม
เมื่อได้สอบถามทางทีมอาจารย์ คณะดูแล และบริหาร ในประเด็นแรกเรื่องการเพิ่มบุคลากรในทีมรักษา พบว่าได้มีการแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มค่าเวรสองเท่า มีความคิดจ้างวานกลุ่มคนจากภายนอก แต่…ไม่มีคนจริงๆ ไม่มีใครจริงๆ (แล้วจะเปิดโรงพยาบาลเพิ่ม ได้จริงๆหรือ อย่าสักแต่เปิด ต้องให้มันมีคุณภาพด้วย หรือไม่งั้นก็ตั้งจุดประสงค์ให้ชัดๆไปเลย ว่าเป็นที่ๆ ไม่ทำให้มีข่าว เสียชีวิตที่บ้าน แค่นั้นนนน)
ถึงขั้นคนไข้covidสีเขียว มาช่วยกันเป็นอาสาสมัคร ช่วยคัดกรอง วัดสัญญาณชีพ ออกซิเจน และช่วยดูแลผู้ป่วยสูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยที่อาการหนักกว่า ช่วยเหลือตนเองลำบาก เพื่อ ช่วยเหลือกัน และช่วยแบ่งเบาบุคลากรทางการแพทย์ แบบพวกเรา 
เนื่องจากขณะนี้ ในทุกที่ทั่วประเทศ ทุกโรงพยาบาลก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน …เนื่องจากจำนวนคนไข้เยอะมากเกินต้านทาน และ กว่าจะเข้าถึงสถานพยาบาลได้แต่ละที่ ก็มีอาการหนักมากแล้ว ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง…ที่ต้องอาศัยบุคลากร และ ทรัพยากรอย่างมากมาย (ในชีวิตจริงจะหาที่ไหนได้ทันโรคระบาดนี้ พูดถึงจุดนี้ พูดอีกก็เจ็บใจอีก เห้อออ )
ดังนั้นทางทีม จึงได้เริ่มมีความสนใจในเรื่อง Advance care plan หรือ Palliative care อย่างจริงจัง ได้มีการนำตัวอย่างจากแต่ละโรงพยาบาลมานำเสนอ เพื่อให้สามารถปรับเป็นรูปแบบที่เหมาะสม ตามสถานการณ์จริงในปัจจุบัน
เห้อออออ เราถึงจุดที่ต้องเลือก ชีวิตแลกชีวิต แล้วจริงๆ หรือ ?????
เสมือนกำลังเข้าสู่ยุคของ…พายุ ใบไม้ร่วง ปริมาณมหาศาล เฉกเช่น อินเดีย/อิตาลี
ยาต่างๆ เช่น nimbex ยา sedate ออกซิเจน highflow เริ่มทยอยหมด 
หรือแม้กระทั่ง morphine ที่ใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ก็เดียวกัน
ดังที่เห็นพี่หมอคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า 
   " ประเทศนี้ แค่เลือกจะตายอย่างสงบ ยังทำไม่ได้เลย "
#มันคือ เรื่องจริง#ป่วยจริง เหนื่อยจริง และตายจริงๆ ตายแบบทรมานด้วย
#ทุกคนทำดีที่สุดแล้วเท่าที่เราจะทำได้ …แล้ว คนบางคนล่ะ คุณทำให้พวกเรา???
#ขออนุญาติเปิดโลกให้ทุกคนได้รับรู้ไปด้วยกัน ขั้นนี้แล้วนะจ๊ะ!! พี่น้อง
#Covid-19Crisis in Thailand