ไทย-เยอรมัน จับมือ เปลี่ยนผ่านพลังงานสู่นวัตกรรมขนส่งแห่งอนาคต

13 มี.ค. 2564 | 07:02 น.

สถานเอกอัครราชทตู เยอรมนีประจําประเทศไทย ร่วมกับ GIZ ร่วมนำเสนอการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการคมนาคมขนส่ง ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม เสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สถานเอกอัครราชทตู เยอรมนีประจําประเทศไทย ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของ เยอรมัน (GIZ) เปิดงาน “พลังงานสะอาดขับเคลื่อนอนาคต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการคมนาคมขนส่งของโลกและประเทศไทยจากปัจจุบันไปสู่อนาคตที่จะมีการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนลดลง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้เก่ียวกับพลังงานสีเขียวและการคมนาคมขนส่งท่ียั่งยืน นอกจากน้ี ภายในงานยังมีการแสดงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของไทยและเยอรมันผ่านนิทรรศการและกิจกรรมร่วมสนุก

นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจําประเทศไทย กล่าวว่า Less is more ในที่นี้หมายถึง ผลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้มากขึ้น
 
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมตระหนักถึงความสําคัญของนวัตกรรมสมัยใหม่ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในภาคการขนส่ง ทางกระทรวงฯ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและการพัฒนาเทคโนโลยี การขนส่งที่ยั่งยืน สะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อม เนื่องจากภาคการขนส่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 ของ ประเทศ ซึ่งมาจากการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ประเทศไทยจึงจัดทําแผนปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยมีมาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ และยังสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ที่มีสาเหตุมากจากการจราจรติดขัดในเขตเมือง 


ในปัจจุบัน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. กําลังวางแผนจัดหารถเมล์ไฟฟ้า 2,511 คัน หลังจากที่แผนฟื้นฟูกิจการ ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ผมเชื่อว่าในอีกไม่ก่ีเดือนข้างหน้าน้ี คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้รถเมล์ไฟฟ้า 

นอกจากน้ี กรมการขนส่งทางบก ยังได้ร่วมรณรงค์การลดมลภาวะทางอากาศ โดยการลดภาษีรถยนต์ประจําปี สําหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแพร่หลาย ดังเช่นประเทศต่างๆ ในยุโรป

อีกหน่ึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการขนส่งในเมือง คือ การเปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564 ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงการ ภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 โดยสถานีกลางบางซื่อ เป็นตัวแทนของศูนย์กลางของระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทย ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 600,000 คนต่อวัน มากกว่าสถานีหัวลําโพงถึง 10 เท่า และยังเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบการขนส่งทางราง ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา เมื่อแล้วเสร็จ จะมีระยะทางรวม 220 กิโลเมตร และเป็นจุดตั้งต้นของรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย ซึ่งกําลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร 

ในอนาคตสถานีกลางบางซื่อ จะกลายเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจแห่งใหม่ และเป็นจุดเชื่อมต่อหลักของระบบการขนส่งมวลชนทางรางของกรุงเทพฯ และในขณะน้ี กระทรวงคมนาคมอยู่ ระหว่างการศึกษาโครงการรถไฟทางไกล ซึ่งจะมีการเปลี่ยนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานไฮโดรเจน และการใช้ แบตเตอร์รี่ไฟฟ้า 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงการทั้งหมดนี้ เป็นการดําเนินการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม คือ 1. การขนส่งที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ 3. การเข้าถึงระบบขนส่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม 4. การใช้ นวัตกรรมและการจัดการ

ดร. พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เพื่อสร้างแนวทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทย กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการจัดทํา “แผนพลังงานแห่งชาติ”  โดยคํานึงถึงแนวคิดท่ีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซ่ึงมุ่งเน้นการเสริมสร้างภาคพลังงานของประเทศให้มีความมั่นคงและสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่ออนาคตทางพลังงานที่ยั่งยืน 

แผนพลังงานแห่งชาต จะกําหนดอนาคตพลังงานของประเทศ และเปลี่ยนภาคพลังงานให้สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งข้ึน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนและ นวัตกรรมด้านพลังงาน จะเป็นกุญแจสําคัญในการจัดทําแผนพลังงานแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนทิศทางนโยบายพลังงานให้ประเทศไทย สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน รวมถึงการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการดําเนินนโยบายที่ยั่งยืนในระยะยาว

นอกจากน้ี ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยจะเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปก ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ แนวคิดหลักคือ “โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว” (Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG) โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความรู้ความสามารถ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อนำทรัพยากรด้านพลังงานของประเทศ มาใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ภายใต้แนวคิด BCG ภาคพลังงานถือเป็นหน่ึงในส่วนสําคัญที่ช่วยพลิกโฉมประเทศไทย ไปสู่การเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจยั่งยืนและมีนวัตกรรมต่อไป