สรุปข้อแนะนำ “ฉีดวัคซีนโควิด” ป่วยโรคไหน-กินยาอะไรอยู่ เคลียร์ข้อกังวล ที่นี่

16 พ.ค. 2564 | 10:08 น.

รายงานพิเศษ : สรุปข้อแนะนำ “ฉีดวัคซีนโควิด” ป่วยโรคไหน-กินยาอะไรอยู่ เคลียร์ข้อกังวล ที่นี่

จากกรณีที่ประชาชนจำนวนหนึ่ง ยังมีความสับสนใจข้อมูล กังวล ลังเลกับ "การฉีดวัคซีนโควิด” จนมีคำถามถึงการมีโรคประจำตัว การที่ตัวเองต้องรับประทานยา และข้อกังวลต่างๆ 

ล่าสุด ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) .ได้โพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพ ลงในเฟซบุ๊ก “Somchai Jitsuchon” เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งรูปภาพดังกล่าว เป็นตาราง “ประเด็นคำถาม เกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด-19” ซึ่งรวบรวมโดย งานบริบาลเภสัชกรรม กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี 

ขณะที่ดร.สมชัย เขียนข้อความประกอบภาพว่า “ตารางว่าเป็นโรคอะไร ฉีดได้ ฉีดไม่ได้ ถ้ากระจ่างน่าจะช่วยให้คนฉีดมากขึ้น เชื่อว่าคนที่ไม่ฉีด/ยังไม่ฉีด ไม่ใช่จากเรื่องมุมมองการเมืองมากอย่างที่หลายคนเชื่อ”

 

ฐานเศรษฐกิจ ได้ถอดข้อความจากตาราง “ประเด็นคําถาม เกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด-19” ดังกล่าวได้ข้อมูลและคำแนะนำ ดังนี้ 

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด 

  • ฉีดได้

 

โรคหลอดเลือดสมอง

  • ฉีดได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่อาการยังไม่คงที่หรือยัง มีอาการที่อันตรายต่อชีวิต 

 

On warfarin

  • ฉีดได้ (INR <3.0)
  • ควรใช้เข็มขนาดเล็กกว่า 23G และไม่ ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน และควรกดตําแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานกว่าปกติจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ

 

On ASA , clopidogrel , cilostazol

  • ฉีดได้ ไม่ต้องหยุดยา
  • ควรใช้เข็มขนาดเล็กกว่า 23G และไม่ ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน และควรกดตําแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานกว่าปกติจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ

 

On NOACS

  • ฉีดได้ ไม่ต้องหยุดยา
  • ควรใช้เข็มขนาดเล็กกว่า 23G และไม่ ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน และควรกดตําแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานกว่าปกติจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ

 

Methotrexate

  • ให้หยุตยา 1 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งแล้วจึงให้ยาต่อตามปกติ (เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการคงที่) **ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนเสมอ**
  • ให้พิจารณาหลีกเลี่ยงการใช้วัคซีน ชนิดไวรัสเวคเตอร์และเลือกใช้วัคซีน ชนิดเชื้อตาย ซนิต mRNA หรือชนิด ส่วนประกอบของโปรตีน 

Steroid

  • ยา prednisolone ที่น้อยกว่า 20 mg/day หรือเทียบเท่า สามารถให้การฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องหยุดยา
  • สําหรับยา prednisolone ที่มากกว่า 20 20mg/day หรือเทียบเท่า ในผู้ป่วยที่อาการคงที่และอยู่ในช่วงที่กําลังลดปริมาณSteroidสามารถให้การฉีดวัคซีนได้เช่นกัน
  • ให้พิจารณาหลีกเลี่ยงการใช้วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์และเลือกใช้วัคซีน ชนิดเชื้อตาย ชนิด mRNA หรือชนิดส่วนประกอบของโปรตีน 

 

ยากดภูมิคุ้มกัน azathioprine, mycophenolate ชนิดกิน

  • สามารถให้การฉีดวัคซีนได้โดยไม่ต้องหยุดยา
  • ให้พิจารณาหลีกเลี่ยงการใช้วัคซีน ชนิดไวรัสเวคเตอร์และเลือกใช้วัคซีน ชนิดเชื้อตาย ชนิด mRNA หรือชนิต ส่วนประกอบของโปรตีน

 

โรคลมชัก

  • ฉีดได้

 

ไทรอยด์

  • ฉีดได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคไทรอยด์แบบใดก็ตาม ได้แก่ มีก้อนที่ต่อมไทรอยต์ คอพอก ไทรอยด์เป็นพิษหรือมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ 

 

โรคปอดอุดกั้น, โรคหอบหืด

  • ฉีดได้

 

โรคมะเร็ง

  • ฉีดได้ ยกเว้นผู้ป่วยมะเร็งที่กําลังได้รับการ ผ่าตัดหรือกําลังได้รับยาเคมีบําบัตควร ปรึกษาแพทย์ก่อน 
  • ผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือด โดยเฉพาะกลุ่มที่ ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ควรฉีดหลังจากรักษาครบ 3 เดือน และควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนทุกครั้ง 

 

โรคเอดส์

  • ฉีดไต้ 

 

วัณโรค

  • ฉีดได้ 

 

การรับวัคซีนอื่น ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก พิษสุนัขบ้า หัดเยอรมัน

  • แนะนําให้ฉีดห่างกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ 
  • ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน
  • วัคซีนที่มีความจําเป็น เช่น เมื่อถูกสัตว์กัดให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้เลย โดยไม่ได้จําเป็นต้องทิ้งช่วงเวลา เนื่องจากความ เสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้ามีความสําคัญกว่า

การบริจาคเลือด

  • กรณีได้รับวัคซีนขนิต mRNA หรือ วัคซีน ชนิดเชื้อตาย อาจเว้นระยะประมาณ 1 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนก่อนบริจาคเลือด 
  • หากได้รับวัคซีนชนิด live virus vaccine ควรเว้นระยะ 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนก่อน บริจาคเลือด

 

ภาวะอื่น 

 

กําลังให้นมบุตร

  • ฉีดได้

 

กําลังตั้งครรภ์

  • ยังไม่มีการแนะนำให้ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ เว้นแต่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง และประเมิน แล้วว่าวัคซีนให้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง 
  • ในหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง ต่อภาวะรุนแรงจากโรคโควิด รวมถึงมีความ เสี่ยงที่จะติดโควิด แนะนําให้ฉีดเมื่ออายุ ครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และแนะนําให้ฉีต วัคซีนขนิดเชื้อตาย

 

กําลังมีประจําเดือน

  • ไม่ได้มีข้อห้าม แต่มีคําแนะนําจาก ผู้เชี่ยวชาญว่าควรหลีกเลี่ยงการฉีดในช่วงมี ประจําเดือนเพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียง

 

เคยติดโควิดแล้ว สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่

  • ควรฉีดหลังจากติดเชื้ออย่างน้อย 3-6 เดือน และอาจฉีดเพียง 1 เข็ม

 

ความเสี่ยง/ผลข้างเคียง ที่อาจพบได้หลังจากการฉีดวัคซีน 

  • ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด มีไข้ อ่อนเพลีย ง่วงนอน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวด เมื่อยลําตัว ผื่น / สามารถใช้วัคซีนชนิดเดิมซ้ำได้
  • Anaphylaxis อาการแพ้ เฉียบพลัน โดยมีอาการ 2 ใน 4 ของทางระบบผิวหนัง ทางเดินหายใจ/มีการ เปลี่ยนแปลงของความดัน โลหิต/ทางเดินอาหาร **ห้ามให้วัคซีนชนิดเติมอีก แนะนําให้เปลี่ยนขนิดของวัคซีน 

 

สามารถฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิดได้หรือไม่

  • ขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษา จึงแนะนําให้ฉีดขนิดเดียวกัน 

 

หากเคยฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วยังต้องมีการฉีดวัคซีนซ้ำหรือไม่

  • ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลวัคซีนโควิด 19 ต่อระดับภูมิคุ้มกันโรคในระยะยาว จึงยังไม่มีคําแนะนําในขณะนี้ 

 
เคยมีประวัติแพ้ยา หรือ อาหารอย่างรุนแรง (anaphylaxis)

  • พิจารณาฉีดได้ แต่ต้องมีการติดตามอาการใกล้ชิด อาจเกิดอาการแพ้เฉียบพลันได้
  • อาจพิจารณาให้ non-sedative ก่อน 

 

เลื่อนวันฉีดวัคซีนได้หรือไม่ 

  • Sinovac สามารถเลื่อนนัดฉีด โดยห่างจาก เข็มแรกไม่เกิน 4 สัปดาห์ 

 

สรุปข้อแนะนำ “ฉีดวัคซีนโควิด” ป่วยโรคไหน-กินยาอะไรอยู่ เคลียร์ข้อกังวล ที่นี่

สรุปข้อแนะนำ “ฉีดวัคซีนโควิด” ป่วยโรคไหน-กินยาอะไรอยู่ เคลียร์ข้อกังวล ที่นี่

สรุปข้อแนะนำ “ฉีดวัคซีนโควิด” ป่วยโรคไหน-กินยาอะไรอยู่ เคลียร์ข้อกังวล ที่นี่

รวบรวมโดย งานบริบาลเภสัชกรรม กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.ชลบุรี ณ 12 พ.ค.2564 สอบถามเพิ่มเติมโทร 1507, 1508 ในวันและเวลาราชการ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :