‘บีเจซี’ ผนึกกลุ่มธุรกิจปั้นแบรนด์‘โกโก้ดัทช์’

09 ส.ค. 2562 | 02:55 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บีเจซี สบช่องตลาดโกโก้โต เร่งปรับทัพเสริมแกร่งพร้อมซินเนอร์ยีแบรนด์ในเครือ เจาะรีเทล ฟู้ดเซอร์วิส พร้อมขยายไลน์ธุรกิจสู่ คาเฟ่ มั่นใจรั้งตำแหน่งผู้นำในตลาดด้วยส่วนแบ่งกว่า 80% พร้อมโกยยอดขายโต 20%

นายตุลย์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ ผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี เจ้าของแบรนด์ โกโก้ดัทช์ และโกโก้ดัทช์ ช้อยส์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แผนการดำเนินงานของแบรนด์ โกโก้ดัทช์ และโกโก้ดัทช์ ช้อยส์ ในปีหน้า บริษัทจะให้ความสำคัญกับการทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้นเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกให้กลุ่มผู้บริโภคมากขึ้นหลังจากทั้ง 2 แบรนด์อยู่ในพอร์ตและได้รับความนิยมมานานแต่ยังไม่มีการสร้างการรับรู้แบรนด์อย่างจริงจัง จากที่ผ่านมาเน้นจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผงเป็นหลัก ทั้งในรูปแบบผงชงและ 3 อิน 1 ทำให้บริษัทเริ่มมองหาช่องทางการขายใหม่ๆ ซึ่งในปี 2563 จะเป็นปีแห่งการทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างแบรนด์ที่มีอยู่ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งในส่วนของแบรนด์โกโก้ดัทช์ และโก้โก้ดัทช์ ช้อยส์

ล่าสุดได้เปิดตัวโมเดล “โกโก้ดัทช์ คาเฟ่” มีระดับราคา 80-100 บาท เป็นคาเฟ่ชั่วคราวในการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปแต่ละจุด เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ โดยเริ่มดำเนินการแล้วที่เซ็นทรัลเวิลด์, ยูเนี่ยนมอลล์ และเมเจอร์รัชโยธิน และวางเป้าหมายในการจัดคาเฟ่ไว้ทั้งสิ้น 7-8 จุดในสิ้นปีนี้ ในย่านที่มีผู้คนสัญจรสูง ผ่านงบประมาณหลักสิบล้านบาท ในการ ต่อยอดแบรนด์อะแวร์เนส (มูฟอะเบิล) ซึ่งจะเห็นผลของการสร้างแบรนด์ชัดเจนในปีหน้า พร้อมกันนี้ยังมีแผนขยายโกโก้ดัทช์ คาเฟ่ แบบถาวรขึ้น ภายหลังจากการทดลอง ทำรูปแบบคาเฟ่ชั่วคราวในปีที่ผ่านมา มีลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ พนักงานออฟฟิศเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ กับการขยายไลน์สินค้าของแบรนด์โกโก้ดัทช์ ให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีอยู่ 2 สูตร คือแบบผง และแบบ 3 อิน 1

‘บีเจซี’ ผนึกกลุ่มธุรกิจปั้นแบรนด์‘โกโก้ดัทช์’

“โกโก้ดัทช์ คาเฟ่ ถือเป็นการ ทำตลาดในเชิงสื่อสารแบรนด์ของบริษัทที่เป็นการสร้างการเข้าถึง และการสร้างประสบการณ์ให้แก่กลุ่ม เป้าหมาย เพื่อการให้ความรู้แก่ลูกค้า ในเรื่องของคุณประโยชน์ของโกโก้และการเห็นความแตกต่างของโกโก้กับช็อกโลแลตที่ไม่เหมือนกัน โดยเน้นสร้างแบรนด์เป็นหลักไม่ได้เน้นเรื่องผลกำไรแต่อย่างใด ซึ่งความท้าทายของการเป็นผู้นำตลาด คือทำอย่างไรให้แบรนด์เติบโต ตลอดเวลา และมีคนรู้จักสินค้าเพิ่มมากขึ้น และหน้าที่ของผู้นำคือการขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง”

‘บีเจซี’ ผนึกกลุ่มธุรกิจปั้นแบรนด์‘โกโก้ดัทช์’

นอกจากนี้ยังมีการซินเนอร์ยีกลุ่มธุรกิจในเครือบีเจซีด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเมนูในร้าน กาแฟวาวี จากที่ผ่านมาได้มีการนำผลิตภัณฑ์โกโก้เข้าไปเป็นเมนูเครื่อง ดื่มต่อยอดกับวาวี ขณะที่ในอนาคต มีแผนเข้าไปสร้างความชัดเจนของ เมนูโกโก้ในร้านกาแฟวาวีให้ชัดเจนขึ้น จากปัจจุบันที่มีการเข้าไปอยู่แล้ว แต่จะไม่เข้าไปทับซ้อน เมนูกาแฟที่เป็นกลุ่มเมนูหลักภายในร้าน ขณะที่ในส่วนของร้าน กาแฟสตาร์บัคส์ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของบริษัทแม่ อย่างไทยเบฟก็มีความเป็นไปได้ในการเข้าไปทำงานร่วมกัน ซึ่งต้องมีการศึกษาข้อมูลและ รายละเอียดเพิ่มเติม เบื้องต้นขณะ นี้ยังไม่มีแผนงานใดๆ ออกมา

‘บีเจซี’ ผนึกกลุ่มธุรกิจปั้นแบรนด์‘โกโก้ดัทช์’

ขณะที่แบรนด์โกโก้ดัทช์ ช้อยส์ ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ใช้ในการเจาะช่องทางฟู้ดเซอร์วิสเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มร้านกาแฟ เค้ก เบเกอรี่ คาเฟ่ ร้านอาหาร โรงแรม เป็นต้น โดยแผนงานต่อจากนี้จะมีการปรับทีมขายเจาะตลาดฟู้ดเซอ์วิสโดยตรง เพื่อรองรับการเติบโตและจำนวนผู้เล่นที่มากขึ้น พร้อมกันนี้ยังมีการจัดตั้งหน่วยขายขึ้นมาเพื่อดูแลโดยเฉพาะ ด้วยการเพิ่มแบรนด์สินค้าในเครือทั้งกลุ่มฟู้ดและนอนฟู้ดในการเจาะโรงแรม ร้านอาหาร ครัวกลางของแต่ละสถานประกอบการ เพื่อสร้างโอกาสทางการขายให้แบรนด์ในเครือเพิ่มสูงขึ้น จากในอดีตที่ไม่ได้มีการเจาะช่องทางฟู้ดเซอร์วิสแบบมีทีมขายอย่างจริงจัง (มีการตั้งทีมฟู้ดเซอร์วิสขึ้นมา) ซึ่งปัจจุบันที่รูปแบบการขายของแต่ละแบรนด์ในเครือบริษัทยังแยกส่วนกันอยู่ โดยวางเป้าหมายเติบโตเพิ่มขึ้นหลายเท่า

“ในตลาดของโกโก้ยังไม่มีแบรนด์ไหนหรือผู้เล่นรายใด ที่รุกตลาดทั้งรีเทลและฟู้ดเซอร์วิสไปด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่านี่คือข้อได้เปรียบของบริษัทที่จะขยายตลาดเข้าไปในทุกช่องทางจากแบรนด์ โกโก้ดัทช์ และโกโก้ดัทช์ ช้อยส์ ที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันไป”

‘บีเจซี’ ผนึกกลุ่มธุรกิจปั้นแบรนด์‘โกโก้ดัทช์’

‘บีเจซี’ ผนึกกลุ่มธุรกิจปั้นแบรนด์‘โกโก้ดัทช์’

อย่างไรก็ตามภาพรวมตลาดโกโก้ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท เติบโต 10% ขณะที่ตลาดรวม TFD (Tonic Food Drink) ไม่ว่าจะเป็น ช็อกโกแลต ไมโล โอวัลติน ที่มีมูลค่า 4,000 ล้านบาท มีการเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว โดยบริษัทครองส่วนแบ่งทางการตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์โกโก้ 80% ซึ่งการจะขยายตลาดจำเป็นต้องมีการกระตุ้นตลาดเชิงรุกอย่างจริงจัง มั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตในสิ้นปีนี้ได้ที่ 15-20% ครองความเป็นผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่อง 

หน้า 30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3494 ระหว่างวันที่ 8 - 10 สิงหาคม 2562