งานเข้าคนกรุง กทม.เตรียมเก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” 158 บาท

15 ม.ค. 2564 | 06:03 น.

กทม.ฉุน เตรียมเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 158 บาท หลังเจรจาปิดดีลค่าโดยสาร 65 บาท ไม่เคลียร์ เล็งประกาศค่าโดยสาร 16 ม.ค.นี้ วอนผู้โดยสารเตรียมตัวภายใน 1 เดือน ด้านบีทีเอสลั่นหนี้พุ่งถึง 9 พันล้าน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สำหรับการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เปิดให้บริการฟรีในช่วงที่ผ่านมานั้น โดยปัจจุบัน กทม.อยู่ระหว่างพิจารณาศึกษาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เบื้องต้นประเมินว่าจะมีเพดานราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาท  โดยในวันที่ 16 ม.ค.นี้  กทม.จะมีการประกาศอัตราค่าโดยสารของส่วนต่อขยาย รวมทั้งค่าโดยสารสายหลักทั้งสายสุขุมวิทและสีลม  โดยจะเปิดให้บริการนั่งฟรีถึงวันที่ 15 ..2564   จากเดิมกำหนดฟรีค่าโดยสารสิ้นสุดวันที่ 15 ม.ค.นี้ แต่ด้านกฎหมายกำหนดให้ผู้ให้บริการเดินรถต้องประกาศค่าโดยสารให้ผู้โดยสารทราบและเตรียมตัวก่อน 30 วัน  หลังจากนั้นจะเริ่มจ่ายค่าโดยสารในวันที่ 16 ก.พ.2564

 

 

เรายอมรับว่ามีความจำเป็นต้องจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราที่สูง เพดานราคา 158 บาท  เพราะปัจจุบันการเจรจากำหนดอัตราค่าโดยสารที่ 65 บาทตลอดสาย ยังไม่ได้ข้อสรุป ขณะเดียวกัน กทม.มีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับเอกชนผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายดังกล่าว ซึ่งเป็นภาระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยืนยันว่าเพดานราคา 158 บาท แม้จะเป็นราคาที่สูง แต่เมื่อคำนวณต้นทุนทั้งหมดแล้วแล้วพบว่ากทม.ยังขาดทุน” 

 

 

สำหรับการศึกษาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ที่ประเมินว่าจะมีเพดานราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณมาจากอัตราค่าโดยสารสายสีเขียวหลักที่เก็บสูงสุด 44 บาท และมีการจัดเก็บเพิ่มเติมในเส้นทางส่วนต่อขยาย โดยอัตราค่าโดยสารที่กรุงเทพมหานครจะประกาศครั้งนี้ ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราราคาเพิ่มเติมในช่วงส่วนต่อขยายสายใหม่ ทั้งสายเหนือหมอชิต-สะพานใหม่คูคต และสายใต้ ช่วงแบริ่งสมุทรปราการ

 

 

 

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เผยว่า  ปัจจุบันบีทีเอสยังไม่ได้รับแจ้งจากทางกทม.อย่างเป็นทางการถึงรายละเอียดการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสาย คาดว่าจะได้รับแจ้งข้อมูลจากทางกรุงเทพมหานครและประกาศให้ประชาชนรับทราบภายใน 16 ม.ค.นี้

 

 

หากมีการประกาศก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงสามารถจัดเก็บค่าโดยสารได้  ดังนั้นต้นทุนการเดินทางก็จะยังเพิ่มขึ้นอยู่ ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างเดินรถที่บีทีเอสต้องจัดเก็บจากทางกทม.มีอยู่กว่า 9 พันล้านบาทแล้ว โดยบีทีเอสต้องแจ้งอัพเดตตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นต้นทุนที่เราก็ต้องแบกรับ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

BTS จ่อเปิดเดินรถไฟฟ้าเพิ่ม 7 สถานี สยบดราม่าสัญญาสัมปทาน “สายสีเขียว”

ส่อวุ่น กทม.เตรียมหยุดเดินรถไฟฟ้า ”สายสีเขียว” ส่วนต่อขยาย

ส่องเส้นทางเดินรถ BTS จ่อหยุดวิ่ง!

เปิด 3 สาเหตุ ทำไมคนไทยใช้บริการ “รถไฟฟ้า” น้อย

เดือดจัด กทม.ซัด คมนาคม หลังค้านต่อสัมปทานสายสีเขียว