สู่การเป็น Aerotropolis

16 มิ.ย. 2560 | 01:00 น.
TP11-3270-c การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่เกิดขึ้นในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของศตวรรษที่ 21 เนื้อหาสำคัญของการสัมมนาเชิงวิชาในหัวข้อ"ยุทธศาสตร์การผลักดันสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นเมืองการบินภาคตะวันออกของไทย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" ของ Dr.Kasardaเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนย ที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาสู่การเป็นมหานครการบินว่ามีความท้าทายที่สำคัญ 4 ประการคือ

1.จังหวัดที่อยู่ใน EEC จะสามารถนำความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และ ใช้ภาคธุรกิจอื่นๆที่มีมูลค่าสูงกว่าประกอบกับระบบดั้งเดิมทั้งทางการเกษตรการผลิตและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 2.อุตสาหกรรมของ EEC ที่รวมเทคโนโลยีชั้นสูงและความทันสมัยของธุรกิจจะสามารถแข่งขันทั้งในประเทศและทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

3.นโยบายการสร้างงานใน3 จังหวัด อีก10 ปีข้างหน้าของรัฐบาล จะสามารถบรรลุเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณคุณภาพและโอกาสที่เท่าเทียมกัน 4.การขนส่งโลจิสติกส์อุตสาหกรรม เศรษฐกิจการค้า และการพัฒนาเมืองทั้งในและรอบๆสนามบินอู่ตะเภาจะมีประสิทธิภาพและสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน สร้างความประทับใจในทางบวก ให้แก่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจจนกลายเป็นแม่เหล็กถาวรสำหรับสถานที่ทำงานใหม่และบุคลากรใหม่ๆ

โดยความท้าทายทั้ง 4 ข้อนี้จะดำเนินการไปในทิศทางเดียวกับการกำหนดอนาคตทางเศรษฐกิจของ EEC คือ 1.กำหนดแนวทางเชิงกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนา จากโมเดลของเมืองศูนย์กลางการบินAerotropolis 2.ผู้บริหารโครงการต้องประสานในทุกระดับ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน 3.การใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากท่าอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด ที่จะเชื่อมโยงการขนส่งในหลายรูปแบบมายังเขตเศรษฐกิจพิเศษและการพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของ EEC ในสภาพแวดล้อมแบบใหม่

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของนโยบายการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็น Airport City ในมุมมองของDr.Kasarda มาจากการดำเนินงานในระยะยาว ไม่ใช่ดำเนินการแบบโครงการระยะสั้น,การสร้างแผนงานเชิงกลยุทธ์ และ การวางตรรกะของธุรกิจการลงทุน , การสรรหาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Hardand Soft Infrastructure) , การเสริมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ในด้านสังคมให้กว้างขวางมากขึ้นรวมทั้งการบริหารงานของสำนักงานการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกด้วยความสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากหน่วยงานระดับเทศบาล ระดับจังหวัด จนถึง ระดับรัฐบาล
ความครบวงจร ความรวดเร็วและการเชื่อมต่อกลายเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันของ EEC ทำให้ สนามบินอู่ตะเภาและจังหวัดในภาคตะวันออกจะกลายเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,270 วันที่ 15 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560