กองทัพเรือ เตรียม รพ.สนาม พร้อมรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19

31 ธ.ค. 2563 | 13:55 น.

กองทัพเรือ เตรียมความพร้อม รพ.สนาม 3 แห่ง สัตหีบ - จันทบุรี รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เผื่อกรณีระบบสาธารณสุขรับมือไม่เพียงพอ

31 ธันวาคม 2563 - ผู้สื่อข่าว รายงานว่า พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบหมายให้ พลเรือเอก ธีรกุล กาญจนะ  เสนาธิการทหารเรือ ตรวจความพร้อมของโรงพยาบาลสนาม เพื่อเตรียมการในการรองรับผู้ป่วยโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม ศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง(สอ.รฝ.) อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี , โรงพยาบาลสนามค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  และโรงพยาบาลสนาม สนามฝึกกองทัพเรือ บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี

โดยได้สั่งการให้หน่วยต่างๆของกองทัพเรือเตรียมความพร้อมและดำเนินการ ดังนี้

1. ให้กรมแพทย์ทหารเรือ จัดเตรียมโรงพยาบาลหลัก คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าและโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สำหรับตรวจวินิจฉัยและรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก

พร้อมทั้งเตรียมโรงพยาบาลเฉพาะโรค 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ และโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ
กองทัพเรือ เตรียม รพ.สนาม  พร้อมรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19

นอกจากนั้นยังให้หน่วยกองทัพเรือในพื้นที่ต่างๆ จัดพื้นที่ควบคุมเพื่อเฝ้าระวัง หรือ State Quarantine

1.) พื้นที่กรุงเทพฯ จัดที่กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
2.) พื้นที่สัตหีบ จัดที่อาคารรับรองกองทัพเรือพื้นที่สัตหีบ และ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
3.) พื้นที่จังหวัดจันทบุรี จัดที่กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
4.) พื้นที่ทัพเรือภาคที่ 2 จัดที่ฐานทัพเรือสงขลา
5.) พื้นที่ทัพเรือภาคที่ 3 จัดที่ฐานทัพเรือพังงา พื้นที่จังหวัดนราธิวาส จัดที่ค่ายจุฬาภรณ์

กองทัพเรือ เตรียม รพ.สนาม  พร้อมรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19

ซึ่งการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ทั้ง 3 แห่งนี้ จะใช้ในกรณีการระบาดของโรค COVID-19 ในวงกว้าง มีความจำเป็นต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อจัดตั้งระบบบริการดูแลรักษาพยาบาล ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patients under investigated : PUI) ในกรณีที่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ตั้งแต่ การคัดกรองผู้ป่วย การให้การวินิจฉัย การดูแลรักษาแบบ One Stop Services

รวมถึงเพื่อให้สามารถรับผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลแต่ต้องกักกันโรคต่อ หรือผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ไว้ดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (เฉพาะกรณีที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง จำนวนผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลหลัก และโรงพยาบาลเฉพาะโรคที่กำหนดไว้


ข้อมูลและภาพ : เพจ Wassana Nanuam