"แพทยสภา"ขอให้แพทย์ใช้บัตรประกอบวิชาชีพ-บัตร ปชช. ออกทำงานช่วงล็อกดาวน์

18 ก.ค. 2564 | 10:27 น.

แพทยสภาออกหนังสือถึงศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ขอให้แพทย์ใช้บัตรประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบัตรประชาชนออกทำงานช่วงเวลาล็อกดาวน์ 21.00-04.00 น.

รายงานข่าวระบุว่า แพทยสภา (The Medical Council of Thailand) ได้ดำเนินการออกประกาศ เรื่องขอให้แพทย์ใช้บัตรประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (MD CARD)แสดงตนสำหรับการออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00-04.00 น.และ ข้ามพื้นที่ โดยมีข้อความระบุว่า
เรียน ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด ๑๙ 
(พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์)
อ้างถึง เอกสารรับรองความจำเป็น สำหรับการออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา ๒๑.๐๐ น. - ๑๔.๐๐ น.
ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด ๑๙ ได้มีการประกาศยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด (สีแดงเข้ม) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๗) โดยมี ๑0 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่ ๔ จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และ สงขลา หากจำเป็นต้องออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา ๒๑.๐๐ น.ถึง ๑๔.๐0 น. หรือข้ามพื้นที่ ต้องมีเอกสารรับรองฯโดย ช้อ๔ กำหนดบุคคลที่ได้รับการยกเว้นคือแพทย์ แล้วนั้น

เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยและอยู่เวรในช่วงเวลาดังกล่าวหรือ เดินทางข้ามพื้นที่ ในการแสดงตน โดยไม่ต้องทำเอกสารรับรองฯ แพทยสภาจึงขอกำหนดให้ใช้
๑. บัตรประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (MD CARD) ที่ออกตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยบัตรประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.๒๕๕๑ (ดังภาพตัวอย่าง) เพื่อแสดงตนแทนเอกสารรับรอง
๒. บัตรประจำตัวประชาชน คู่กับข้อมูลตรวจสอบชื่อแพทย์จาก เว็บไซต์ https//checkmd tmc.ortb/
จึงเรียนมาเพื่อโปรดแจ้งข้อกำหนดให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยแพทย์ขอใช้บัตรประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แสดงตนในการเดินทางในพื้นที่ควบคุมฯ ในกรณีบัตรฯหมดอายุขออนุโลมให้ใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนแสดงตนได้ หรือ ใช้บัตรประจำตัวประชาชนคู่กับตรวจสอบข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์แพทยสภาตาม QR CODE ได้ ด้านล่างตลอด ๒๔ ชม. เพื่อให้แพทย์สามารถเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มความสามารถโดยไม่ติดเรื่องช่วงเวลา จักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
พลอากาศตรี
(นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ)
เลขาธิการแพทยสภา

แพทยสภาทำหนังสือถึง  ศบค.
ทั้งนี้ การล็อกดาวน์รอบล่าสุดนั้น จากการติดตามของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า วันนี้(18 ก.ค.64) ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อ ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28) ลงนามโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อยกระดับล็อกดาวน์ เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 (Covid-19) และการบังคับใช้อย่างจริงจังเพิ่มเติม โดยสรุปประเด็นสำคัญของมาตรการยกระดับล็อกดาวน์ 
 

ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เป็น 13 จังหวัด ( เพิ่มจังหวัด ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา) ได้แก่
1. กรุงเทพมหานคร 
2. จังหวัดฉะเชิงเทรา 
3. จังหวัดชลบุรี 
4. จังหวัดนครปฐม 
5. จังหวัดนนทบุรี 
6. จังหวัดนราธิวาส
7. จังหวัดปทุมธานี 
8. จังหวัดปัตตานี 
9. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
10. จังหวัดยะลา 
11. จังหวัดสงขลา 
12. จังหวัดสมุทรปราการ 
13. จังหวัดสมุทรสาคร
จํากัดการเคลื่อนย้ายการเดินทาง ในเขตพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุด และเข้มงวด เลี่ยง จํากัด หรืองดเว้นภารกิจที่ต้องเดินทางออกนอกเคหสถานหรือที่พํานัก โดยไม่จําเป็น ยกเว้นกรณีที่จำเป็น เช่น การเดินทางเพื่อจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ต่อการดํารงชีวิต อาหาร ยาหรือเวชภัณฑ์ การเดินทางเพื่อพบแพทย์ 
ขยายเวลาเคอร์ฟิวต่ออีก 14 วัน จนถึง 2 สิงหาคม 2564 ( นับจาก 20 ก.ค. 64) 
-ห้ามบุคคลใดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม ออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วันนับแต่วันที่ข้อกําหนดฉบับนี้ ใช้บังคับ
สกัดการใช้เส้นทางคมนาคมและการตรวจคัดกรองการเดินทาง ชะลอหรือสกัดกั้นการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ในการเดินทางไปยังพื้นที่อื่น โดยให้เป็นไปตามแนวทางที่ ศปก.ศบค. กําหนดเป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 14 วัน 
ขนส่งสาธารณะ จํากัดจํานวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ ไม่เกิน 50% ของความจุผู้โดยสาร เว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัด ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 
ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อ ออกคำสั่งปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยง ให้ดําเนินการต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 14วัน 
ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกันมากกว่า 5 คน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนจัดการอบรม สัมมนา หรือการประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก งดจัดกิจกรรม
ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เว้นเฉพาะมาตรการขนส่งสาธารณะ ตามข้อ 5 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป