วัคซีนโควิด-19 ลอตแรกถึงไทยแล้ว

24 ก.พ. 2564 | 03:42 น.

วัคซีนโควิด -19 ของซิโนแวคลอตแรก 200,000 โดสถึงไทยแล้ว นายกฯพร้อมด้วยรมว.สธ.ร่วมรับมอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.05 น.วันนี้(24 ก.พ.64) เครื่องบินแอร์บัส A350-900 สายการบินไทย เที่ยวบิน TG 675 กรุงเทพฯ ขนส่งวัคชีนโควิด-19 ของซิโนแวค(Sinovac)กล็อตแรก 200,000 โดส เดินทางจากจีนมาถึงประเทศไทยแล้ว เมื่อผ่านการตรวจสอบโดยศุลกากร เจ้าหน้าที่องค์การอาหารและยา(อย.) และเจ้าหน้าที่ขององค์การเภสัชกรรมแล้ว จะขนส่งไปยังคลังสำรองวัคชีนโควิด-19 ที่ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จากนั้นองค์กรเภสัชกรรมจะดำเนินการตรวจรับ และส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบคุณภาพอีกครั้ง เมื่อผ่านทุกขั้นตอนแล้ว จะจัดสรรกระจายให้กับหน่วยบริการสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด

วัคซีนโควิด-19 ลอตแรกถึงไทยแล้ว

โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีรับ "วัคซีนโควิด 19 คืนรอยยิ้มประเทศไทย" ที่ขนส่งโดยการบินไทยเที่ยวบิน TG 675 เส้นทางปักกิ่ง-กรุงเทพฯ ในวันนี้ โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข, นายสาธิต ปีตุเตชะ รมช.สาธารณสุข, นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม,  Mr.Yang Xi อุปทูต รักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และคณะผู้บริหารของทุกหน่วยงานเข้าร่วมในพิธี

วัคซีนโควิด-19 ลอตแรกถึงไทยแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ วัคชีนล็อตแรกที่รัฐบาลได้มอบให้กระทรวงสาธารณสุข โดยองค์การเภสัชกรรม จัดหาเร่งด่วน จำนวน 2 ล้านโดส รองรับการระบาดโรคโควิด 19 ระลอกใหม่เพิ่มจากแผนจัดหาเดิมที่กรมควบคุมโรคสั่งซื้อจากบริษัท Astra Zeneca

วัคซีนโควิด-19 ลอตแรกถึงไทยแล้ว

โดยวัคชีนลอตนี้เกิดจาก ซิโนแวก ไลฟ์ซายน์ จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน (Sinovac Life Sciences Co.,Ltd., People’s Republic of China) ซึ่งเป็นบริษัทที่สามารถส่งวัคชีนให้ประเทศไทยได้ภายในเดือน ก.พ.64 ภายใต้การประสานงานจัดหา โดยสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย และมอบให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ดำเนินการนำเข้า ขึ้นทะเบียนยากับ อย.และกระจายไปสู่ประชาชน ฉีดให้กลุ่มเป้าหมายคนละ 2 โดส ห่างกัน 21 วัน และในเดือน มิ.ย.จะได้รับวัคชีนของแอสตราเซนเนกา 61 ล้านโดส เพื่อฉีดให้กับทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทยโดยสมัครใจ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ฟื้นเศรษฐกิจ คืนรอยยิ้มให้กับประเทศไทย

วัคซีนโควิด-19 ลอตแรกถึงไทยแล้ว

 นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า รัฐบาลจะยังเดินหน้าจัดหาวัคซีนโควิด-19 จากแหล่งอื่น ๆ เข้ามาเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิจัยพัฒนาวัคซีนภายในประเทศ         

วัคซีนโควิด-19 ลอตแรกถึงไทยแล้ว

นายอนุทิน กล่าวว่า วัคชีนงวดที่ 2 จำนวน 800,000 โดส จะส่งมอบในเดือนมีนาคม และงวดที่ 3 จำนวน 1 ล้านโดสในเดือน เม.ย.64 รวมทั้งสิ้น 2 ล้านโดส โดยองค์กรเภสัชกรรมได้ร่วมมือกับบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการจัดเก็บวัคซีนทั้ง 2 ล้านโดสนี้ภายในห้องจัดเก็บยาเย็น และจะจัดส่งกระจายวัคชีนภายใต้มาตรฐานสากล ควบคุมอุณหภูมิไว้ไม่เกิน 2 - 8 องศาเชลเซียส ไปยังโรงพยาบาลตามแผนการฉีดให้กับประชาชนที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลไทยในการดำเนินงานด้านการจัดส่งและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด 19 จำนวน 2 ล้านโคสนี้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

สำหรับแผนการฉีดวัคชีนโควิด-19 ระยะแรก ในเดือน มี.ค.-พ.ค.64 จำนวน 2 ล้านโดสนั้น จะฉีดให้กลุ่มป้หมายในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและข้มงวด, พื้นที่ควบคุมสูงสุด, พื้นที่ควบคุม และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมใน 18 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรสคร, กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก), ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ, ตาก (แม่สอด), นครปฐม, สมุทรสคราม, ราชบุรี, ชลบุรี, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย), เชียงใหม่, กระบี่, ระยอง, จันทบุรี, ตราด และเพชรบุรี

โดยฉีดให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า อสม. บุคลกรด่านหน้า เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย ประชาชนทั่วไป และแรงานที่มีอายุ 18-59 ปี เน้นผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน โดยให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและคัดเลือกจากฐานข้อมูลการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วัคซีนนี้ผลิตโดยบริษัทซิโนแวค ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาและชีวเภสัชภัณฑ์สัญชาติจีน เชี่ยวชาญการวิจัย พัฒนา ผลิต และจำหน่ายวัคชีนป้องกันโรคระบาด ที่ผ่านมา ซิโนแวคเคยผลิตวัคซีนมาแล้วหลายตัว เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าเปื่อย

สำหรับวัคซีนโควิดของซิโนแวค เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีชื่อว่า "โคโรนแวค" (Coronvac) วัคชีนตัวนี้ ทำงานโดยการเหนี่ยวนำระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์ให้สร้างแอนติบอดีต้านโควิด 19 โดยแอนติบอดีจะยึดติดกับโปรตีนบางส่วนของไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ร่างกาย วัคซีนเชื้อตายเป็นเทคโนโลยีตั้งเดิมที่ประสบความสำเร็จในการป้องกันโรค และสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเชียสได้ วัคซีนดังกล่าวได้มีการศึกษาในคนระยะที่ 1, 2 และ 3 ในประเทศบราชิล ตุรกี อินโดนีเซีย และชิลีแล้ว มีการรายงนผลว่าวัคชีนมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโควิด-19 ทำให้ในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว          

ในการฉีดวัคซีนโควิด 19 "CoronaVac" คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้มีข้อแนะนำว่า กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ฉีดในประชาชนอายุ 18-59 ปี จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ และมีการติดตามเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีนแต่ละเข็ม เป็นระยะเวลา 30 วันหลังฉีด โดยในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง แนะนำให้ฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์ ห้ามฉีดให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในภาวะควบคุมไม่ได้ ผู้ที่มีภาวะทางระบบประสาทอย่างรุนแรง หญิงตั้งครรภ์ และควรระวังในการฉีดในกลุ่มหญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง          

 นอกจากนี้ สามารถให้วัคซีนโควิด 19 ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคชนิดอื่นได้ โดยเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 14 วัน และขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิค-19 สลับชนิดกัน ดังนั้น การฉีดวัดซีนทั้งสองเข็มควรเป็นวัคซีนยี่ห้อเดียวกัน

ไทม์ไลน์วัคซีนโควิด -19 ลอตแรก

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 

-วัคซีนซิโนแวค จำนวน 2 แสนโดส  ขนาดน้ำหนัก 2.6 ตัน  ถูกขนส่งโดยเที่ยวบินขนส่งสินค้า TG 675 เส้นทางปักกิ่ง - กรุงเทพฯ

 -เวลา 10.05 น. วัคซีนซิโนแวค  ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย 

-เวลา 10.20 น.  เจ้าหน้าที่ลำเลียงตู้ควบคุมอุณหภูมิบรรจุวัคซีนโควิด -19 ออกจากเครื่อง หลังจากนั้นจะทำการขนส่งไปจัดเก็บยังคลังสำรองวัคซีนโควิด -19 องค์การเภสัชกรรม(คลังศรีเพชรDKSH) บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย)จำกัด ที่ตั้งอยู่ถนนบางนา - ตราด กิโลเมตรที่ 19

 -เวลา 11.15 น. รถขนส่งวัคซีนโควิด - 19 เดินทางมาถึงยังคลังสำรองวัคซีนโควิด -19 ถนนบางนา - ตราด กิโลเมตรที่ 19  

-เวลา 11.30 น. เริ่มลำเลียงวัคซีนโควิด - 19 จำนวน 2 แสนโดส เข้าสู่คลังและจัดเก็บภายในห้องควบคุมอุณหภูมิตามมาตรฐาน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 

-ส่งวัคซีนโควิด -19 ไปยังโรงพยาบาลเป้าหมาย

วันที่ 24 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 

-แจ้งประชาชนกลุ่มเป้าหมาย พร้อมลงแอปพลิเคชัน "หมอพร้อม"

วันที่ 1 มีนาคม 2564 

-เริ่มฉีดวัคซีนโควิด - 19 เข็มแรก โดยจะมีการเฝ้าระวังอาการภายการได้รับวัคซีนครบ 30 วัน

-หลังจากนั้นอีก 2 - 3 สัปดาห์ เริ่มฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หลังจากนั้นจะเฝ้าระวังอาการภายการได้รับวัคซีนครบ 30 วัน

สำหรับกระบวนการฉีดวัคซีนโควิด -19 ขั้นตอนเมื่อเข้ารับการฉีดจะใช้เวลาประมาณ  5 - 7 นาที และรอดูอาการอีก 30 นาที