หมอยงตอบชัดวัคซีนโควิด-19 ให้ร่วมกับวัคซีนอื่นได้หรือไม่

24 ก.พ. 2564 | 11:10 น.

หมอยงไขข้อสงสัยวัคซีนโควิด-19 ให้ร่วมกับวัคซีนอื่นได้หรือไม่ ระบุยังไม่เป็นวัคซีนใหม่ไม่ควรให้พร้อมกับวัคซีนอื่น

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) ภายใต้หัวข้อ โควิดวัคซีน ให้ร่วมกับวัคซีนอื่นได้หรือไม่

              โดยปกติ วัคซีนเชื้อตาย ให้ร่วมกับวัคซีนเชื้อตาย หรือเชื้อเป็นได้ เช่นการให้วัคซีนในเด็ก เราให้วัคซีน 5 โรคค 6 โรค เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ โปลิโอ ให้พร้อมกับวัคซีนโรตา (เชื้อเป็น) รับประทานและยังให้พร้อมกับวัคซีนปอดบวม IPD อีกด้วยได้ (2 เข็ม 1 หยอด) การให้วัคซีนเชื้อเป็นถ้าให้ผ่านไปแล้วเป็นเวลาเป็นวัน ก็ไม่ควรให้วัคซีนอื่นตาม จน 4 สัปดาห์ เช่นการให้ MMR (หัด หัดเยอรมัน คางทูม) ถ้าให้พร้อมให้ได้เช่น ให้พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าให้ไปแล้วเป็นวัน ก็รออีก 4 สัปดาห์ ค่อยให้วัคซีนอื่น

              วัคซีนโควิด โดยทั่วไป ของจีน เป็นเชื้อตาย ไวรัสเวกเตอร์ (AstraZeneca) หรือ mRNA (Pfizer) ก็เปรียบเสมือนเชื้อตาย เพราะไม่เพิ่มจำนวน ตามทฤษฎีน่าจะให้พร้อมกับวัคซีนอื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ

              แต่วัคซีนโควิด เป็นวัคซีนใหม่ จึงไม่ควรให้พร้อมกับวัคซีนอื่น เพราะถ้ามีอาการข้างเคียงจะไม่รู้ว่าเกิดจากวัคซีนอะไร โทษกันไม่ได้ จึงไม่ให้พร้อมกับวัคซีนอื่น เช่น จะไม่ให้พร้อมกับไข้หวัดใหญ่ ที่กำลังถึงฤดูกาลฉีดเวลาเดียวกัน ดังนั้นให้วัคซีนโควิดก่อน แล้วอีก 2 สัปดาห์ ค่อยให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เกิดอาการแทรกซ้อนจะได้ไม่โทษวัคซีนตัวอย่าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :